8 แนวทางแก้ปมใหญ่ "หนี้ภาคครัวเรือน"


โดย PPTV Online

เผยแพร่




คลังรับลูกแก้ปมใหญ่ "หนี้ภาคครัวเรือน" ด้วย 8 แนวทาง ตามนายกฯ ประกาศ "ปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือน"

หากเปิดข้อมูลจาก สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) พบว่าสถานการณ์หนี้สินครัวเรือนในไตรมาสสอง ปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 5.0 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 4.7 ของไตรมาส ก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สี่ติดต่อกัน

นายกฯ ตั้งเป้า“แก้หนี้ภาคครัวเรือน”ให้สำเร็จในปี65

แม่ค้าโอดราคาหมูพุ่ง กิโลละ 220 บาท แพงสุดในรอบ50 ปี ร้านอาหารบ่นแบกต้นทุนสูง

ขณะที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ปรับลดลงเล็กน้อย จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เร็วกว่าหนี้สินครัวเรือน ด้านคุณภาพสินเชื่อในภาพรวมยังคงทรงตัวแต่ต้องเฝ้าระวัง หนี้บัตรเครดิตที่มีหนี้เสียเพิ่มขึ้น 

 

รวมถึง การเพิ่มขึ้นของหนี้สินครัวเรือนเกิดจากการขยายตัวของหนี้สินเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ อุปโภคบริโภค ส่วนบุคคล และประกอบธุรกิจ 

และตามที่ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งจัดตั้งคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อย (คณะกรรมการฯ)และกำหนดให้ปี 2565 เป็น ปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือน นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า

ประสิทธิภาพชุดตรวจ ATK ที่มีวางขายในไทย ในการตรวจหา “โอมิครอน”

ได้สั่งการและมอบหมายให้หน่วยงานต่างๆ ในสังกัดกระทรวงการคลังและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ กำหนดให้เร่งแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชน 8 แนวทาง ดังนี้

1. การแก้ไขปัญหาหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เช่น การปรับปรุงรูปแบบการจ่ายชำระคืน การปรับปรุงลำดับการตัดชำระหนี้ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ การปรับโครงสร้างหนี้ให้กับผู้ที่มีปัญหา เป็นต้น เพื่อให้ลูกหนี้มีภาระที่ลดลง พร้อมกำชับให้เร่งติดตามการแก้ไขพระราชบัญญัติเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 ซึ่งอยู่ระหว่างนำเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ให้มีผลใช้บังคับโดยเร็ว  

2. การกำหนดให้การไกล่เกลี่ยและการปรับโครงสร้างหนี้เป็นวาระของประเทศ ตามหลักการของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เรื่อง แนวทางการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำหรับลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) อย่างยั่งยืน ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) แจ้งไปยังผู้แทนกระทรวงการคลังในทุก SFIs เพื่อให้เร่งกำหนดวิธีปฏิบัติและแนวนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยและปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพื่อให้มีผลบังคับใช้พร้อมกันในเดือนมกราคม 2565 และได้กำชับให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ติดตามการดำเนินการของ SFIs เพื่อช่วยเหลือลดภาระให้กับลูกหนี้ตามประกาศดังกล่าว 

"เช็ก 5 อาการโอมิครอน" ที่แพทย์ตรวจพบในกลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด

3. การแก้ไขปัญหาหนี้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์นั้น ได้มอบหมายให้ สศค. พิจารณาร่วมกับ ธปท. กำหนดแนวทางกำกับดูแลสินเชื่อและธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายคลึงสินเชื่อ เพื่อให้มีการกำกับดูแลธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่เหมาะสมต่อไป

4. การแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการ โดยเฉพาะข้าราชการครูและข้าราชการตำรวจ ได้มอบหมายให้ธนาคารออมสินเร่งแก้ไขปัญหาหนี้ข้าราชการครูอย่างจริงจัง และร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขับเคลื่อนโครงการแก้ไขปัญหาหนี้ครูผ่านการใช้สหกรณ์ออมทรัพย์ครูต้นแบบ 

สธ.เตรียมเสนอยกเลิก Test&Go หลังไทยมีผู้ติดเชื้อโอมิครอน 63 คน

5. การปรับลดและทบทวนโครงสร้างและเพดานอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม และการออกมาตรการคุ้มครองสิทธิของลูกหนี้นั้น ที่ผ่านมากระทรวงการคลังได้ใช้ SFIs เป็นเครื่องมือในการแทรกแซงดอกเบี้ยในตลาดและดำเนินโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการ SMEs อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นไปตามพันธกิจของ SFIs ที่ต้องช่วยให้ประชาชนและผู้ประกอบการ SMEs สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ในอัตราที่เหมาะสม

6. การแก้ไขปัญหาหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล โดยให้ธนาคารออมสินและธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ให้เข้าร่วมกับโครงการคลินิกแก้หนี้ของ ธปท. เพื่อสนับสนุนให้ปรับเปลี่ยนหนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด และสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันให้เป็นสินเชื่อระยะยาวที่มีดอกเบี้ยต่ำลง

นอกจากนี้ กระทรวงการคลังได้ร่วมกับ ธปท. SFIs  และธนาคารพาณิชย์ ดำเนินโครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน เพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับแนวทางปรับธุรกิจและมาตรการต่างๆ ให้กับลูกหนี้เป็นรายกรณี อีกทั้ง ยังได้มอบหมายให้ SFIs ทุกแห่งพิจารณาแนวทางช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาให้กับลูกหนี้ของแต่ละ SFIs อีกด้วย

7. การแก้ไขปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนรายย่อยและ SMEs ได้มอบหมายให้ สศค. และ ธปท. พิจารณาแนวทางการดูแลลูกหนี้ SMEs ที่ได้สินเชื่อ Softloan ระยะแรกและจะครบกำหนดชำระ 2 ปี โดยจะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาแนวทางการดูแลดังกล่าวได้ก่อนที่สินเชื่อ Softloan จะครบกำหนดในช่วงเดือนเมษายน 2565

8. การปรับปรุงขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรมเพื่อเอื้อให้เกิดการแก้ไขปัญหาหนี้สิน โดยกระทรวงการคลังพร้อมสนับสนุนกระทรวงยุติธรรมและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในการเร่งรัดการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูกิจการของ SMEs ให้แล้วเสร็จ

TOP หุ้น การลงทุน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ