AOT ตั้งเป้าปี66 ผู้โดยสารสนามบินแตะ 95.7 ล้านคน ลุ้น นทท.จีนคัมแบ็ก
AOT ต้นทุนพุ่ง ปี 65 ขาดทุน 11,087 ล้านบาท แม้ได้แรงหนุนเปิดประเทศ-เที่ยวบินเพิ่ม
เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2565 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติโครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมืองระยะที่ 3 โดยวันนี้เป็นการอนุมัติวงเงินลงทุนราว 36,829 ล้านบาท เพื่อขยายขีดความสามารถในการรองรับปริมาณผู้โดยสาร พัฒนาคุณภาพการให้บริการ ลดความแออัดการจราจรภายในท่าอากาศยาน รองรับปริมาณจราจรทางอากาศ และผู้โดรสาร รวมทั้งกิจกรรมการบิน ซึ่งจะมีการเชื่อมต่อระบบขนส่งทางรางที่ในอนาคต
โดยในปัจจุบันท่าอากาศยานดอนเมืองมีอาคารผู้โดยสารจำนวน 2 อาคาร สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 30 ล้านคนต่อปี ซึ่งบริษัท ท่าอากาศยาน ไทย จำกัด หรือ ทอท. (AOT) มองว่า โครงการนี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถเดิมของท่าอากาศยาน และพัฒนาให้เต็มศักยภาพของพื้นที่ เพื่อให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ราว 40 ล้านคนต่อปี ซึ่งเป็นระดับจำนวนผู้โดยสารทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง เคยให้บริการในปี 2562 ก่อนช่วงโควิด-19
สำหรับแนวทางการดำเนินงานของโครงการนี้มี 6 กลุ่มงานประกอบด้วย
1.พัฒนาด้านทิศใต้ เช่น งานก่อนสร้างวผู้โดยสารอาคาร 3 และอากาคารเทียบครเองบิร งานปรับปรุงอาคารจอดรถ 7 ชั้น และชานชะลาจอดรถรับส่ง
2.งานพันาด้านทิศเหนือ เช่น การปรับปรุงหลุมจอด งานก่อสร้างขยายอาคารเทียบเครื่องบินด้านทิศเหนือ รวมถึงอาคารสำนักงานสายการบิน และอาคารรับรองพิเศษ VIP
3.งานก่อสร้างในพื้นที่เขตปฏิบัติการบิน เช่น ก่อสร้างลานจอดอากาศยานทิศเหนือพร้อมทางขับเชื่อม
4.งานปรุงอาคารผู้โดยสาร 1 เช่น อาคารเทียบเครื่องบินด้านทิศเหนือ และอาคารเทียบเครื่องบินหมายเลข 2 – 4
5.งานสนับสนุนโครงการพัฒนา ได่แก่ งานก่อสร้างสาธารณูปโภค
6.งานสิ่งแวดล้อม งานจ้างติดตามตรวจสอบคุณสภาพสิ่งแวดล้อมภายในระยะเวลาการปรับปรุง และฟื้นฟูอำนวยความสะดวกตลอดทั้งโครงการ
นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า วงเงินลงทุน 36,829 ล้านบาทของโครงการนี้ จะใช้แหล่งเงินทุนจากภายใน ซึ่งก็คือรายได้ของ ทอท. เป็นอันดับแรกก่อน และหากมีสภาพคล่องไม่พอ จึงจะใช้แหล่งเงินทุนจากภายนอกเข้ามาชดเชย