ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้อ่อนค่า จ่อแตะ 34 ตลาดคาดเฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ 33.90 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่า” จากระดับปิดวันก่อนหน้าที่ 33.82 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบวันนี้อยู่ที่ 33.75-34.00 บาท/ดอลลาร์

ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) รายงานว่าดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อ โดยตัวเลข CPI หรืออัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ม.ค 66 ออกมาขยายตัว 6.4% y-y สูงกว่าตลาดคาดว่าจะขยายตัว 6.2% y-yแต่ชะลอตัวลงจากระดับ 6.5% ในเดือน ธค. ขณะที่ Core CPI หรือ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารสดและพลังงาน) เดือน ม.ค. 66 ขยายตัว 5.6% y-y สูงกว่าตลาดคาดว่าจะขยายตัว 5.5% y-y แต่ลดลงจากเดือน ธ.ค 65 ที่ขยายตัว 5.7% 

ดร.ดอนเตือนดอกเบี้ยกนง.ไม่หยุดที่ 1.50% ขณะกูรูแนะลงทุนตราสารหนี้

ทีเอมบีธนชาติ ปักหมุด 3 กลยุทธ์ปี 66 หวังก้าวสู่ Top 3 Digital Banking Platform

 

การเคลื่อนไหวค่าเงินบาท "อ่อนค่าต่อเนื่อง"

ทำให้ยังคงมีการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยยังมีอยู่อย่างต่อเนื่องจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงมาใกล้เคียงกับเป้าหมายที่เฟดตั้งเป้าไว้ที่ 2% ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของเจ้าหน้าที่เฟดสาขาต่างๆ ที่ออกให้ข้อมูลก่อนหน้านี้ว่ายังมีความจำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ นอกจากนี้ ที่นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงยอดค้าปลีกและการผลิตภาคอุตสาหกรรม

แนะนำผู้นำเข้าควรซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อปิดความเสี่ยง และผู้ส่งออกแนะนำขายเงินตราต่างประเทศที่เหนือระดับ 34.20 บาท/ดอลลาร์

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ เคลื่อนไหวผันผวน โดยดัชนี Dowjones ปรับตัวลงราว 0.46% ส่วนดัชนี S&P500 ปิดตลาด 0.03% ท่ามกลางความกังวลแนวโน้มเฟดอาจจำเป็นต้องเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง หลังรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ ในเดือนมกราคม กลับไม่ได้ชะลอลงตามที่นักลงทุนคาดการณ์

อัตราเงินเฟ้อทั่วไป Headline CPI ชะลอลงเล็กน้อยสู่ระดับ 6.4% (ตลาดคาด 6.2%) ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมผลของราคาอาหารและพลังงาน Core CPI ก็ชะลอลงไม่มากสู่ระดับ 5.6% จากตลาดคาด 5.5% ซึ่งภาพดังกล่าวทำให้นักลงทุนเชื่อว่า เฟดมีโอกาสราว 52% ที่จะขึ้นดอกเบี้ยจนแตะระดับ 5.50% ในการประชุมเดือนมิถุนายน
 
ส่วนทางด้านตลาดบอนด์ ผู้เล่นในตลาดเริ่มปรับมุมมองว่า การขึ้นดอกเบี้ยของเฟดอาจต้องดำเนินต่อไปจนอาจแตะจุดสูงสุดที่ 5.50% หลังอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ ไม่ได้ชะลอตัวลงชัดเจนอย่างที่คาดหวัง ส่งผลให้บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องใกล้ระดับ 3.75%

ส่วนเงินดอลลาร์เคลื่อนไหวผันผวน ก่อนที่จะปรับตัวแข็งค่าขึ้นเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยล่าสุด ดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ได้ปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ 103.3 จุด ตามการปรับมุมมองของนักลงทุนคาดหวังการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องของเฟด หลังอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ ไม่ได้ชะลอลงอย่างที่ตลาดคาดหวัง

นอกจากนี้ การปรับตัวขึ้นของทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ได้กดดันให้ ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย.) แกว่งตัวผันผวนหนัก ก่อนที่จะย่อตัวลงใกล้ระดับ 1,864 ดอลลาร์ต่อออนซ์
 
สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาท จะได้รับแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าต่อค่าเงินบาทจะยังคงมีอยู่ ท่ามกลางภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) ของตลาดการเงิน ซึ่งอาจทำให้นักลงทุนต่างชาติสามารถเดินหน้าขายสุทธิสินทรัพย์ไทย ทั้งหุ้นและบอนด์ อย่างต่อเนื่องได้

ในเชิงเทคนิคัล เงินบาทได้อ่อนค่าทะลุเส้นค่าเฉลี่ย 50 วัน (สัญญาณ RSI และ MACD ต่างก็ชี้โอกาสอ่อนค่าต่อ) ทำให้ในระยะสั้น ค่าเงินบาทอาจอ่อนค่าต่อจนทดสอบโซนแนวต้านสำคัญแถว 34.00 บาทต่อดอลลาร์

คอนเทนต์แนะนำ
“เคอรี่ เอ็กซ์เพรส” พลิกขาดทุน 2,829.8 ล้านบาท ต้นทุนพุ่ง-เดินหน้าลดพนักงาน
สภาพอากาศวันนี้! ทั่วไทยอากาศแปรปรวน 47 จังหวัด ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง
“โต้ง มณเฑียร” อดีตมือกีต้าร์วง P.O.P เสียชีวิต คนบันเทิงโพสต์อาลัย

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP หุ้น การลงทุน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ