ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ "อ่อนค่าเล็กน้อย" จากแรงซื้อคืนดอลลาร์


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 33.03 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงกับราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ 32.95 บาท/ดอลลาร์ กรอบค่าเงินบาทวันนี้ที่ 32.80- 33.15 บาท/ดอลลาร์

ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) รายงานว่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าเทียบกับเงินสกุลหลัก ตั้งแต่เมื่อเช้าวาน จากปัจจัยเรื่องความอ่อนไหวต่อการเจรจาเพื่อผ่านกฎหมายเพดานหนี้สาธารณะของสหรัฐอเมริกา อันเป็นความเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้ของสหรัฐฯ  และการคาดการว่า BOJ อาจจะขยายแบนด์ผลตอบแทนในการเทรดพันธบัตรต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม ดอลลาร์สหรัฐดีดตัวกลับมาแข็งค่าหลังแตะแนวรับที่ระดับ 32.71 บาท/ดอลลาร์ โดยมีแรงซื้อหนาแน่นในช่วงบ่าย โดยกลับมาเทรดเหนือ 33 บาท/ดอลลาร์ ในช่วงปิดตลาด

บาทแข็งหลุด 33 บาท/ดอลลาร์ หนุนเงินทุนไหลเข้าไทย ส่อง 21 หุ้นได้ประโยชน์

10 อันดับกองทุนทองคำผลตอบแทนสูงสุด "ทองราคาวิ่ง แต่ทำไมยังน่าสนใจ?"

 

การเคลื่อนไหวค่าเงินบาทในช่วง 5 วัน

นักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานและเงินเฟ้อของอังกฤษในสัปดาห์นี้ เพื่อดูทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ขณะที่คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปในปีนี้ 

แนะนำ ผู้นำเข้าควรซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อป้องกันความเสี่ยง และผู้ส่งออก ขายเงินตราต่างประเทศที่ระดับเหนือ 33.40 บาท/ดอลลาร์

กรุงศรีคาดเงินบาทสัปดาห์นี้ซื้อขายในกรอบ 32.50-33.30 แข็งค่ารอบ 10 เดือน

กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) มีมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า เงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 32.50-33.30 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทปิดแข็งค่าที่ 32.98 บาท/ต่อดอลลาร์ หลังซื้อขายในช่วง 32.93-33.69 บาท/ต่อดอลลาร์ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 10 เดือน เงินดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงินสำคัญในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยดัชนีดอลลาร์แตะระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือน ขณะที่ตลาดมั่นใจมากขึ้นว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)จะลดความแข็งกร้าวในการปรับขึ้นดอกเบี้ยหลังดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ทั่วไปเดือนธ.ค.ของสหรัฐฯลดลง 0.1% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปีครึ่ง และเมื่อเทียบปีต่อปี CPI ทั่วไปเพิ่มขึ้น 6.5% ซึ่งเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นต่ำสุดตั้งแต่เดือนต.ค. 64 หลังจากที่เพิ่มขึ้น 7.1% ในเดือนพ.ย. ขณะที่ CPI พื้นฐานที่ไม่รวมอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้น 5.7% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นน้อยสุดตั้งแต่เดือนธ.ค. 64 หลังจากเพิ่มขึ้น 6.0% ในเดือนพ.ย.

ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจจากฝั่งยุโรปที่แข็งแกร่งเกินคาดเพิ่มแรงกดดันต่อค่าเงินดอลลาร์อีกส่วนหนึ่ง ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อหุ้นและพันธบัตรไทยสุทธิ 10,480 ล้านบาท และ 18,990  ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่นับตั้งแต่ต้นปีเงินบาทแข็งค่ามากที่สุดในภูมิภาคในอัตรากว่า 4.5%

สถานการณ์ในสัปดาห์นี้ กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ กรุงศรี มองว่า ตลาดจะติดตามผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น(บีโอเจ) ขณะที่ผู้ร่วมตลาดคาดว่าบีโอเจอาจจะพิจารณาทบทวนนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากเป็นพิเศษ ผ่านการปรับมาตรการควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทน (Yield Curve Control) ในการประชุมวันที่ 17-18 ม.ค.

แม้การประกาศยกเลิก YCC ในรอบนี้ไม่ใช่สมมติฐานหลักของเราแต่ยอมรับว่ามีโอกาสมากขึ้นเพื่อปูทางสำหรับการปรับนโยบายเข้าสู่ภาวะปกติในอนาคต เนื่องจากเงินเฟ้อและค่าแรงในญี่ปุ่นอาจเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี กรณีที่บีโอเจไม่ปรับ YCC ในสัปดาห์นี้อาจทำให้เงินเยนพักตัวระยะสั้นได้ นอกจากนี้ ตลาดจะติดตามยอดค้าปลีกเดือนธ.ค.ของสหรัฐฯเพื่อประเมินทิศทางดอกเบี้ยเฟดต่อไป

สำหรับกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายและการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เราคาดว่ามีแนวโน้มผันผวนสูง โดยการแข็งค่าอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องของเงินบาทอาจมีแรงขายทำกำไรสลับกลับมาบ้าง อย่างไรก็ตาม ในภาพใหญ่ระยะกลางถึงยาวเราประเมินว่าเงินเฟ้อสหรัฐฯที่จะชะลอลง ความคาดหวังต่อการกลับทิศของนโยบายเฟด และการฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญของภาคท่องเที่ยว เป็นปัจจัยหนุนเงินบาทในปีนี้

คอนเทนต์แนะนำ
ตรวจหวย - ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 17 มกราคม 2566 ลอตเตอรี่ 17/1/66
LHFG กำไรสุทธิปี 2565 โต 14.1% ที่ 1,578 ล้านบาท
วาระ ครม.วันนี้หลายเรื่องกระตุ้นใช้จ่ายในประเทศ-ลดค่าครองชีพ

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์


TOP หุ้น-การลงทุน

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ