ไทยพบโควิด-19 กลายพันธุ์ "อัลฟา พลัส 18 ราย -เดลตา พลัส (AY.1) จำนวน 1 ราย"


โดย PPTV Online

เผยแพร่




การเฝ้าระวังสายพันธุ์และกลายพันธุ์โควิด-19 ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดพบ "สายพันธุ์อัลฟา พลัส 18 ราย และเดลตา พลัส (AY.1) 1 ราย" ขณะที่ส่วนใหญ่ของประเทศยังเป็นสายพันธุ์เดลตาปกติ 98.6%

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ณ ปัจจุบัน สายพันธุ์โควิด-19  ที่ยังคงระบาดเป็นสายพันธุ์หลัก คือ สายพันธุ์เดลตา

"เดลตา พลัส" เข้าไทย เจอแล้ว 1 ราย

สำรวจ "สายพันธุ์โควิด-19" ไทยล่าสุด ก่อนเปิดประเทศ 1 พ.ย.64

โควิด-19 “เดลตา” ในอังกฤษกลายพันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญชี้ ไม่ใช่สาเหตุยอดติดเชื้อสูงขึ้น

แต่ขณะเดียวกันก็ยังต้องเฝ้าระวังสายพันธุ์และกลายพันธุ์โควิด-19  อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด พบการกลายพันธุ์เป็น สายพันธุ์อัลฟา พลัส (E484K)  ซึ่งตามข้อมูลคือมีความสามารถในการหลบภูมิได้และทำให้มีอาการมากกว่าเดิม ซึ่งพบในไทยแล้ว 18 ราย

- รายแรกเป็นผู้ต้องขัง ที่ จ.เชียงใหม่ จำนวน 2 ราย เก็บตัวอย่างเมื่อวันที่ 27 ก.ย.64 ขณะนี้อยู่ระหว่างสอบสวนโรค

- อีก 16 ราย เป็นชาวกัมพูชา 12 ราย คนไทย 4 ราย ที่ จ.จันทบุรี และ ตราด ทำงานอยู่ในล้งลำไย เก็บตัวอย่างเมื่อวันที่ 9-10 ต.ค.64 ซึ่งทำการตรวจเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง

สำหรับ สายพันธุ์อัลฟา พลัส (E484K) พบลักษณะทางพันธุกรรมใกล้เคียงกับที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในกัมพูชา พบครั้งแรกในอังกฤษ ตั้งแต่วันที่ 17 ธ.ค.2563 ซึ่ง สายพันธุ์อัลฟา พลัส (E484K)   พบ spike โปรตีน ระหว่างสายพันธุ์ บีตา และ แกรมมา ซึ่งหากพบจำนวนมากก็อาจเกิดการหลบภูมิได้บ้าง

เที่ยวไทยกลับไปต้องกักตัว? ปัจจัยที่ นทท. อาจไม่มาเที่ยวเมื่อไทยเปิดประเทศ 1 พ.ย.

โชคดีที่สายพันธุ์อัลฟา พลัส (E484K) ถูกเบียดโดยสายพันธุ์เดลตา ส่งผลให้อำนาจการแพร่กระจายไม่สูงมากและจำนวนน้อยลงเรื่อยๆ แต่ก็ต้องดำเนินการตรวจหาเรื่อยๆ ว่าจะปรากฏในที่อื่นๆ อีกหรือไม่ นพ.ศุภกิจ ระบุ

 

ต่อมาคือ เดลตา พลัส ซึ่งต้องทำความเข้าใจก่อนว่า เดลตา ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ทั่วโลกในขณะนี้ คือ B.1.617.2 จากนั้นเมื่อเดลตามีการกลายพันธุ์เป็นลูกหลานจึงถูกกำหนดว่าเป็น AY ปัจจุบัน มีตั้งแต่ AY.1 ถึง AY.47 ทั้งหมดจึงเรียกว่า “เดลตา พลัส” ในประเทศไทย พบมากที่สุด คือ AY.30 จำนวน 1,341 ตัวอย่าง ที่เหลือก็พบมากบ้างน้อยบ้าง

ส่วนที่กำลังเป็นประเด็น คือ AY.1 เป็นการกลายพันธุ์ของเดลตา และ K417N ซึ่งได้รับได้รับการประสานจาก สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหารบก หลังตรวจตัวอย่างในผู้ป่วยชาย 1 ราย จาก จ.พระนครศรีอยุธยา พบว่าเป็น AY.1 ซึ่งเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลสนาม และหายเป็นปกติแล้ว

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ ว่า AY.1 จะแพร่เร็วกว่าสายพันธุ์เดลตา หรือหลบภูมิ รวมถึงยังไม่ถูกขึ้นบัญชีจาก องค์การอนามัยโรค และยังต้องเก็บตัวอย่างหรือตรวจเพิ่มเติม

นักศึกษาฉีดวัคซีนไขว้ถูกตัดขา เสียชีวิตแล้ว

อีกตัวที่พูดถึงคือ AY.4.2 แม้ยังไม่พบในประเทศไทย แต่พบว่ามีการระบาดอยู่ในขณะนี้โดยเฉพาะในแถบยุโรป มาจากการกลายพันธุ์ของเดลตา และ Y145H และ A222V ซึ่ง AY.4.2 จะมีอำนาจการแพร่กระจายเพิ่มขึ้นจากเดลตาปกติ 10-15%

นพ.ศุภกิจ ย้ำว่า อันนี้มันมากกว่าประมาณ 10-15 เปอร์เซ็นต์ หมายความว่าเร็วกว่านิดหน่อย สรุปอย่างนั้นแล้วกัน แต่ AY.4.2 ยังไม่พบในประเทศไทยเลย อันนี้ขอขีดเส้นใต้ 2 เส้นนะครับ ยังไม่พบ ณ วันนี้นะครับ แต่วันหน้า มะรืนนี้ สัปดาห์หน้า จะโผล่มาวันไหน ก็มีโอกาสเป็นไปได้ แต่ขณะนี้ให้ข้อมูลว่ายังไม่มีการพบ AY.4.2  ในประเทศไทยแต่อย่างใด

 

 

 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ