GULF เผยโรงไฟฟ้า GSRC หน่วยที่ 4 กำลังผลิต 662.5 เมกะวัตต์ เริ่มเดินเครื่องแล้ว
ลุ้นเงินทุนไหลเข้าหุ้นไทยต่อ หลังเงินเฟ้อเริ่มเบา จับตาสหรัฐฯชะลอขึ้นดอกเบี้ยแรง
ฝ่ายวิจัยบริษัทหลักทรัพย์ เอเซียพลัส (ASPS) เปิดเผยบทวิเคราะห์ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF โดยคาดการณ์กำไรสุทธิงวดไตรมาส 3 ปี 2565 จะปรับตัวลดลง -21.2% จากไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) อยู่ที่ 1.2 พันล้านบาท ซึ่งได้รับแรงกดดันหลักจากกำไรปกติที่คาดจะลดลงราว 24.6% QoQ อยู่ที่ 2.3 พันล้านบาทจาก
โดยรายได้ขายไฟฟ้ารวม คาดจะลดลง -4.0% QoQ อยู่ที่ราว 2.1 หมื่นล้านบาท เนื่องจากทางภาครัฐ (EGAT) มีนโยบายบริหารต้นทุน จึงทำให้มีการมีการเรียกซื้อไฟฟ้าจากกลุ่มโรงไฟฟ้า IPP ลดลง
อย่างไรก็ตาม แม้คาดว่าราคาขายไฟฟ้าในประเทศไทยจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ตามการปรับขึ้นค่า Ft ในงวด ก.ย.-ธ.ค.65 ที่ 68.7 สตางค์ต่อหน่วย รวมถึงโรงไฟฟ้า BRK2 ในประเทศเยอรมนี จะได้รับอัตราค่าไฟที่สูงขึ้นตามความต้องการใช้ไฟฟ้าในกลุ่มยุโรป เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว แต่ก็ไม่สามารถชดเชยเอาไว้ได้หมด
ทั้งนี้คาดราคาก๊าซธรรมชาติจะปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง +32.5% QoQ อยู่ที่ราว 560 บาทต่อล้านบีทียู ซึ่งกดดันให้กลุ่มโรงไฟฟ้า SPP ที่ขายไฟฟ้าให้แก่กลุ่มลูกค้าอุตาหกรรมจะมีอัตรากำไรที่ลดลง
ด้านอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ในไตรมาส 3/65 คาดจะลดลงที่ราว 16.4% จาก 19.3% ในไตรมาส 2/65 ส่งผลให้กำไรขั้นต้นปรับตัว ลดลง -18.7% QoQ อยู่ที่ 3.6 พันล้านบาท อีกทั้งคาดส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมที่ไม่รวมผลกระทบอัตราแลกเปลี่ยน (Fx) และตราสารอนุพันธ์จะปรับตัวลดลง -33.1% QoQอยู่ที่ 1.4 พันล้านบาท เป็นผลมาจากผลประกอบการของของกลุ่มโรงไฟฟ้า GJP ที่คาดอัตรากำไรขั้นต้นในกลุ่มโรงไฟฟ้า SPP จะอ่อนตัวจากผลกระทบต้นทุนก๊าซฯ ที่ประตัวสูงขึ้น
ขณะที่ส่วนแบ่งกำไร INTUCH คาดทรงตัวใกล้เคียงในระดับเดิมที่ 1.2 พันล้านบาท รวมถึงคาดจะมีการบันทึกเงินปันผลรับจาก SPCG ลดลง -54.5% QoQ มาอยู่เพียง 23.7 ล้านบาท
นอกจากนี้คาดต้นทุนทางการเงิน จะปรับตัวเพิ่มขึ้น +3.5% QoQ มาอยู่ที่ 1.9 พันล้านบาท จากภาระดอกเบี้ยตามการออกหุ้นกู้ของทางบริษัท สำหรับรายการพิเศษในงวดนี้คาดจะบันทึกเป็นขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน ลดลง -28.0% QoQ อยู่ที่ราว 1.1 พันล้านบาท
ฝ่ายวิจัย ASPS ได้ปรับลดประมาณการกำไรปกติปี 2565-66 ลดลง 13.3% และ 6.3% อยู่ที่ 1.2 หมื่นล้านบาท และ 1.8 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ ปัจจัยหลักมาจาก
1. ราคาต้นทุนก๊าซฯ ปรับตัวขึ้นสูงแรงต่อเนื่องในปี 2565 โดยเฉพาะในไตรมาส 3/65 จากปริมาณก๊าซฯในอ่าวไทยที่เริ่มลดลง จึงต้องนำเข้า LNG จากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งมีราคาที่สูงมาก เนื่องจากได้รับผลกระทบจากประเด็นความกังวลด้านการขาดแคลนพลังงาน จากมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียของนานาประเทศ และความต้องการใช้ไฟฟ้าดำอ่มขึ้นของกลุ่มสหภาพยุโรป เพราะเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว
โดยฝ่ายวิจัยฯ ได้ปรับเพิ่มสมมติฐานราคาก๊าซธรรมชาติปี 2565-66 ของกลุ่มโรงไฟฟ้าที่ขายไฟฟ้าใก้แก่ลูกค้า อุตสาหกรรม (IU) ขึ้นมาอยู่ที่ 500 บาท/ล้านบีทียู และ 400 บาท/ล้านบีทียู ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) โดยรวมลดลงมาอยู่ที่ 31.3% และ 29.5% จากเดิม 35.3% และ 31.7% ตามลำดับ
2. โครงการโรงไฟฟ้า DIPWP ในประเทศโอมาน 134 เมกะวัตต์อี (MWe) มีการ COD ล่าช้ากว่าแผนเดิมที่เคยกำหนดไว้ โดยฝ่ายวิจัยได้ปรับเลื่อนการรับรู้โครงการดังกล่าวออกไปเป็นไตรมาส 1/66 ซึ่งภายใต้ประมาณการใหม่นี้ส่งผลให้กำไรปกติเติบโต +40.8% จากปีก่อน (YoY) และ +41.5% YoY ตามลำดับ
โดยไตรมาส 4/65 คาดกำไรปกติกลับมาฟื้นตัวและทำระดับสูงสุดใหม่รายไตรมาสเป็นประวัติการณ์อีกครั้ง รับแรงหนุนจากการเข้าสู่ช่วง High season ของฤดูกาลลมทั้งในประเทศไทยและเยอรมนี ส่งผลให้โรงไฟฟ้าพลังงานลม BRK2 และกลุ่มโรงไฟฟ้า GULF GUNKUL มีผลประกอบการที่ดีขึ้น QoQ รวมถึงรับรู้โครงการ GSRC phase4 กำลังการ ผลิต 463.8 เมกะวัตต์อี ที่เพิ่มเริ่ม COD เมื่อ 3 ต.ค. ที่ผ่านมา เข้ามาในไตรมาสแรก
นอกจากนี้ยังมีแรงหนุนจากจากการรับรู้การปรับขึ้นค่า Ft งวด ก.ย.-ธ.ค. ได้เต็มไตรมาส แม้คาดจะยังมีปัจจัยกดดันบางส่วนจากต้นทุนพลังงานก๊าซฯ ที่ยังมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาส 3/65 อยู่ก็ตาม