เงินบาทอ่อนค่าจากปัจจัยเดิม คาดเฟดขึ้นดอกเบี้ย จ่อทะลุ 37 บาท
เปิดโผ 7 หุ้น รับเศรษฐกิจไทยฟื้นครึ่งปีหลัง 65 คาดเงินทุนไหลเข้าต่อเนื่อง
ฝ่ายวิจัยบริษัทหลักทรัพย์ เอเซียพลัส หรือ APSP เผยผ่านบทวิเคราะห์ระบุว่า ภาพใหญ่ของตลาดหุ้นไทย ยังคงเห็นภาพความเสี่ยงที่ลดระดับลง โดยในมุมของความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ ทั้งในช่องแคบไต้ดหวัน และ รัสเซีย-ยูเครน โดยเชื่อว่าจะยังไม่เกิดสถานการณ์ที่บานปลาย ขณะที่การตอบสนองต่อข่าวดังกล่าวของตลาดการเงินมีน้ำหนักที่ลดลง ในมุมของการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลก แม้จะยังเห็นการปรับขึ้นต่อเนื่อง แต่ประเมินว่ากำลังจะผ่านช่วงเวลาของ การปรับขึ้นในอัตราเร่ง และจะปรับขึ้นในอัตราที่ลดลงในไตรมาส 4 ปี 2565
ทั้งนี้ส่วนแรงหนุนของตลาดหุ้นไทย ยังมีอยู่ครบทั้งปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental) ซึ่งถูกสะท้อนผ่านเศรษฐกิจของประเทศที่ฟื้นตัวชัดเจน และการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่สูงกว่าคาดนำไปสู่การปรับเพิ่มประมาณการ ขณะที่กระแสเงินทุนยังเห็นทิศทางการไหลเข้าต่อเนื่องจากส่วนต่างระหว่าง ตลาดหุ้น กับ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Market Earning Yield Gap) ที่สูง และสัดส่วนการถือหุ้นต่างชาติที่ต่ำ
เมื่อคืนที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาประกาศตัวเลขเศรษฐกิจออกมาดีกว่าคาด ประกอบด้วย จำนวนคนที่ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงาน (Initial Jobless Claims) อยู่ที่ 232,000 ราย ลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3 และยังเป็นจำนวนที่ต่ำกว่าตลาดคาดไว้ราว 248,000 ราย รวมถึงดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อในภาคการผลิตภาคการผลิต (PMI) จากสถาบัน Institute of Supply Management (ISM) ในเดือนส.ค. อยู่ที่ระดับ 52.8 จุด สูงกว่าตลาดคาดที่ระดับ 52 จุด
ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯ ดาวโจนส์ ปิดเพิ่มขึ้น 145.99 จุด หรือ +0.46% อยู่ที่ 31,656.42 จุด ดัชนี้ S&P 500 ปิดเพิ่มขึ้น 11.85 จุด หรือ +0.30% อยู่ที่ 3,966.85 จุด และดัชนี้ Nasdaq ปิดลด 31.08 จุด หรือ -0.26% อยู่ที่ 11,785.13 จุด
ทั้งจากตัวเลขดังกล่าว บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯเริ่มดีขึ้น นำไปสู่ความกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด (FED) จะเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชิงรุกเพื่อสกัดเงินเฟ้อ และหากดูจาก Fed Watch Tool ของ CME ซึ่งเป็นเครื่องมือวิเคราะห์แนวโน้มการปรับขึ้น หรือลดดอกเบี้ยสำหรับการประชุม เฟด คาดว่า จะขึ้นดอกเบี้ย 0.75% เป็นครั้งที่ 3 จาก 2.50% เป็น 3.25% ด้วยความน่าจะเป็นที่ สูงขึ้นถึงระดับ 74.0% และมองดอกเบี้ยปลายปีจะพีคที่ระดับ 4.00%
ขณะที่วันนี้วันนี้ ( 2 ก.ย.65) นักลงทุนยังรอติดตามการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐฯ (Nonfarm Payroll) ที่คาดการณ์อยู่ที่ 300,000 ตำแหน่ง ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 528,000 ตำแหน่ง หากกรอบแนวคิดไม่เปลี่ยนอาจกลายเป็นปัจจัยกดดัน