ค่าเงินบาทวันนี้ เปิดตลาด "แข็งค่า" คาดเฟดชะลอขึ้นดอกเบี้ยฉุดดอลลาร์


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ 32.86 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่า” จากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ระดับ 32.98 บาทต่อดอลลาร์ กรอบวันนี้ที่ 32.75-33.00 บาท/ดอลลาร์

ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) รายงานว่าค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 32.86 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ระดับ 32.95 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินดอลลาร์ อ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตนิวยอร์กในวันศุกร์ (13 ม.ค.) หลังสหรัฐ
เปิดเผยตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่บ่งชี้ว่าเงินเฟ้อได้ผ่านจุดสูงสุดแล้ว คาดว่าจะส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

ราคาทองวันนี้ พุ่ง 100 บาท ต่างประเทศขึ้นแรง "แนวโน้มไปต่อยาว"

คริปโทฯ คัมแบ็ก? “บิตคอยน์” พุ่ง 20,000 ดอลลาร์ ตลาดหวังดอกเบี้ยลด

ขณะที่นักลงทุนเพิ่มคาดการณ์ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.25% ในการประชุมวันที่ 31 ม.ค.-1 ก.พ. ขณะเดียวกันดอลลาร์ยังถูกกดดันจากการแข็งค่าของเยน หลังจากมีรายงานว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีแผนทบทวนผลกระทบจากการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษในการประชุมนโยบายสัปดาห์หน้า

ทั้งนี้ จับตาการเปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีนประจำปี 2565 รวมทั้งตัวเลข GDP ประจำไตรมาส 4/2565 ในวันอังคารที่ 17 ม.ค. เวลา 09.00 น.ตามเวลาไทย

กรอบค่าเงินบาทวันนี้ คาดว่าเคลื่อนไหวที่ ระดับ 32.70- 33.00 บาท/ดอลลาร์ โดยในวันศุกร์ตลาดพันธบัตร มีกระแสเงินทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 3,836 ล้านบาท และนักลงทุนต่างชาติซื้อหุ้นสุทธิ 517 ล้านบาท

แนะนำ ผู้นำเข้าควรซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อป้องกันความเสี่ยง และผู้ส่งออก ขายเงินตราต่างประเทศที่ระดับเหนือ 33.20 บาท/ดอลลาร์

ด้านนายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่าสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น ท่ามกลางความหวังเฟดชะลอการเร่งขึ้นดอกเบี้ย หลังอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ ชะลอลงตามคาด

ในสัปดาห์นี้ เรามองว่า ควรติดตาม ผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ซึ่งอาจส่งผลให้ตลาดการเงินผันผวนได้ นอกจากนี้ ควรระวังความเสี่ยงจากประเด็นเพดานหนี้สหรัฐฯ (Debt Ceiling)

แม้ว่าเดือนธันวาคมจะเป็นช่วงที่ผู้คนมักจับจ่ายใช้สอยในช่วงเทศกาล แต่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่า ผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจอาจกดดันยอดค้าปลีก (Retail Sales) โดยเฉพาะในส่วนของยอดขายยานยนต์ หรือสินค้าคงทน อย่าง เฟอนิเจอร์ รวมถึง การปรับตัวลงของราคาพลังงานที่อาจกดดันยอดขายที่เกี่ยวกับพลังงานเช่นกัน จะทำให้โดยรวม ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ เดือนธันวาคม อาจหดตัว -0.9% จากเดือนก่อนหน้า

ทั้งนี้ ภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ และอัตราเงินเฟ้อที่ส่งสัญญาณชะลอตัวลงมากขึ้น ก็อาจทำให้บรรดาเจ้าหน้าที่เฟดเริ่มมีมุมมองสนับสนุนการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในอัตราลดลงเป็น +0.25% ในการประชุมครั้งถัดๆ ไป

นอกเหนือจาก รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ และถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด ปัจจัยการเมืองสหรัฐฯอาจส่งผลกระทบต่อตลาดการเงิน เนื่องจากหนี้สินของรัฐบาลสหรัฐฯ เสี่ยงที่จะแตะระดับเพดานหนี้ ในวันที่ 19 มกราคมนี้ ทำให้ล่าสุดรัฐมนตรีคลัง Janet Yellen (อดีตประธานเฟด) ได้ออกมาเรียกร้องให้สภาคองเกรสเร่งพิจารณาขยายเพดานหนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่สหรัฐฯ อาจผิดนัดชำระหนี้ (Default risk)

ในอดีตที่ผ่านมา ตลาดการเงินมักผันผวนและอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) หากเผชิญความเสี่ยงปัญหาเพดานหนี้สหรัฐฯ (Debt Ceiling) ซึ่งในภาวะดังกล่าว นักลงทุนมักเลือกเทขายสินทรัพย์เสี่ยง และเลือกที่จะถือทองคำ (หรือเงินเยนญี่ปุ่น) เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย

สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท เราประเมินว่า การแข็งค่าของเงินบาทอาจเริ่มชะลอลง และผันผวนอ่อนค่าลงได้บ้าง หากตลาดเผชิญปัจจัยเสี่ยงและเงินดอลลาร์พลิกกลับมาแข็งค่าขึ้น ทั้งนี้ เงินบาทยังคงมีแนวต้านสำคัญในช่วง 33.30-33.50บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับที่ผู้ส่งออกบางส่วนต่างก็รอทยอยขายเงินดอลลาร์ ส่วนผู้เล่นต่างชาติก็รอจังหวะเพิ่มสถานะ Short USDTHB ตามความหวังการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว

คอนเทนต์แนะนำ
ย้อนบทสัมภาษณ์ "ซาร่า" สามีเคยบอกขอเดิมพันทั้งชีวิตพิสูจน์คดี Forex-3D
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง คาดเปิดให้บริการมิ.ย.66

เลือกตั้ง2566_Bottom เลือกตั้ง2566_Bottom

เรื่องที่คุณอาจพลาด
วิดีโอยอดนิยม

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์


TOP หุ้น-การลงทุน

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ