ค่าเงินบาทเช้านี้ "อ่อนค่าเล็กน้อย" จับตารายงานผลการประชุมเฟด


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 35.86 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่าเล็กน้อย” จากระดับปิดวันศุกร์ที่ 35.73 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบวันนี้ 35.65-35.85 บาท/ดอลลาร์

ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต รายงานว่าว่าค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 35.86 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ระดับ 35.75 บาท/ดอลลาร์ โดยมองกรอบค่าเงินบาทวันนี้ เคลื่อนไหวช่วง 35.70- 36.00 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทยังคงอ่อนค่าในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา จากที่นักลงทุนต่างชาติเทขายทำกำไรในตลาดพันธบัตรเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ขายสุทธิ 8,535 ล้านบาท ขณะที่ตลาดหุ้นไทย ซื้อสุทธิ 716 ล้านบาท

แนวโน้ม "หุ้น-ค่าเงินบาท"สัปดาห์หน้า กอดคอกันร่วง

ราคาทองวันนี้ ร่วง 100 บาท ตามราคาต่างประเทศ "ปรับฐาน"

 

 

 

 

การเคลื่อนไหวเงินบาทในรอบ 5 วัน

ค่าเงินดอลลลาร์แนวโน้มแข็งค่าขึ้น โดยได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ เฟดอาจจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.75% เพื่อสกัดเงินเฟ้อ ทั้งนี้ ตลาดจับตารายงานการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ประจำวันที่ 1-2 พ.ย. ซึ่งจะมีการเปิดเผยในวันที่ 23 พ.ย. เพื่อบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟดต่อไป

แนะนำ ผู้นำเข้า แนะนำควรซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อปิดความเสี่ยง ส่วนผู้ส่งออก แนะนำขายเงินตราต่างประเทศที่เหนือระดับ 36.20 บาท/ดอลลาร์

ด้านนายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้เล่นในตลาดเริ่มระมัดระวังตัวมากขึ้น หลังบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดต่างส่งสัญญาณสนับสนุนการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องของเฟด

ในสัปดาห์นี้ มองว่า ควรจับตา รายงานการประชุมล่าสุดของเฟด รวมถึง ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด เพื่อประเมินทิศทางนโยบายการเงินของเฟด ส่วนในฝั่งไทย รายงาน GDP ไตรมาสสาม อาจเป็นที่สนใจของผู้เล่นในตลาดการเงิน

นักลงทุนรอประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ผ่านรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและภาคการบริการ (S&P Global Manufacturing & Services PMIs) ในเดือนพฤศจิกายน โดยตลาดคาดว่า ดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการอาจปรับตัวลดลงสู่ระดับ 49.9 จุด และ 47.7 จุด (ดัชนี น้อยกว่า 50 จุด หมายถึง ภาวะหดตัว) สะท้อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคการผลิตและภาคการบริการที่ยังคงซบเซาต่อเนื่อง จากผลกระทบของการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟด และภาวะเงินเฟ้อ/ค่าครองชีพสูง รวมถึงภาพการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก

 

คอนเทนต์แนะนำ
เท่มาก! “จองกุก BTS” โชว์จัดเต็ม พิธีเปิดบอลโลก 2022 เก่งสมฉายา ‘มักเน่ทองคำ’
สุดอลังการ !! พิธีเปิด ฟุตบอลโลก 2022 ที่ กาตาร์

 

นักลงทุนรอรายงานการประชุมเฟดล่าสุด (FOMC Meeting Minutes) รวมถึง ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด (ส่วนใหญ่เป็น FOMC Voting Members) เพื่อประเมินแนวโน้มนโยบายการเงินของเฟด หลังจากที่เจ้าหน้าที่เฟดส่วนใหญ่ส่งสัญญาณพร้อมสนับสนุนการขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องของเฟด (ตลาดจะใช้ประเมินระดับดอกเบี้ยสูงสุดของเฟด หรือ Terminal Rate) โดยมีอัตราการขึ้นดอกเบี้ยที่อาจชะลอลงจากช่วงก่อนหน้า

สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท เราประเมินว่า เงินบาทมีโอกาสผันผวนฝั่งอ่อนค่ามากขึ้น หากตลาดกลับมากังวลแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดอีกครั้ง นอกจากนี้ ควรจับตาแนวโน้มราคาทองคำ (ราคาทองคำย่อตัวลงแรง อาจส่งผลให้มีโฟลว์ธุรกรรมซื้อทองคำในจังหวะย่อตัว ซึ่งเป็นแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าต่อเงินบาท) รวมถึงควรติดตาม ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติที่อาจเห็นการขายทำกำไรสินทรัพย์ไทยมากขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า

ภาพเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง (หาก GDP ไตรมาส 3 ดีกว่าคาด) และแรงขายเงินดอลลาร์ของบรรดาผู้ส่งออกใกล้โซนแนวต้านแถว 36.00 บาทต่อดอลลาร์ อาจช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินบาทได้บ้าง

คาดว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง หลังการเปิดประเทศอย่างเต็มที่ในช่วงไตรมาสที่ 3 ซึ่งจะหนุนให้ เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวถึง +4.5%y/y เร่งขึ้นจากที่โต +2.5% ในไตรมาสที่ 2 ทำให้เศรษฐกิจไทยจะกลับไปสู่ระดับก่อนวิกฤต COVID-19 ได้ภายในปีนี้ และหนุนการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องของธนาคารแห่งประเทศไทย

ทั้งนี้ การค้าระหว่างประเทศของไทยอาจได้รับผลกระทบจากภาพเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง โดยยอดการส่งออก (Exports) อาจโตเพียง 5.5%y/y ส่วนยอดการนำเข้า (Imports) ยังโตกว่า +10%y/y ทำให้ดุลการค้า (Trade Balance) ในเดือนตุลาคมอาจกลับมาขาดดุลถึง -1.4 พันล้านดอลลาร์

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP หุ้น การลงทุน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ