ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) รายงานว่าค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 33.70 แข็งค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ระดับ 33.82 บาท/ดอลลาร์ มองกรอบค่าเงินบาทวันนี้ เคลื่อนไหวช่วง 33.50 - 34.00 บาท/ดอลลาร์ โดยค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากการประกาศตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐเมื่อวันศุกร์ออกมาสูงกว่าคาด
ราคาทองวันนี้ พุ่ง 100 บาท ตลาดมั่นไจเฟดชะลอขึ้นดอกเบี้ย
คาด กนง.ขึ้นดอกเบี้ยอีก หลังเงินเฟ้อไทยพุ่ง จำกัด Upside ตลาดหุ้นไทย
การเคลื่อนไหวค่าเงินบาทในรอบ 1 เดือน "มีทิศทางแข็งค่าต่อเนื่อง"
ขณะที่ค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยออกมาต่ำกว่าประมาณการ ทำให้นักลงทุนคาดว่าเงินเฟ้อได้ผ่านจุดสูงสุดแล้ว ซึ่งจะเป็นปัจจัยให้เฟดชะลอความร้อนแรงของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวสูงขึ้น
การเปิดประเทศของจีนก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สนับสนุนค่าเงินบาทให้แข็งค่า จากความคาดหวังว่าภาคการท่องเที่ยวจะเป็นพระเอกของไทยถึงแม้ภาคการส่งออกอาจได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจฝั่งอเมริกาและยุโรป
ในสัปดาห์นี้ตลาดคงให้ความสำคัญกับการประกาศตัวเลข Consumer price inflation ในวันพฤหัสนี้ และยังให้ควาทสนใจกับการประกาศผลประกอบการภาคเอกชนที่จะเริ่มทยอยประกาศออกมา
แนะนำผู้นำเข้าควรซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อป้องกันความเสี่ยง และผู้ส่งออก ขายเงินตราต่างประเทศที่ระดับเหนือ 34.00 บาท/ดอลลาร์
ในสัปดาห์นี้ เรามองว่า ทิศทางนโยบายการเงินเฟด ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญต่อตลาด โดยต้องติดตาม รายงานเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ และ ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด โดยเฉพาะประธานเฟด นายเจอโรม พาวเวลล์
ทิศทางนโยบายการเงินเฟดยังคงเป็นปัจจัยสำคัญต่อตลาดการเงินสหรัฐฯ ทำให้นักลงทุนรอประเมินรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ โดยเฉพาะ รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI เดือนธันวาคม โดยตลาดประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไป อาจชะลอลงสู่ระดับ 6.5% จากระดับ 7.1% ในเดือนก่อนหน้า ตามการปรับตัวลดลงของราคาพลังงาน, ปัญหา Supply Chain ที่คลี่คลายลง รวมถึงการปรับตัวลดลงต่อเนื่องของราคาสินค้าและบริการหลายรายการตามการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ
นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่รวมผลของราคาอาหารและพลังงาน ก็จะชะลอลงสู่ระดับ 5.7% จากระดับ 6.0% ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งภาพดังกล่าวอาจทำให้นักลงทุนสบายใจมากขึ้นว่า เงินเฟ้อสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัวลง จนอาจทำให้เฟดพิจารณาชะลอการขึ้นดอกเบี้ยในอนาคต เหลือ +0.25% (ลดลงจาก +0.50% ในการประชุมเดือนธันวาคม)
แต่นักลงทุนรอประเมินแนวโน้มการปรับนโยบายการเงินของเฟด ผ่านถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด โดยเฉพาะ ประธานเฟด Jerome Powell ซึ่งเรามองว่า หากในช่วงนี้ ตลาดการเงินเปิดรับความเสี่ยง (Risk-On) จากความหวังว่าเฟดจะชะลอการขึ้นดอกเบี้ย บรรดาเจ้าหน้าที่เฟดก็อาจพยายามปรับลดความคาดหวังดังกล่าวของนักลงทุน ด้วยการส่งสัญญาณย้ำจุดยืนว่า เฟดจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องและอาจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับสูงจนกว่าเฟดจะคุมปัญหาเงินเฟ้อได้สำเร็จ