อาการเบื้องต้นของสายพันธุ์ "โอมิครอน"


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กรมควบคุมโรค เปิดข้อมูลความรุนแรงของสายพันธุ์ "โอมิครอน" (Omicron) หรือ B.1.1.529 ซึ่งพบแล้วในเมืองไทย 3 รายซึ่งเป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้ารับการรักษาแล้ว

จากการแพร่ระบาดของ สายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากแอฟริกาใต้ และกำลังระบาดไปทั่วโลกอยู่ในขณะนี้ โดยเฉพาะยุโรปที่ประเมินกันว่าจะกลายเป็นสายพันธุ์หลักมาแทนที่สายพันธุ์เดลตาในไม่ช้า

"เช็ก 5 อาการโอมิครอน" ที่แพทย์ตรวจพบในกลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด

เจอ"โอมิครอน"รายแรกในประเทศ หญิงไทยอายุ 49 ปีติดเชื้อจากสามีเป็นนักบิน

สำหรับ สายพันธุ์โอมิครอน ตามข้อมูลจาก นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุว่า สายพันธุ์โอมิครอนจะแพร่เร็วกว่าสายพันธุ์อื่น 2-5 เท่า ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ หรืออาการน้อย คล้ายไข้หวัดใหญ่ แยกยากจากสายพันธุ์อื่น ผู้ติดเชื้อในต่างประเทศส่วนใหญ่ไม่ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต

สำหรับความรุนแรงของ สายพันธุ์โอมิครอน 

อาการ เบื้องต้นไม่พบความแตกต่างมีบางรายระบุว่ามีอาการปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไม่สูญเสียการรับกลิ่น/รส และมีอาการไม่รุนแรง

สหราชอาณาจักรพบ “โอมิครอน” แล้ว 37,000 ราย สูงสุดในโลก

"โอมิครอน" ระบาด 2 เท่าในวันครึ่ง ถึง 3 วัน ลามแล้ว 89 ประเทศ

การแพร่ระบาด คาดว่าจะเพิ่มขึ้นแทนที่สายพันธุ์เดลตา ในแอฟริกาใต้ ซึ่งมีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว และคาดว่าจะกลายมาเป็นสายพันธุ์หลักในอีกหลายประเทศ เช่น ในยุโรป

อำนาจการแพร่ระบาด หรือ reproductive number  คาดว่าจะเพิ่มขึ้นกว่าการกลายพันธุ์อื่น เบื้องต้นแพร่ระบาดเร็วกว่าสายพันธุ์ที่ผ่านมา 2-5 เท่า ขณะที่องค์การอนามัยออกมาระบุว่า อำนาจในการแพร่ระบาดเร็วขึ้น 2 เท่าในวันครึ่ง ถึง 3 วัน ลามแล้ว 89 ประเทศ

“โอมิครอน” แซงหน้า “เดลตา” กลายเป็นโควิด-19 สายพันธุ์หลักในสหรัฐฯ

WHO เตือนสายพันธุ์ “โอมิครอน” ระบาดเร็วกว่าสายพันธุ์อื่น

"โอมิครอน" ระบาด 2 เท่าในวันครึ่ง ถึง 3 วัน ลามแล้ว 89 ประเทศ

ผลต่อภูมิคุ้มกัน อาจหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้อย่างมีนัยยะสำคัญ และพบโอกาสติดเชื้อซ้ำได้สูง

อย่างไรก็ตาม มาตรการป้องกันและกาควบคุมโควิด-19 ทุกสายพันธุ์รวมถึงสายพันธุ์โอมิครอน นอกจากการฉีดวัคซีนแล้ว ยังต้องใช้มาตรการอื่นร่วมด้วย ทั้งมาตรการป้องกันโรคส่วนบุคคล เช่น สวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง การใช้มาตรการ VUCA และ COVID Free Setting และการตรวจ ATK 

เมื่อมีความเสี่ยง โดยกรมควบคุมโรคจะยกระดับการเฝ้าระวัง ณ ช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศและสถานที่ท่องเที่ยว ทำการสุ่มตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง และผู้ปวยไข้หวัดที่เป็นกลุ่มก้อน (คลัสเตอร์) โดยกรณีป่วยไข้หวัดเป็นกลุ่มก้อนจะสอบสวนให้ละเอียด จากนั้นรายที่มีข้อสงสัยจะส่งตรวจหาสายพันธุ์โอมิครอนต่อไปทันที

สธ.เตรียมเสนอยกเลิก Test&Go หลังไทยมีผู้ติดเชื้อโอมิครอน 63 คน

การติดต่อของสายพันธุ์โอมิครอนเหมือนกับสายพันธุ์อื่นๆ คือ ผ่านละอองฝอยเป็นหลัก ส่วนการติดต่อผ่านทางอากาศพบได้น้อยมากในบางกรณี เช่น ห้องอับทึบ ห้องที่มีการแพร่กระจายเชื้อสูงเท่านั้น โดยวัคซีนทุกชนิดรวมถึงที่ไทยใช้ไม่สามารถป้องกันติดเชื้อได้ 100% แต่ยังมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อที่ 50-80% ป้องกันป่วยหนักและเสียชีวิตมากถึง 90% ขึ้นไป

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ