แผนรับมือโอมิครอน โควิด-19 ระลอก 5 ของไทย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สาธิต ปิตุเตชะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดแผนรับมือโอมิครอน โควิด-19 ระลอก 5 ของไทย เตรียมประเมินสถานการณ์หลังปีใหม่ที่ผ่านมา พร้อมเร่งฉีดวัคซีนเด็กและบูสเตอร์

ในช่วงหนึ่งของรายการกาแฟดำโดย สุทธิชัย หยุ่น โดย นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย ซึ่งเข้าสู่ระลอกที่ 5 โดยมี สายพันธุ์โอมิครอน เป็นตัวแปรที่สำคัญ แต่ยังคงมีสายพันธุ์เดลตาคงอยู่ด้วย ซึ่งรัฐบาลได้เตรียมความพร้อมตั้งแต่ก่อนช่วงปีใหม่โดยการคาดการณ์ตามปัจจัยต่างๆ เป็นฉากทัศน์ ตั้งแต่กรณีเลวร้ายที่สุด ระดับปานกลาง และระดับการป้องกันได้ดี 

ได้ผล! ชาวแคนาดาแห่จองฉีดวัคซีนโควิดเข็มแรก หลังโดนขู่เก็บภาษี

ผลวิจัยสหรัฐฯ ชี้สารในกัญชงป้องกันโควิด-19ได้

ดังนั้น ณ จุดตรงนี้เรามีความพร้อมเต็มที่ในการรองรับการแพร่ระบาด บนพื้นฐานเครื่องมือสำคัญคือ การฉีดวัคซีน ในจำนวนประมาณ 70%  เข็มหนึ่งและเข็มสอง ไปจนถึงเข็มสามที่เป็นบูสเตอร์  เพราะฉะนั้นสำหรับการเตรียมความพร้อมไม่มีปัญหาอะไร เหลือเรื่องการสื่อสาร ทำความเข้าใจบนความคิดที่หลากหลายในสังคม โดยมีเป้าหมายตรงกันคือ การควบคุมการแพร่ระบาดให้ได้มากที่สุด และเปิดพื้นที่เศรษฐกิจให้มีผลกระทบน้อยที่สุด

ศูนย์ฉีดบางซื่อ เตือนนัดฉีดวัคซีนเข็ม 3 มีตกหล่น โปรดเช็กข้อมูลที่นี่
 

อย่างไรก็ตาม รมช.สาธิต ระบุว่าในอีก 1-2 สัปดาห์ข้างหน้า อาจต้องมีการหารือกันว่า หลังปีใหม่ที่ผ่านมา ตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น มีสัดส่วนของสายพันธุ์โอมิครอนมากขึ้น ประกอบกับข้อมูลทางวิชาการว่า อาการของสายดพันธุ์โอมิครอนไม่มีความรุนแรงเมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดลตา ประกอบกับไม่เกิดการกลายพันธุ์ใหม่ขึ้นมาจริงๆ เราจะจัดการกับสถานการณ์โควิดอย่างไร ที่จะคู่ไปกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจไปด้วย

 

เร่งฉีดวัคซีนเด็ก 5-11 ปี และบูสเตอร์เข็มสาม

นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในกลุ่มเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 5-11 ปี โดยจะได้รับวัคซีนจากไฟเซอร์สำหรับเด็กในช่วงปลายเดือน ม.ค.นี้ และได้รับการอนุญาตจาก อย.ให้สามารถฉีดในเด็กได้ ดังนั้นเมื่อวัคซีนเข้ามาและได้รับการตรวจสอบคุณภาพแล้ว จะเริ่มฉีดให้เด็กได้เร็วที่สุดตั้งแต่ต้นเดือน ก.พ.ควบคู่ไปกับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ให้กับผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัว (608) เพื่อลดความรุนแรงและเสียชีวิต 

การเข้าถึง ATK เพื่อคัดกรองเบื้องต้น 

รมช.สาธิต กล่าวต่อว่า เห็นด้วยอย่างยิ่งที่รัฐบาลต้องให้การสนับสนุนการเข้าถึงชุดตรวจ ATK ให้ได้ง่ายที่สุด ซึ่งในสถานการณ์ที่ต้องสู้กับโอมิครอน ประชาชนจะสามารถใช้คัดกรองได้ด้วยตัวเองในเบื้องต้นได้ เพราะฉะนั้นจึงประชุมร่วมกับ สปสช. เพื่อผลักดันให้มีการกระจาย ATK ที่จัดซื้อมาก่อนหน้านี้กระจายไปสู่ประชาชนให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะในบางพื้นที่ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง โรงเรียนต่างๆ

พร้อมเตรียมเสนอพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการหาวิธีสนับสนุนชุดตรวจ ATK ที่มีรายได้น้อยพร้อมกับให้ความรู้กับประชาชนว่า ควรตรวจเมื่อมีความเสี่ยง หรือตรวจทุก 3 วัน เมื่อมีอาการ เพื่อให้เกิดการตรวจที่มากเกินความจำเป็น

รวมถึงการสร้างความเข้าใจประชาชนติดโอมิครอน อาการไม่เยอะ เน้น รักษา Home isolation หรือ Community  isolation  เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยสายพันธุ์เดลตา เมื่อผู้ป่วยอาการไม่หนักครองเตียงโรงพยาบาลเป็นจำนวนมาก 

ดังนั้น ปัจจัยสำคัญของการสู้โอมิครอน มี 3 เรื่องใหญ่ๆ คือ

  1. การใช้มาตรการต่างๆ เช่น VUCA  / DMHTT / Covid Free Setting / Universal Prevention เป็นต้น
  2. ต้องเข้าถึง ATK ให้ได้มากที่สุดเพื่อเป็นการคัดกรอง
  3. ถ้าป่วยไม่มีอาการต้องเข้า Home isolation หรือ Community  isolation ให้ได้มากที่สุด

วัคซีนเพียงพอใช้ 2 ยี่ห้อหลัก ของ แอสตร้าเซเนก้าและไฟเซอร์

สำหรับสถานการณ์ของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ประเทศไทยจะใช้  2 ยี่ห้อคือ แอสตร้าเซเนก้า และ ไฟเซอร์ โดยแอสตร้าสั่งซื้อปีนี้ (2565) จะส่งมอบประมาณ 65 ล้านโดส และ ไฟเซอร์อีก 30 ล้านโดส  ปริมาณวัคซีนจึงมีเพียงพอแน่นอน  

ส่วนเป้าหมายของการฉีดเข็ม 3 ขณะนี้กำลังดูทิศทางว่าศักยภาพในแต่ละพื้นที่เป็นอย่างไร  ความต้องการของประชาชนในแต่ละพื้นที่เป็นอย่างไร  ซึ่งตั้งเป้าฉีดเข็ม 3  ให้ได้เร็วที่สุด  

ยื่นภาษีของปี 2564 ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 และภาษีทุกประเภท ผ่าน E-FILING

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ