"โรคนิ้วล็อก" โรคสุดฮิตคนทำงาน แนะ 2 ท่าบริหารนิ้วมือ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




โรคนิ้วล็อก เกิดจากการอักเสบเรื้อรัง และหนาตัวขึ้นของปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่นิ้วมือส่งผลให้ขยับนิ้วมือได้ยาก ถ้าเริ่มมีอาการเรามีวิธีบริหารนิ้วเบื้องต้น

อาการนิ้วล็อกส่วนใหญ่ จะส่งผลให้ผู้ที่เป็นไม่สามารถ ยืดหดนิ้วมือได้ตามปกติ  เมื่องอนิ้วแล้วจึงไม่สามารถกลับมาเหยียดตรงได้ บางครั้งก็ส่งผลให้ กำมือได้ไม่สุด บางรายอาจมีข้อนิ้วมืองอผิดรูปร่วมด้วย ซึ่งสาเหตุของอาการนิ้วล็อกนี้ เกิดจากการทำกิจกรรม ที่ต้องใช้มือรับน้ำหนักเป็นเวลานาน หรือต้องทำซ้ำ ๆ บ่อย ๆ ถือของเป็นเวลานาน บิดผ้าแรง ๆ หรือใช้อุปกรณ์ที่ต้องออกแรงบริเวณมือและข้อมือบ่อย ๆ ถ้าสมัยนี้ก็อาการนิ้วล็อกส่วนใหญ่ จะเกิดกับคนวัยทำงาน  เนื่องจากใช้คอมพิวเตอร์หรือเล่นโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน   

 

แนะ 6 วิธี ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม Work from home ลดเสี่ยงเป็นออฟฟิศซินโดรม

รู้หรือไม่ว่า "ชีวิตติดจอ" ส่งผลร้ายต่อคุณแค่ไหน

 

ทั้งนี้การรักษาโรคนิ้วล็อกในระยะแรก แพทย์จะรักษาให้หายอักเสบด้วยการทานยา หรือการฉีดยาก็จะช่วยให้ไม่ต้องผ่าตัดได้ แต่ถ้าปล่อยไว้นานจนถึงขั้นล็อคแล้วปวดมาก งอเหยียดไม่ได้ ฉีดยาแล้วไม่ได้ผล แพทย์จะพิจารณาการผ่าตัดขยายปลอกหุ้มเอ็นที่มีปัญหาเพื่อให้กลับมาใช้งานได้

 

ดังนั้นถ้าเราไม่อยากให้เกิดอาการนิ้วล็อกกับเราก็ต้องหาวิธีป้องกันด้วยการ การใช้เครื่องทุ่นแรงและสวมถุงมือหากต้องใช้มือทำงานหนักมาก นอกจากนั้น การลดระยะเวลาการเล่นมือถือหรือคอมพิวเตอร์ให้น้อยลงก็สามารถช่วยได้เช่นกัน 


 
หากมีอาการเพียงเล็กน้อย ก็สามารถบริหารมือและนิ้วมือในน้ำอุ่นประมาณวันละ 5 นาที ด้วยการ 

1. กำและแบนิ้วมือ กางให้สุด แล้วค่อย ๆ กำนิ้วแต่ละข้อนิ้วเข้ามา จนกลายเป็นกำปั้นให้แน่น 
2. ค่อย ๆ คลายออก ร่วมกับการนวดคลึงเบา ๆ บริเวณข้อนิ้วมือที่มีอาการ เป็นการเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อต่อ ฝึกกล้ามเนื้อมือให้แข็งแรงและช่วยทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น

 

แต่ถ้ามีอาการมาก ข้อนิ้วสะดุดมาก หรือมีอาการข้อยึดติดไม่สามารถงอนิ้วได้ ควรพบแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อ หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยกรรมทางมือโดยเร็ว เพราะหากทิ้งไว้นานเกิน 3 สัปดาห์ ทั้งเนื้อเยื่อ เส้นเอ็นและข้อจะเกิดอาการตึงแข็ง ส่งผลให้การผ่าตัดรักษายุ่งยากมากยิ่งขึ้น

 

ขอขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ 
 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ