“นอนกลางวัน” อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลที่ “ดีต่อใจ”


โดย PPTV Online

เผยแพร่




นอนกลางวันไม่เกิน 1 ชั่วโมง ช่วยลดภาระการทำงานหนักของหัวใจ ยังทำให้สมองตื่นตัวและมีสมาธิมากขึ้น

เมื่อการพักผ่อนที่ดีที่สุดคือการนอนหลับ แต่ "การนอนกลางวัน" ก็เป็นอีกวิธีที่เราสามารถรีบูทสมอง เพิ่มพลัง สร้างสมาธิ สำหรับการทำงานระหว่างวันได้ดี และยังทำให้เรารู้สึกสดชื่น คลายความเมื่อยล้าได้เป็นอย่างดี แต่หากนอนกลางวันผิดเวลา หรือนอนนานเกินไปก็อาจให้ผลตรงกันข้ามได้เช่นกัน เรามาดูกันว่าการนอนกลางวันเพื่อให้เป็นผลดีต่อร่างกาย ให้ประสิทธิภาพสูงสุดควรนอนนานแค่ไหน และช่วงเวลาใด เพื่อไม่ให้กระทบการนอนหลับในช่วงกลางคืน
คนนอนไม่หลับ ควรปรับพฤติกรรม ทำ 5 วิธีนี้จะช่วยทำให้ หลับดีขึ้น
เช็ก !! อายุเท่าไหร่ควรนอนหลับวันละกี่ชั่วโมง
ผลวิจัยชี้นอนมากเกินไปทำให้ตายเร็วขึ้น

วิธีนอนกลางวันเพื่อให้ประสิทธิภาพสูงสุด
-ไม่ควรหลับเกิน 30 นาที 
-หากนอนอยู่กับที่ แม้ไม่ได้หลับก็อาจช่วยให้อารมณ์ดีขึ้นได้
-ถึงแม้จะงีบหลับแค่ไม่กี่นาที แต่หากหลับในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เงียบ ปิดไฟ จะให้ประสิทธิภาพในการงีบหลับดีขึ้น
-ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การนอนกลางวัน คือ 13.00-15.00 น.

ประโยชน์จากการนอนกลางวัน
1.ช่วยลดภาระการทำงานหนักของหัวใจ ลดอัตราการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตันเฉียบพลัน
2.ลดวามเครียด เป็นการพักสมอง ช่วยให้สมองสดใส สามารถทำงานได้รวดเร็วขึ้น
3.เพิ่มพลัง ช่วยลดความรู้สึกอ่อนล้า ทำให้อารมณ์ดีขึ้น และช่วยให้มีสมาธิ
4.สมองอาจจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ดี รวมถึงจดจำคำพูด การรับรู้สิ่งต่างๆ หรือทักษะการเคลื่อนไหวได้ดี
5.เพิ่มความพร้อมให้กับร่างกายเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ต่อไป

ข้อเสียของการนอนกลางวัน
1.การนอนกลางวัน ไม่เหมาะกับคนที่มีปัญหานอนไม่หลับในตอนกลางคืน 
2.หากนอนมากไปอาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัวและมึนงงหลังจากตื่นนอน
3.หากนอนมากไปอาจกระทบกับการนอนหลับในตอนกลางคืน

อย่างไรก็ตาม หากรู้สึกง่วงนอนตอนกลางวันมากผิดปกติ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา เพราะอาการดังกล่าวอาจเกิดจากการรับประทานยาบางชนิด ความผิดปกติเกี่ยวกับการนอน หรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ได้เช่นกัน

ที่มา รพ.วิชัยยยุทธ, pobpad.com

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ