ได้เวลาทองเล็งหา "กองทุน" SSF & RMF ตัวช่วยประหยัดภาษี


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ช่วงสิ้นปีมักจะเป็นเวลาทองของการบริหารจัดการด้านภาษีในช่วงโค้งสุดท้าย ทำให้กองทุนที่ช่วยประหยัดภาษีได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ มาทำความรู้จัก 2 กองทุนรวม “SSF” และ “RMF” ออมการลงทุนระยะยาว ช่วยลดหย่อนภาษี

กองทุนรวมเพื่อการออม SSF

ส่อง 3 ธนาคารรัฐ คลอดมาตรการช่วยเหลือลูกค้า-ลูกหนี้ ได้รับผลกระทบน้ำท่วม

คนไทยหนี้ยังสูง ยอดบัตรเครดิตพุ่ง หนี้เสียแตะ 4 แสนล้านบาท

SSF ย่อมาจากคำว่า “Super Savings Fund” เพิ่งเริ่มใช้เมื่อต้นปี 2563 ซึ่งเน้นการออมระยะยาวและเป็นตัวช่วยในการลดหย่อนภาษีที่มาแทนกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF ที่หมดอายุไปเมื่อปี 2562 

กองทุน SSF มีข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ คือ 

ลงทุนในสินทรัพย์อะไรก็ได้ ทั้งหุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ ตราสารหนี้ กองทุนทองคำ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ

  • ซื้อหน่วยลงทุนเพื่อใช้ลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีแต่ไม่เกิน 200,000 บาทและเมื่อรวมกับค่าลดหย่อนการออมเพื่อเกษียณอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
  • ถือหน่วยลงทุนไม่ต่ำกว่า 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ
  • ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อและไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี
  • นำค่าซื้อมาหักลดหย่อนภาษีได้ในปี 2563 - 2567 

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF

สำหรับกองทุน RMF ย่อมาจากคำว่า “Retirement Mutual Fund” เป็นกองทุนที่ส่งเสริมการออมเงินไว้ใช้จ่ายยามเกษียณอายุ ลักษณะจะคล้ายกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทเอกชน และกองทุนบำเหน็จบำนาญของข้าราชการ

เมื่อต้นปี 2563 ที่ผ่านมา ก็มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ใหม่ เพื่อให้นักลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีมากขึ้น

ปัจจุบันกองทุน RMF มีหลักเกณฑ์ คือ 

  • ลงทุนในสินทรัพย์อะไรก็ได้ ทั้งหุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ ตราสารหนี้ กองทุนทองคำ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ
  • ซื้อหน่วยลงทุนเพื่อใช้ลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท และเมื่อรวมกับการออมเพื่อเกษียณอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
  • ถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อครั้งแรก และขายได้ตอนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
  • ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ แต่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี (หรืออย่างน้อยซื้อปีเว้นปี)
  • ใช้สิทธิตามเกณฑ์ใหม่ได้ในปีที่ลงทุน เริ่มปี 2563 เป็นต้นไป
     

วิธีการลดหย่อนภาษี

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กบข.และกองทุนสงเคราะห์ครู ไม่เกิน 15% ของค่าจ้างสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท รวมกับ กองทุนการออมแห่งชาติ ไม่เกิน 13,200 บาท รวมกับ  ประกันชีวิตแบบบำนาญ ไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท รวมกับ  RMF ไม่เกิน 30% ของเงินพึงประเมินสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท รวมกับ SSF ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมินสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท

โดยทั้งหมดรวมกันไม่เกิน  500,000 บาท

 

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์


TOP หุ้น-การลงทุน

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ