ค่าเงินบาทเปิดตลาด "แข็งค่า" ตลาดกังวลสหรัฐผิดนัดชำระหนี้ฉุดดอลลาร์


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 32.86 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่า” จากระดับปิดวันก่อนหน้าที่ 33.05 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบวันนี้ที่ 32.75-33.15 บาท/ดอลลาร์

แนวโน้มค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ได้รับอานิสงส์จากเงินดอลลาร์อ่อนค่าและโฟลว์ธุรกรรมขายทำกำไรทองคำ ขณะที่บรรยากาศในตลาดการเงินนั้นยังคงอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง โดยคาดว่าเงินบาทยังมีแนวโน้มผันผวนอ่อนค่า

นอกจากนี้ ยังคงเห็นการทยอยปิดสถานะ Short USDTHB ของผู้เล่นต่างชาติ ซึ่งส่วนหนึ่งได้สะท้อนผ่านแรงขายบอนด์ระยะสั้นอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 3 วันทำการที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติทยอยขายสุทธิบอนด์ระยะสั้น วันละไม่น้อยกว่า 6 พันล้านบาทโดยเฉลี่ย

ราคาทองวันนี้ ปิดตลาดขยับขึ้น 100 บาท นักลงทุนคาดเฟดชะลอขึ้นดอกเบี้ย

เศรษฐกิจ “ถดถอย” เวิลด์แบงก์ หั่นเป้า GDP โลก โตเหลือ 1.7% ต่ำสุดรอบ 30 ปี

 

 

 การเคื่อนไหวค่าเงินบาทในรอบสัปดาห์ค่อนข้างผันผวน

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่าสหรัฐรายงานยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรก (Initial Jobless Claims) รวมถึงยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานต่อเนื่อง (Continuing Jobless Claims) ได้ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 190,000 ราย และ 1,647,000 ราย ดีกว่าที่ตลาดคาดไว้มาก ทำให้นักลงทุนกังวลแนวโน้มธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง หากตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่งอยู่

นอกจากนี้ ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดต่างก็ยังคงออกมาสนับสนุนการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยของเฟด อาทิ Susan Collins มองว่าเฟดอาจปรับดอกเบี้ยนโยบายจนแตะระดับสูงกว่า 5% ได้ (จาก CME FedWatch Tool ผู้เล่นในตลาดยังคงมองว่า เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยจนแตะระดับ 5.00%)

ในฝั่งตลาดค่าเงิน แม้ตลาดจะอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง ทว่า เงินดอลลาร์กลับอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ทำให้ล่าสุด ดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ย่อตัวลงสู่ระดับ 102 จุด โดยนักลงทุนเลือกที่จะเข้าไปถือสินทรัพย์อื่นแทนการถือเงินดอลลาร์ เนื่องจากในช่วงนี้ เงินดอลลาร์อาจเผชิญปัจจัยกดดันจากปัญหาเพดานหนี้สหรัฐฯ (Debt Ceiling) ซึ่งสภาคองเกรสยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในการขยายเพดานหนี้ได้ เพิ่มความเสี่ยงที่รัฐบาลสหรัฐฯ จะผิดนัดชำระหนี้ในช่วงเดือนมิถุนายน

นอกจากนี้ แนวโน้มการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องของธนาคารกลางยุโรปและภาพรวมเศรษฐกิจที่ไม่ได้แย่มากตามที่ตลาดเคยประเมินไว้ ก็ยังเป็นปัจจัยช่วยหนุนเงินยูโร อนึ่ง

การอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ ท่ามกลางภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาดการเงิน ได้ส่งผลให้ ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ก.พ.) ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ทดสอบโซนแนวต้านแถว 1,930-1,940 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อีกครั้ง ซึ่งเรามองว่า การปรับตัวขึ้นใกล้โซนแนวต้านดังกล่าวของราคาทองคำ อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดต่างทยอยขายทำกำไรการรีบาวด์ของราคาทองคำ ซึ่งโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็มีส่วนช่วยให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงเมื่อคืนที่ผ่านมา

คอนเทนต์แนะนำ
KBANK กำไรสุทธิปี 65 ดิ่ง 6% เหตุตั้งสำรองสูง 5 หมื่นล้าน รับมือ ศก.ถดถอย
เปิดเช็กลิสต์ของไหว้ "ตรุษจีน 2567" ที่ต้องมี! พร้อมความหมายสุดมงคล

ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) รายงานว่าค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 32.88 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่ากว่าราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 33.02 บาท/ดอลลาร์ คาดการณ์ค่าเงินบาทวันนี้ เคลื่อนไหวในช่วง 32.75 - 33.00 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์ก  เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ หลังมีการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ จากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาฟิลาเดลเฟีย มีการเปิดเผยดัชนีภาคการผลิตในภูมิภาคมิด-แอตแลนติก อยู่ที่ระดับ -8.9 ซึ่งเป็นการหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5

นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกลดลง 1.1% ในเดือน ธ.ค. โดยได้รับผลกระทบจากยอดขายรถยนต์ที่ลดลง รวมทั้งการปรับตัวลงของราคาน้ำมันเบนซิน  นอกจากนี้ การผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยรวมของสหรัฐก็ลดลง 0.7% ในเดือน ธ.ค. เช่นกัน

แนะนำ ผู้นำเข้าควรซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อปิดความเสี่ยง และผู้ส่งออกแนะนำขายเงินตราต่างประเทศที่เหนือระดับ 33.20 บาท/ดอลลาร์

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP หุ้น การลงทุน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ