ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อ่อนค่า แนวโน้มแกว่งลงจากคาดการณ์ดอกเบี้ยเฟด


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 34.70 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 34.63 บาท/ดอลลาร์ มองกรอบเวันนี้ ที่ระดับ 34.50-34.80 บาท/ดอลลาร์

ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่าค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนในทิศทางอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ โดยดัชนี PMI ทั้งภาคการผลิตและภาคการบริการของสหรัฐที่ประกาศเมื่อคืนยังมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ โดย PMI ภาคการผลิตเดือนกพ.อยู่ที่ 47.8 ขณะที่  PMI ภาคบริการอยู่ที่ 50.5 ทำให้ตลาดยังคงกังวลต่อทิศทางการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยของเฟดจากตัวเลขที่แข็งแกร่งดังกล่าว 

ราคาทองวันนี้ ปิดตลาดขยับขึ้น 50 บาท จากดอลลาร์แข็งค่า

ราคาน้ำมันดิบจ่อขยับขึ้น จากความต้องการจากจีนพุ่งรับเปิดประเทศ

 

 

ค่าเงินบาทตั้งแต่ต้นสัปดาห์นี้อ่อนค่า

ตลาดรอดูรายงานของการประชุมเดือนกุมภาพันธ์ของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)ที่มีกำหนดเปิดเผยในวันนี้ โดยส่วนใหญ่คาดว่าจะมีความเห็นที่เข้มงวดและเป็นในทิศทางที่บ่งชี้ถึงนโยบายการเงินที่ตึงตัวต่อไป แม้ว่าเฟด จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมล่าสุดแค่ 0.25% ก็ตาม ทั้งนี้หากรายงานการประชุมมีทิศทางการผ่อนคลายนโยบายการเงิน ก็อาจทำให้ตลาดลดการถือครองเงินดอลลาร์ในระยะสั้นได้ 

สำหรับแรงกดดันด้าน Fund flow ต่อค่าเงินบาท แม้นักลงทุนต่างชาติยังขายสุทธิหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง แต่เริ่มมีแรงกลับเข้ามาซื้อพันธบัตร โดยต่างชาติขายสุทธิหุ้นเมื่อวานนี้ 4,247 ล้านบาท แต่ซื้อพันธบัตร 4,846 ล้านบาท  

คาดการณ์ค่าเงินบาทวันนี้จะมีความผันผวน และอาจจะเห็นแรงขายดอลลาร์มากขึ้นทั้งจากผู้ส่งออกและการซื้อทองคำเพื่อการเก็งกำไร  โดยมีแนวรับ/แนวต้านระยะสั้นที่  34.50/34.80 บาท/ดอลลาร์ 

แนะนำ ผู้ส่งออกควรขายเงินตราต่างประเทศเพื่อปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ระดับ 34.80 บาท/ดอลลาร์

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) ท่ามกลางความกังวลแนวโน้มการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) หลังจากรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการในเดือนกุมภาพันธ์ ออกมาดีกว่าคาด สะท้อนภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังคงสดใส

นอกจากนี้ ความกังวลดังกล่าวได้ส่งผลให้ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ พุ่งขึ้นแตะระดับ 3.95% (สูงสุดนับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนปีก่อนหน้า) สร้างแรงกดดันต่อหุ้นกลุ่มเทคฯ และหุ้นสไตล์ growth ทำให้ ดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ดิ่งลงแรง -2.50% ส่วนดัชนี S&P500 ปิดตลาด -2.00%

ค่าเงินเงินดอลลาร์เคลื่อนไหวผันผวน โดยมีจังหวะย่อตัวลงบ้าง จากการแข็งค่าขึ้นของเงินยูโร (EUR) และเงินปอนด์ (GBP) ตามการรายงานดัชนี PMI ฝั่งยุโรปที่ออกมาดีกว่าคาด ก่อนที่เงินดอลลาร์จะพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังนักลงทุนกังวลแนวโน้มการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยของเฟดตามรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าคาด

จาก CME FedWatch Tool ตลาดมองว่า เฟดมีโอกาสราว 28% ที่จะขึ้นดอกเบี้ยจนแตะระดับ 5.75% สูงขึ้นจาก 19% ในสัปดาห์ก่อนหน้า

นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังได้แรงหนุนจากความต้องการถือสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven asset) ท่ามกลางความกังวลว่ารัสเซียอาจใช้อาวุธนิวเคลียร์ในการทำสงครามรัสเซีย-ยูเครนได้

ล่าสุด ดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ได้ปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ 104.2 จุด ส่วนในฝั่งราคาทองคำ การปรับตัวขึ้นของทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ได้กดดันให้ ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย.) ยังไม่สามารถผ่านโซน 1,850 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และย่อตัวลงมาแกว่งตัวใกล้ระดับ 1,844 ดอลลาร์ต่อออนซ์ 

คอนเทนต์แนะนำ
เลือกตั้ง 2566 : ลือสนั่น! "บิ๊กตู่" ถือฤกษ์วันธงชัย คาดยุบสภา 15 มี.ค.นี้
ฆ่าอำพราง 3 ศพยัดใส่ท้ายรถทิ้งริมบึงจือแร นราธิวาส ยังไม่มีหลักฐานยืนยันตัวตน
สภาพอากาศวันนี้! เหนือ-อีสาน-ตะวันออก อากาศเย็นในตอนเช้า ใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

TOP หุ้น การลงทุน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ