กินยาแก้ปวด ยาวนานต่อเนื่อง ระวังกลายเป็นโรคปวดศีรษะ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




หลายคนเมื่อมีอาการปวดหัว ก็มักจะหาวิธีมาช่วยคลายความปวดหัว แต่วิธีที่นิยมคงเป็นการรับประทานยาแก้ปวด แต่รู้หรือไม่บางครั้งการใช้ยาแก้ปวดระงับอาการต่อเนื่อง จากเป็นต้นเหตุของอาการก็ได้

อย่างที่รู้กันดี ยาแก้ปวด จำพวกยาพาราเซตามอล ถือเป็นยาสามัญประจำบ้าน ที่มีข้อบ่งชี้ว่าช่วยบรรเทาอาการปวด ลดไข้ สำหรับเด็กและผู้ใหญ่ แต่บางคนก็ใช้ยาตัวนี้ผิดวิธีจนส่งผลเสียกับร่ายกาย จนกลายเป็นโรคปวดศีรษะจากการใช้ยาแก้ปวดมากเกินไป 

โรคปวดศีรษะจากการใช้ยาแก้ปวดมากเกินไป (Medical overuse headache) นี้เกิดจากการที่ผู้ป่วยใช้ยาแก้ปวดบรรเทาอาการปวดศีรษะในปริมาณที่มากจนเป็นผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะรุนแรงมากขึ้นในระยะเวลาต่อมา และมีความถี่ของอาการปวดศีรษะแทบทุกวัน 

แพทย์แนะวิธีใช้ "ยาพาราเซตามอล" ให้ปลอดภัยไม่ส่งผลร้ายกับร่างกาย

ปวดท้องรุนแรง อย่า! ... กินยาแก้ปวด เสี่ยงทำแพทย์วินิจฉัยผิด ยิ่งอันตรายถ้าเป็นไส้ติ่งอักเสบ

ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดศีรษะต่อเนื่องนานเกิน 3 เดือน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีประวัติการใช้ยาแก้ปวดในกลุ่มพาราเซตามอล หรือกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เกิน 15 วัน/ดือน หรือมีประวัติการใช้ยาแก้ปวดในกลุ่ม เออร์โกตามีน ทรีปแทน หรือโอปีออยด์ เกิน 10 วัน/เดือน

โดยอาการที่สามารถสังเกตได้ 
    1. อาการปวดศีรษะจะมีความถี่ขึ้น เมื่อใช้ยานานขึ้น
    2. ยาแก้ปวดที่ใช้มีประสิทธิภาพลดลง ที่เคยรับประทานแล้วหายปวดกลับไม่หายปวด
    3. อาการปวดศีรษะจะเกิดขึ้นภายหลังยาแก้ปวดหมดฤทธิ์
    4. ผู้ป่วยจะต้องใช้ขนาดยาแก้ปวดที่เพิ่มขึ้น
    5. ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดศีรษะขณะนอนหลับร่วมด้วย เนื่องจากขาดยาในช่วงเวลานอนและทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ

วิธีป้องกันอาการปวดศีรษะจากการใช้ยาแก้ปวดมากเกินไป
    1. หยุดหรือลดปริมาณของยาแก้ปวดที่ใช้เกินขนาด
    2. ปรับรูปแบบการดำเนินชีวิต เช่น นอนหลับให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ลดภาวะเครียดหรือปัจจัยกระตุ้นที่ก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ
    3. ในผู้ป่วยที่มีโรคปวดศีรษะอยู่เดิม เช่น โรคปวดศีรษะไมเกรน ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณาการใช้ยาและป้องกันอาการปวดศีรษะที่เหมาะสม

ย้ำเตือนการใช้ พาราฯ ให้ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายกับ “ตับ”

เปิดรายชื่อยา 3 ชนิดช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยจาก “ออฟฟิศซินโดรม”

 

ที่มา 
อ. นพ.ประกิต อนุกูลวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ