รับมือ PM 2.5 ฝุ่นร้ายอนุภาคเล็ก ที่สร้างปัญหาใหญ่!!


โดย BDMS

เผยแพร่




มองออกไปนอกหน้าต่างตอนนี้เราอาจเห็นเหมือนมีหมอกปกคลุม แต่ที่จริงนั้นอาจไม่ใช่หมอก แต่เป็นฝุ่นละอองที่มีปริมาณเกินขนาด จนเป็นพิษต่อร่างกายได้

สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวทางระบบหายใจผู้ที่ป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดควรต้องระวังและใส่ใจดูแลตัวเองมากเป็นพิเศษเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้หลายคนอาจไม่เคยรู้ว่าฝุ่นละอองที่มีปริมาณมากเกินไปจะส่งผลกระทบต่อร่างกายและการใช้ชีวิตได้เป็นอย่างมากมีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับฝุ่นดังนี้

ฝุ่นละอองในชั้นบรรยากาศส่วนใหญ่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า คือฝุ่นที่มีขนาดตั้งแต่ 50 ไมครอนขึ้นไป

ชัดก่อนแชร์ | PM 2.5 ทำลายสมอง กระทบพัฒนาการเด็ก จริงหรือ? | PPTV HD 36

“PM 2.5” ฝุ่นละอองขนาดเล็กแต่เป็นเรื่องใหญ่ต่อสุขภาพ

คนบันเทิงตื่นตัวรับมือ ฝุ่นละออง PM 2.5

 

 

ฝุ่นละอองที่สามารถเข้าสู่ทางเดินหายใจ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์คือฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน เมื่อเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจทำให้เกิดการระคายเคือง และทำลายเนื้อเยื่อของอวัยวะนั้นได้ เช่นเนื้อเยื่อปอด หากรับเข้าไปมากเกินขนาดหรือติดต่อกันเป็นเวลานานอาจเกิดการสะสมเป็นพังผืดหรือแผล

เอาชนะ PM 2.5 เพชรฆาตตัวจิ๋ว    

ปัญหามลพิษทางอากาศจากฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนหรือ PM 2.5 และมลพิษทางอากาศในเมืองอย่างกรุงเทพและปริมณฑลมีแหล่งกำเนิดหลักๆ มาจาก
1.การจราจร
2.การทำอุตสาหกรรม
3.การเผาในที่โล่ง
ประกอบกับถ้าในช่วงนั้นสภาพอากาศยิ่งนิ่งลงสงบจะทำให้มลพิษทางอากาศสะสมตัวในปริมาณมากขึ้นจนส่งผลกระทบต่อร่างกายได้เมื่อร่างกายต้องเจอกับคุณมากเกินขนาดจะเกิดอาการดังต่อไปนี้


ระบบทางเดินหายใจส่วนบน
คัดจมูก
น้ำมูกไหล
เจ็บคอ


ระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง
ไอ มีเสมหะ
หายใจไม่สะดวก
หายใจมีเสียงดัง
หายใจไม่อิ่ม
แน่นหน้าอก

6 วิธีป้องกัน - ดูแลดวงตา เมื่อต้องเผชิญกับฝุ่น PM 2.5


ระบบไหลเวียน
อัตราการหายใจเพิ่มขึ้น
ระดับออกซิเจนลดลง
เสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว

 

เราจะป้องกันตัวเองจากพีเอ็ม 2.5 ได้อย่างไร
1.สวมหน้ากากอนามัยควรเลือกที่สามารถกรองอนุภาคฝุ่นได้สูงเช่น หน้ากาก N95 หน้ากาก N99 เป็นต้น
โดยต้องสวมอย่างถูกต้องตามวิธีที่ระบุไว้ในบรรจุภัณฑ์และจะต้องมันกระชับหน้ากากไม่ให้หลวงเนื่องจากฝุ่นละอองมีขนาดเล็กมากจะสามารถรอดผ่านหน้ากากได้ง่ายไม่ควรนำหน้ากากใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ด้วย
2.ใช้แอพพลิเคชั่นเพื่อตรวจระดับค่าฝุ่นละออง
3.ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายนอกอาคาร
4.หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกอาคารเป็นเวลานานโดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงไม่ทำกิจกรรมภายนอกอาคารเป็นเวลานานหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรสวมหน้ากากหรือใช้ผ้าปิดจมูกตลอดเวลาที่อยู่นอกบ้าน
5.ดูแลรักษาเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์
6.ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ใช้ระบบขนส่งมวลชนแทน
7.ติดตามข่าวสารและปฏิบัติตามคำแนะนำ
8.ปรึกษาแพทย์ทันทีหากเกิดความผิดปกติทางร่างกาย

เช็กที่นี่ สูตรฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็ม 1-4 ควรฉีดแบบไหน
ยื่นภาษีของปี 2564 ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 และภาษีทุกประเภท ผ่าน E-FILING

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ