บลจ.วรรณ คาดหุ้นไทยปี 66 มีโอกาสถึง 1,780 จุด
หุ้นเอเชียกอดคอกันร่วง จีนประท้วงเดือดต้านโควิดเป็นศูนย์ หวั่นฉุดเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่
เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2565 ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ หลังจากเจ้าหน้าที่ของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (เฟด) ได้ออกมาสนับสนุนให้ เฟด เดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อฉุดเงินเฟ้อให้กลับสู่เป้าหมายของเฟดที่ระดับ 2%
ขณะที่ทางการจีนได้ผ่อนคลายมาตรการที่เข้มงวดในการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยหวังที่จะลดกระแสความไม่พอใจของประชาชนที่ลุกลามไปทั่วประเทศ
ทั้งนี้คาดว่ารัฐบาลจีนยังไม่มีแนวโน้มที่จะยกเลิกนโยบายโควิดเป็นศูนย์ในอนาคตอันใกล้
เมื่อวานนี้ (28 พ.ย.65) ต่างชาติยังซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตร 1,262 ล้านบาท ขณะที่ตลาดหุ้นไทยนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 666 ล้านบาท
สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามคือ การเปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 3 ของสหรัฐฯ ในวันที่ 30 พ.ย. รวมทั้งตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในวันที่ 2 ธ.ค.
ขณะเดียวกันวันที่ 30 พ.ย.65 จะมีการประชุมนโยบาย คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) โดยมองกรอบค่าเงินบาทวันนี้ เคลื่อนไหวช่วง 35.65- 35.85 บาท/ดอลลาร์
ด้านนายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย ระบุว่า บรรยากาศตลาดหุ้นสหรัฐอเมริก พลิกกลับมาอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง โดยดัชนี S&P500 ปรับตัวลดลงกว่า -1.54% ท่ามกลางความกังวลสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ในจีน ที่ล่าสุดมีผู้ประท้วงต่อต้านมาตรการโควิดเป็นศูนย์ (Zero COVID) ในหลายเมืองใหญ่ ซึ่งผู้เล่นในตลาดยังกังวลว่า สถานการณ์ที่ยังน่ากังวลดังกล่าว อาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจ และความต้องการใช้พลังงาน
ด้านตลาดค่าเงิน ภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาดการเงินได้หนุนให้ผู้เล่นในตลาดต่างเลือกที่จะถือเงินดอลลาร์เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยในระยะสั้น ส่งผลให้เงินดอลลาร์พลิกกลับมาแข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 106.6 จุด
ขณะที่วันนี้ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 และการประท้วงต่อต้านมาตรการควบคุมการระบาดในจีน โดยเฉพาะท่าทีของรัฐบาลต่อสถานการณ์ดังกล่าว ซึ่งนักวิเคราะห์บางส่วนมองว่า หากการประท้วงทวีความรุนแรงมากขึ้น ทางการจีนอาจส่งสัญญาณประนีประนอม อาจมีกรผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดเพิ่มมากขึ้นได้ หรือ การผ่อนคลายมาตรการโควิดเป็นศูนย์
สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาท นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน กรุงไทย มองว่า ค่าเงินบาทผันผวนอย่างเห็นได้ชัดจากประเด็นสถานการณ์การระบาดโควิด-19 และการประท้วงในจีน โดยแรงกดดันฝั่งอ่อนค่ายังคงมีอยู่ในระยะสั้น หากบรรยากาศในตลาดการเงินอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยงต่อไป นอกจากนี้ โฟลว์ธุรกรรมซื้อทองคำในจังหวะย่อตัวก็มีส่วนที่กดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลง (เงินบาทเคลื่อนไหวสอดคล้องกับทิศทางราคาทองคำถึง 88%)
อย่างไรก็ตาม เงินบาทอาจไม่ได้อ่อนค่าหนักมากจนทะลุโซนแนวต้านแถว 36.00-36.10 บาทต่อดอลลาร์ได้ง่ายนัก เนื่องจากบรรดานักลงทุนต่างชาติก็ยังไม่ได้เทขายทำกำไรสินทรัพย์ไทยอย่างที่เคยคาดการณ์ไว้ กลับกันบรรยากาศปิดรับความเสี่ยงของตลาดยังได้หนุนให้ผู้เล่นต่างชาติบางส่วนเดินหน้าซื้อบอนด์ระยะยาวของไทยเพิ่มเติมในวันก่อนหน้า (ยอดซื้อสุทธิบอนด์ระยะยาว +1.5 พันล้านบาท)
ทั้งนี้ เรามองว่า ผู้เล่นในตลาดอาจยังไม่รีบปรับเปลี่ยนสถานะถือครองที่ชัดเจน เพื่อรอลุ้นถ้อยแถลงของประธานเฟด Jerome Powell ในวันพุธนี้ ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ตลาดการเงินมีการเคลื่อนไหวที่ชัดเจนมากขึ้นได้