ผู้ป่วยโควิด-19 Home Isolation มากขึ้นกว่าระลอกที่แล้ว


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สถานการณ์ในเรื่องของโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ล่าสุดพบว่าในประเทศไทยได้มีผู้เสียชีวิตจากสายพันธุ์นี้เป็นรายที่ 2 แล้ว ซึ่งเป็นหญิงสูงวัยที่จังหวัดอุดรธานี

แพทย์หญิง อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  หรือ ศบค. เปิดเผยว่า พบผู้เสียชีวิตจากสายพันธุ์โอมิครอนรายที่ 2 เป็นหญิงไทย อายุ 84 ปี อยู่จังหวัดอุดรธานี เป็นโรคมะเร็งปอดระยะสุดท้าย ติดเชื้อจากบุคคลใกล้ชิดในครอบครัว ไม่มีประวัติได้รับวัคซีน ทันทีที่ทราบว่าบุคคลใกล้ชิดในครอบครัวติดโควิด จึงรีบตรวจแบบ RT-PCR และพบผลเป็นบวกในวันที่ 9 มกราคมที่ผ่านมา โดยแพทย์แนะนำให้รักษาตัวที่โรงพยาบาล แต่ผู้ป่วยปฏิเสธการรักษาที่โรงพยาบาล 

กรมสุขภาพจิต เปิดช่องทางรับปรึษาปัญหาสุขภาพจิตแก่ผู้ติดเชื้อโควิด 19 - ญาติผู้ป่วยที่เสียชีวิต และบ...

เปิดชีวิต ผู้ป่วยร่วมโครงการ Home Isolation

เนื่องจากอาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยไม่มีอาการเหนื่อยหอบ แต่ต่อมาวันที่ 15 มกราคม มีอาการเหนื่อยหอบ ค่าออกซิเจนปลายนิ้วต่ำกว่า 76 ทางโรงพยาบาลมีการประสานผู้ป่วยเข้ารักษาตัวโรงพยาบาล แต่ญาติปฏิเสธการรักษาตัวที่โรงพยาบาล กระทั่งเสียชีวิตวันที่ 15 มกราคม

ดังนั้นจึงมีคำแนะนำไปยังประชาชนทั่วไปที่มีผู้สูงอายุอยู่ในบ้าน ขอให้สวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง หากเป็นไปได้ขอให้จัดพื้นที่แยกจากคนอื่น หมั่นทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วม หากใครจำเป็นต้องมีผู้ดูแล ขอให้เป็นผู้ดูแลประจำจะมีความเสี่ยงน้อยกว่าการเปลี่ยนคนไปเรื่อยๆ

ขณะเดียวกันตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์โอมิครอนแต่ไม่ค่อยแสดงอาการทำให้หลายคนเลือกรักษาตัวเองที่บ้าน หรือ Home Isolation โดยขณะนี้การเข้าทำ HI เมื่อพบว่าติดเชื้อต้องติดต่อ 1330 สายด่วน สปสช.เพื่อเข้าสู่ระบบ  เมื่อ สปสช.รับเข้าระบบแล้วจะส่งรายชื่อผู้ป่วยไปที่คลินิกเอกชนเพื่อให้แพทย์ติดต่อกลับและประเมินอาการ ซึ่งผู้ป่วยจะต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Telemedicine เพื่อติดตามอาการและรายงานผลกับทีมแพทย์เป็นประจำทุกวัน เมื่อประเมินอาการในครั้งแรกคลินิกจะส่งรายละเอียดการรับยาไปที่คลินิกที่จับคู่ไว้เพื่อให้ระบบขนส่งไปส่งยาให้ผู้ป่วยที่บ้าน ส่วนคูปองอาหารที่ผู้ป่วยจะได้รับจะต้องใช้ผ่านแอปพลิเคชันซึ่งสามารถสั่งซื้ออาหารแบบดิลิเวอรี่ได้วันละ 300 บาท ตลอด 10 วันของการรักษา

และครั้งนี้ “จีดีดีที คลินิก กู๊ด ด็อกเตอร์ เทคโนโลยี ประเทศไทย” ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 รักษาตัวที่บ้านเป็นครั้งที่ 2 เปิดระบบตั้งแต่วันที่ 6 ม.ค.ที่ผ่านมา หลังเปิดระบบมาแล้ว 10 วัน ขณะนี้คลินิกดูแลผู้ป่วย HI แล้ว 250 คน

สำหรับการดูแลผู้ป่วย HI ครั้งนี้ วิธีดูแลเหมือนกันกับในช่วงที่มีการระบาดของสายพันธุ์เดลตา สิ่งเดียวที่รู้คือผู้ป่วยผลเป็นบวก แต่ไม่รู้ว่าผู้ป่วยติดเชื้อสายพันธุ์ไหน วิธีการดูแลผู้ป่วยจึงเหมือนกันทั้งประเทศ และในระลอกนี้จะพบว่าผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง จึงเป็นไปตามหลักการดูแลของกระทรวงสาธารณสุขและ สปสช.

วิธีใช้ “ชุดตรวจ ATK” ด้วยตนเอง เพื่อความถูกต้องแม่นยำในเบื้องต้น

ประสิทธิภาพชุดตรวจ ATK ที่มีวางขายในไทย ในการตรวจหา “โอมิครอน”

ส่วนการขายชุดตรวจ ATK ราคาถูกขององค์การเภสัชกรรมที่เมื่อวานนี้เป็นวันแรกขายผ่านออนไลน์  ผ่านเว็บไซต์ www.gpoplanet.com  ได้รับความสนใจจากประชาชนจำนวนมากเข้าไปสั่งซื้อ แต่ปรากฎว่าในเวลา 09.30 น. ระบบเกิดขัดข้อง ประชาชนไม่สามารถระบุเลขบัตรประชาชน และยืนยันคำสั่งซื้อได้ ก่อนที่เว็บไซต์จะระบุข้อความว่า "สินค้าหมดแล้วสำหรับวันนี้"

ทั้งนี้ จากการสอบถามไปยังเจ้าหน้าที่ อภ.พบว่า วันนี้ชุดตรวจที่จำหน่ายผ่านทางออนไลน์หมดแล้ว เบื้องต้นจำกัดไว้ที่ วันละ 3,000 กล่อง ส่วนวันอื่นๆ จะปรับเพิ่มจำนวนการขายหรือไม่นั้น อยู่ระหว่างการประเมินสถานการณ์

 

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ