ค่าเงินบาทเช้านี้ "อ่อนค่า" กลับไปยืนเหนือ 35 บาท/ดอลลาร์


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 35.02 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่า” จากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ระดับ 34.76 คาดการณ์ค่าเงินบาทวันนี้ เคลื่อนไหวในช่วง 34.90-35.20 บาท/ดอลลาร์

ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) กล่าวว่าสัปดาห์ที่ผ่านมาค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นสอดคล้องกับสกุลเงินเอเชียอื่นๆ ทั้งในช่วงก่อนและหลังการประชุม กนง. ซึ่งมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยอีก 0.25% ไปที่ 1.25% และมีแรงหนุนจากถ้อยแถลงของประธานเฟด ซึ่งกระตุ้นการคาดการณ์เกี่ยวกับแนวโน้มการชะลอขนาดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ในการประชุมรอบสุดท้ายของปีวันที่ 13-14 ธันวาคมนี้

ทองวันหยุด 5 ธ.ค. “ปิดตลาด” ราคาไม่ขยับ ทั้งวันปรับขึ้น 50 บาท

สัญญาณหยุดขึ้นดอกเบี้ยครึ่งหลังปี 66 กลยุทธ์ลงทุนแนะถือเงินสดไว้ก่อน

 

การเคลื่อนไหวค่าเงินบาทในรอบ 5 วัน

นอกจากนี้เงินบาทยังได้รับปัจจัยบวกจากแรงซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ โดยสัปดาห์ที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติที่เข้าซื้อสุทธิพันธบัตรและหุ้นไทย 25,269 ล้านบาท และ 4,493 ล้านบาท ตามลำดับ 

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการจ้างงานการจ้างงานนอกภาคการเกษตรสหรัฐฯที่ประกาศในคืนวันศุกร์ เพิ่มขึ้น 263,000 ตำแหน่งในเดือนพฤศจิกายน แม้จะลดลงจาก 284,000 ตำแหน่งในเดือนก่อนหน้า แต่สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ระดับ 200,000 ตำแหน่ง ทำให้เงินดอลลาร์เริ่มกลับมาแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ

แนะนำผู้นำเข้า แนะนำควรซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อปิดความเสี่ยง

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่าสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดยังคงได้แรงหนุนจากความหวังการผ่อนคลายมาตรการ Zero COVID ในจีน รวมถึงแนวโน้มเฟดชะลอการเร่งขึ้นดอกเบี้ย

ในสัปดาห์นี้ เรามองว่า ควรจับตา สัญญาณเงินเฟ้อสหรัฐฯ ผ่านดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) และตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อ เพื่อประเมินทิศทางนโยบายการเงินของเฟด และควรติดตามสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในจีน

นักลงทุนรอประเมินสถานการณ์เงินเฟ้อสหรัฐฯ ผ่าน ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ในเดือนพฤศจิกายน โดยตลาดคาดว่า ความต้องการสินค้าที่ลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมถึง ปัญหา Supply Chain ที่คลี่คลายลงไปมาก จะช่วยลดแรงกดดันต่อราคาสินค้าฝั่งผู้ผลิต โดย PPI อาจชะลอลงสู่ระดับ 7.2% จาก 8.0% ในเดือนก่อนหน้า สะท้อนว่า แรงกดดันต่อเงินเฟ้อทั่วไปในส่วนราคาสินค้า (Goods Inflation) ก็มีแนวโน้มชะลอลง

อย่างไรก็ดี แรงกดดันเงินเฟ้อในฝั่งการบริการ (Services Inflation) อาจยังคงอยู่ในระดับสูง หลังจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ โดย ISM (Services PMI) เดือนพฤศจิกายน ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 56.5 จุด ดีกว่าที่ตลาดคาดไว้มาก และดัชนีราคาภาคการบริการก็ยังคงอยู่ในระดับสูงถึง 70 จุด

นอกจากนี้ นักลงทุนรอรายงานเงินเฟ้อคาดการณ์ระยะสั้นและระยะยาวจากรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยมหาวิทยาลัยมิชิแกน (U of Michigan Consumer Sentiment) ซึ่งเรามองว่า ต้องระวังในกรณีที่ ดัชนี PPI ไม่ได้ชะลอลงตามคาด หรือเงินเฟ้อคาดการณ์กลับเร่งตัวขึ้น ก็อาจทำให้ตลาดพลิกกลับมากังวลแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดและกลับสู่ภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) ได้

เราประเมินว่า แนวโน้มการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทยที่ได้รับอานิสงส์จากการบริโภคในประเทศจะช่วยหนุนให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ยังคงอยู่ในระดับ 3.2% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) จะทรงตัวที่ระดับ 6.0%

 

คอนเทนต์แนะนำ
ทรัพย์แบบไหนได้มาแล้วต้องเสีย และใคร? มีหน้าที่ เสีย "ภาษีมรดก"
วิเคราะห์บอล !! ฟุตบอลโลก 2022 โมร็อกโก พบ สเปน 6 ธ.ค.65

 

เงินเฟ้อของไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่องจากระดับฐานราคาสินค้าและบริการที่สูงในปีนี้ ขณะที่แรงกดดันด้านอุปทานก็เริ่มคลี่คลายลง ทำให้แม้เงินเฟ้อจะอยู่ในระดับสูงกว่ากรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยมองว่า ธปท. จะทยอยเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยนโยบายครั้งละ 25bps จนแตะระดับ 2.00% ได้ในปีหน้า

สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท มีโอกาสผันผวนฝั่งอ่อนค่าตามการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ และควรระวังแรงขายทำกำไรสินทรัพย์เสี่ยงและสกุลเงินฝั่งเอเชียในระยะสั้น

TOP หุ้น การลงทุน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ