เทคนิควางแผนการเงินก่อนซื้อรถ 'รู้เรา-รู้รถ' หมดห่วงการอนุมัติ
วันหยุดธนาคาร ประจำปี 2566 หยุดกี่วัน มีวันไหนบ้าง เช็กที่นี่
จากการณี เมื่อวันที่ 12 ต.ค. 65 ที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ “ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเรื่องให้ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2565” โดยมีผลบังคับใช้เมื่อพ้น 90 วัน นับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือราววันที่ 10 ม.ค. 2566 ซึ่งมีสาระสำคัญคือ
กำหนดเพดานควบคุมดอกเบี้ยสินเชื่อเช่าซื้อ รถยนต์ใหม่ไม่เกิน 10% ต่อปี รถยนต์ใช้แล้วไม่เกิน 15% ต่อปี และรถจักรยานยนต์ไม่เกิน 23% ต่อปี
โดยคำนวณเป็นอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ซึ่ง Effective Interest Rate คือลดต้นลดดอกเทียบกับปัจจุบันผู้ประกอบการเช่าซื้อรถจักรยานยนต์คิดอัตราดอกเบี้ยราว 30-35%
ล่าสุด ฝ่ายวิจัยบริษัทหลักทรัพย์ เอเซียพลัส หรือ ASPS ประเมินว่า ประเด็นดังกล่าวจะกระทบต่อผู้ประกอบการเช่าซื้อรถจักรยานยนต์เป็นหลัก เนื่องจากคิดเป็นดอกเบี้ยจากลูกค้าสูงกว่า 23% เช่น TK S11 และ NCAP เป็นต้น
ส่วนผู้ประกอบการกลุ่มจำนำทะเบียน คือ SAWAD จะได้รับผลกระทบบ้าง ปัจจุบันมีสัดส่วนสินเชื่อจากธุรกิจเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ราว 23% ของสินเชื่อสุทธิ และคิดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเช่าซื้อเฉลี่ยราว 30% โดย SAWAD ประเมินว่าการปรับลดเพดานอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว จะทำให้ผู้ให้บริการสินเชื่อรายย่อยอยู่ไม่ได้ ซึ่งคิดเป็นราว 25-30% ของอุตสาหกรรมฯ ส่งผลให้ ลูกค้าบางส่วนจะหันมาหา SAWAD และผู้ประกอบการรายใหญ่มากขึ้น หนุนการเติบโตสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ขอบริษัทในระยะยาว
รวมถึง บริษัทฯ ยังมีแผนการเพิ่มรายได้อื่นมากขึ้น ซึ่งยังเป็นความลับทางธุรกิจ ฝ่ายวิจัยคาดจะขายผลิตภัณฑ์อื่น เช่น ประกันภัย เป็นต้น เพื่อชดเชยแนวโน้มรายได้ดอกเบี้ยที่จะลดลง และลดค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ เช่น ค่านายหน้าให้ร้านขายรถจักรยานยนต์ การเพิ่มเงินดาวน์เป็น 10-20% กับลูกค้าบางกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งจะทำให้การตั้งสำรองหนี้ฯลดลง และการลดค่าใช้จ่ายภายกิจการ เป็นต้น
ซึ่งทำให้ SAWAD ประเมินว่าจะทำให้สัดส่วน Cost toincome ratio ปรับลดลงได้ราว 10% จากปัจจุบัน ส่งผลให้ SAWAD ประเมินว่าจะได้รับ ผลกระทบจากการปรับลดเพดานอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์จำกัด
ส่วน MTC และ TIDLOR ฝ่ายวิจัยมองว่า แทบไม่ได้รับผลกระทบ เพราะ MTC คิดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์เฉลี่ยราว 22-23% ใกล้เคียงเพดานใหม่อยู่แล้ว ส่วน TIDLOR ไม่ได้ปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์อยู่แล้ว
ทั้งนี้ ประเด็นดังกล่าวจะทำให้แนวโน้มยอดขายรถจักรยานยนต์ในช่วงที่เหลือของปี 2565 ชะลอตัวลงบ้าง เพราะผู้ซื้อรถจักรยานยนต์บางส่วนจะชะลอการซื้อออกไปก่อน
สำหรับหลักเกณฑ์กรณีการคืนรถหรือปิดบัญชีก่อนกำหนดเป็นแบบ 3 ขั้นบันได คือ
- กรณีผู้เช่าซื้อชำระค่างวดไม่เกิน 1 ใน 3 ของค่างวดเช่าซื้อที่ระบุไว้ในสัญญา ให้ได้รับส่วนลดในอัตราไม่น้อยกว่า 60% ของดอกเบี้ยเช่าซื้อที่ยังไม่ครบกำหนดชำระ
- กรณีผู้เช่าซื้อชำระค่างวดไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 แต่ไม่เกิน 2 ใน 3 ให้ได้รับส่วนลดในอัตราไม่น้อยกว่า 70% ของดอกเบี้ยเช่าซื้อที่ยังไม่ครบกำหนดชำระ
- กรณีผู้เช่าซื้อชำระค่างวด ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ให้ได้รับส่วนลดทั้งหมดของดอกเบี้ยเช่าซื้อที่ยังไม่ครบกำหนดชำระ
ฝ่ายวิจัยประเมินว่า ประเด็นนี้จะกระทบต่อผู้ประกอบการกลุ่มเช่าซื้อจำกัด เพราะเดิมกรณีที่ผู้เช่าซื้อต้องการปิดบัญชีก่อนกำหนด จะได้รับส่วนลดในอัตราไม่น้อยกว่า 50% ของดอกเบี้ยเช่าซื้อที่ยังไม่ครบกำหนดชำระอยู่แล้ว อีกทั้ง ผู้ขอสินเชื่อเช่าซื้อ รถจักรยานยนต์ส่วนใหญ่ก็ไม่ปิดบัญชีก่อนกำหนดอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม คงประมาณการคาดกำไรสุทธิปี 2565-66 ของกลุ่มเช่าซื้อจะเติบโต 10.5% จากปีก่อน และ 15.6% จากปีก่อน ตามลำดับ จากแนวโน้มสินเชื่อกลุ่มฯ ปี 2565-66 จะเติบโต 19.5% จากปีก่อน และ 15.3% จากปีก่อน มาอยู่ที่ 4.6 แสนล้านบาท และ 5.3 แสนล้านบาท ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ