ค่าเงินบาทเช้านี้ "แทบไม่ขยับ"จากวันศุกร์ จับตาวิกฤติค่าเงินเอเชีย
ราคาทองวันนี้ "ไม่ขยับ" รีบเลย! รูปพรรณอีก 100 บาทแตะ 30,000 บาทแล้ว
เมื่อวันที่ 26 ก.ย. 2565 บริษัทหลักทรัพย์ เอเซียพลัส (ASPS) เปิดรายงานบทวิเคราะห์ ระบุว่า ตลาดกังวลภาวะถดถอย (RECESSION) ของสหรัฐอเมริกา และยุโรปในอนาคต หนุนเม็ดเงินย้ายออกสินทรัพย์เสี่ยง ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวผันผวนเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (23 ก.ย.) ยตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดลบ -1.6% ถึง -2.7% ตลาดหุ้นโซนยุโรป: ปิดลบ -1.9% ถึง -2.3% ขณะที่ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงเช่นกัน โดยน้ำมันดิบเบรนทร์ (Brent) ปรับตัวลดลงมากว่า 4% และเวสต์เท็กซัส (WTI) ปรับลดต่ำกว่า 80 เหรียญ
เป็นครั้งแรกในปีนี้โดย 4 เดือนที่ผ่านมา (มิ.ย.65 - ก.ย.65) ราคาน้ำมันดิบร่วงลงไป แล้วกว่า 35%
โดยนักลงทุนกังวลการเกิดภาวะถดถอย ในอนาคตทั้งในส่วนของสหรัฐฯ-ยุโรป ซึ่งสาเหตุหลักมีอยู่ 3 ประเด็นที่เป็นตัวบ่งชี้ถึงประเด็นดังกล่าว โดยประกอบด้วย
1. PMI ภาคการผลิตและภาคบริการของยุโรป อยู่ในโซนต่ำ โดยฝั่งยุโรป PMI ภาคการผลิตและภาคบริการ เดือน ส.ค. ออกมาต่ำกว่าคาดที่ 48.5 และยังต่ำกว่า 50 จุด สะท้อนให้เห็นว่า ภาคธุรกิจของยุโรปกำลังทรุดตัวทำให้ความเสี่ยงของการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยเพิ่มสูงขึ้น
2. Inverted Yield Curve สหรัฐฯยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ อายุ 2 ปี พุ่งขึ้นไปมากกว่า 4% ขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ อายุ 10 ปี อยู่ที่ 3.6% สูงที่สุดในรอบ 12 ปี ทำให้ Inverted Yield Curve ต่อเนื่อง โดยติดลบกว่า 52.73 bp ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณเศรษฐกิจถดถอยเช่นกัน ขณะที่ประเทศ ไทย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล อายุ 2 ปี ยังต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย อายุ 10 ปีถือเป็นตัวบ่งชี้ว่าเศรฐกิจยัง แข็งแกร่ง
3. แนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยเชิงรุกของธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังมีอยู่ โดยเหลือการประชุมอีก 2 ครั้งในปีนี้ หากพิจารณาจาก Fed Watch Tool บ่งชี้ได้ว่า มีโอกาสปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือน พ.ย.65 และ ธ.ค.65 ครั้งละ 0.75% และ 0.50% ตามลำดับ ซึ่งจะทำให้ดอกเบี้ยปลายปีของสหรัฐฯ จะอยู่ที่ 4.50%
ด้านเศรษฐกิจไทยส่งสัญญานฟื้นตัวต่อ โดยครึ่งหลังปี 65 ค่อนข้างแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว อาทิ สหรัฐอเมริกา และยุโรป ที่กำลังเผชิญความเสี่ยงภาวะถดถอย โดยเศรษฐกิจไทยมีสัญญาณการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ประกาศยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
นอกจากนี้มีการรายงานตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทยสะสมตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-21 ก.ย.อยู่ที่ 5.3 ล้านคน ขณะที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) คาดการณ์ว่าตลอดทั้งปี 2565 จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทยราว 10 ล้านคน และช่วงที่เหลือของปีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทยเฉลี่ย 1.42 ล้านคนต่อเดือน ซึ่ง ฝ่ายวิจัยฯ มองว่านักท่องเที่ยวในเดือน ส.ค. มีจำนวนค่อนข้างสูงราว 1.2 ล้านคน
รวมทั้งในไตรมาสที่ 4 ยังอยู่ในช่วง ฤดูท่องเที่ยว (High Season) ทำให้การคาดการณ์ดังกล่าวจึงมีความเป็นไปได้ นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาจาก Google Mobility Trend ของไทย ยังปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนจากกิจกรรมต่าง ๆ ปรับตัวขึ้นสูงกว่าช่วงต้นปีทั้งสิ้น มีเพียงสวนสาธารณะ และ สถานีขนส่งสาธารณะที่ยังอยู่ระดับต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด-19 แต่ทิศทางยังเพิ่มขึ้น ต่อเนื่องอยู่
อย่างไรก็ตาม ไทยยังเผชิญกับการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 28 ก.ย. 65 หากมีการขึ้นดอกเบี้ย0.5% จะกดดันให้ตลาดหุ้นผันผวน โดยดอกเบี้ยที่ขึ้นสูงกว่าคาดทุก ๆ 0.25% จะกดดันเป้าหมายดัชนีลดลง 78 จุด แต่ถ้ารอบนี้กนง.ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% แรงกดดันอาจจะลดลง เพราะช่วงที่เหลือน่าจะขึ้นเพียง 0.25% ถือเป็นจังหวะในการสะสมหุ้นเพิ่มเติมส่วนกลยุทธ์การลงทุน ฝ่ายวิจัยฯ ยังเชื่อว่าตลาดหุ้นไทยยังแข็งแกร่งกว่าหุ้นโลก และหุ้นที่คาดหวังสร้างผลตอบแทนดีกว่ ตลาด (Outperform) แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. หุ้น Anti Commodity GPSC, BGRIM, CBG
2. หุ้นเกราะป้องกันดอกเบี้ยขาขึ้น BBL, BLA, TLI
3. หุ้นอิงกับการฟื้นตัวเศรษฐกิจในประเทศ ERW, AOT, BEM, PLANB, OR