รู้จัก Silicon Valley Bank เจาะสาเหตุ "แบงก์ยักษ์ล้ม"


โดย PPTV Online

เผยแพร่




รู้จัก Silicon Valley Bank แบงก์ยักษ์อเมริกาล้ม เจาะสาเหตุ "แบงก์ยักษ์ล้ม" ปัญหาสภาพคล่อง?

ข่าวใหญ่ในแวดวงเศรษฐกิจการเงิน การธนาคาร นักลงทุนระดับโลก คือ การสั่งปิด ธนาคารซิลิคอน แวลลีย์ แบงก์ (Silicon Valley Bank) (SVB) หลังจากประสบปัญหาสภาพคล่อง และล้มเหลวในการขายหุ้นเพื่อเพิ่มทุนธนาคาร จนทำให้ลูกค้าต่างพากันแห่ถอนเงินฝาก

คอนเทนต์แนะนำ
หน่วยงานกำกับดูแลสหรัฐฯ สั่งปิด “ธนาคารซิกเนเจอร์” เป็นรายที่ 3
สหรัฐฯ สั่งปิดธนาคาร Silicon Valley Bank หลังเผชิญปัญหาสภาพคล่อง
วิกฤตแบงก์สหรัฐฯเจ๊ง โบรกฯประเมิน 5 ผลกระทบ คาดหุ้นไทยผันผวนแนะถือเงินสด 10 –20%

โดยล่าสุด ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศว่า เฟดจัดตั้งโครงการ "Bank Term Funding Program" เพื่อปกป้องสถาบันการเงินต่าง ๆ ไม่ให้ได้รับผลกระทบจากการล้มละลายของ SVB 

ด้านกระทรวงการคลังสหรัฐ ยืนยันว่า ประชาชนที่ฝากเงินไว้ที่ธนาคาร SVB และธนาคารซิกเนเจอร์ แบงก์ (Signature Bank) ในรัฐนิวยอร์กซึ่งถูกสั่งปิดไปแล้วนั้น ยังสามารถเข้าถึงเงินฝากของตนได้เต็มจำนวน โดยจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันจันทร์ที่ 13 มี.ค.เป็นต้นไป

มาทำความรู้จัก ธนาคารซิลิคอน แวลลีย์ แบงก์ (Silicon Valley Bank ) (SVB)  

เป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองซานตาคลารา รัฐแคลิฟอร์เนีย SVB เป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดอันดับที่ 16 ในสหรัฐอเมริกา  โดย Silicon Valley Bank ก่อตั้งโดย Bill Biggerstaff อดีตผู้จัดการของ Bank of America เมื่อปี  2526 ในฐานะบริษัทในเครือของ Silicon Valley Bancshares (ปัจจุบันคือ SVB Financial Group) โดยมีนักลงทุนเริ่มต้น 100 ราย 

ในปี พ.ศ. 2529 SVB และ National InterCity Bancorp ได้ควบรวมกิจการ และมีการเปิดสำนักงานในซานตาคลารา เปิดสำนักงานแห่งแรกบนชายฝั่งตะวันออกในปี 2533 ใกล้กับบอสตัน ในช่วงปีแรกธนาคารทำธุรกิจสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ในสัดส่วน 50% ก่อนที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์จะตกต่ำส่งผลให้ธนาคารขาดทุน 2.2 ล้านดอลลาร์ในปี 2535 และในปี 2538 เปอร์เซ็นต์พอร์ตการลงทุนลดลงเหลือ 10% 

ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ การเงินปี 2550-2551 SVB Financial Group ได้รับเงินลงทุน 235 ล้านดอลลาร์จากรัฐบาลกลางเพื่อแลกกับหุ้นบุริมสิทธิ์และใบสำคัญแสดงสิทธิภายใต้โครงการบรรเทาสินทรัพย์ที่มีปัญหา (TARP)

คอนเทนต์แนะนำ
คลัง-แบงก์ชาติ จับตา SVB ล้มใกล้ชิด ย้ำยังไม่กระทบไทยโดยตรง
ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างเร็ว จากปิดแบงก์ SVB กดค่าเงินดอลลาร์
เช็กสิทธิ “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565 ” ขอสิทธิค่าไฟฟ้า-ค่าน้ำ ต้องลงทะเบียนใหม่ทุกคน

ช่วงสองปีที่ผ่านมา บริษัทได้จ่ายเงินปันผลจำนวน 10 ล้านดอลลาร์ให้แก่กระทรวงการคลังของสหรัฐฯ จากนั้นจึงใช้เงินที่ได้จากการขายหุ้นมูลค่า 300 ล้านดอลลาร์เพื่อซื้อคืนดอกเบี้ยของรัฐบาลGreg Becker แทนที่ Wilcox เป็น CEO ในเดือนเมษายน 2554

ในปี 2558 ให้บริการสตาร์ทอัพทั้งหมดในสหรัฐอเมริกา (65%)

ข้อเสนอใหม่ในเวลานั้นรวมถึงสินเชื่อร่วมและการจัดการสกุลเงินต่างประเทศ และโดดเด่นในฐานะสถาบันการเงินแห่งเดียวของสหรัฐที่ทำงานกับสตาร์ทอัพและเงินดิจิทัล SVB เป็นพันธมิตรทางการเงินระหว่างการเปิดตัวแพลตฟอร์ม Atlas ของ Stripe ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 เพื่อช่วยให้สตาร์ทอัพลงทะเบียนเป็นบริษัทในสหรัฐฯ

ด้าน ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ KKP Research บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวในบทความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า มีข่าวตื่นเต้นในวงการธนาคาร เมื่อ SiliconValleyBank ธนาคารชื่อดังย่าน Silicon Valley ที่เป็นธนาคารหลักของ venture capital และ /startup หลายแห่ง ออกมาบอกนักลงทุนว่าไตรมาสก่อน ได้ขายพันธบัตรไป 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ จนทำให้เกิดผลขาดทุนจากการขายตราสารหนี้ไป 1.8 พันล้านเหรียญ และต้องขายหุ้นเพิ่มทุน 2.25 พันล้านเหรียญ

ทำเอานักลงทุนตกอกตกใจจนหุ้นธนาคาร Silicon Valley ร่วงไปกว่า 60% เกือบทันที และหลังปิดตลาดลงไปอีก 20% และคนฝากเงินเริ่มหวั่นไหวแห่กันถอนเงินออก และล่าสุดถูกทางการเข้าควบคุมเรียบร้อยแล้ว  เรียกว่าปัญหาสองวันจบ

ที่น่าสนใจคือ ธนาคารซิลิคอน แวลลีย์ แบงก์ เป็นธนาคารที่ได้ชื่อว่าค่อนข้างระมัดระวังในการบริหาร มีสินทรัพย์สภาพคล่องอยู่ค่อนข้างมาก ครึ่งหนึ่งของสินทรัพย์เป็นการลงทุนในตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรรัฐบาล หรือ mortgage backed securities มีเงินสินเชื่อแค่หนึ่งในสาม NPL ค่อนข้างต่ำมาก (ต่ำกว่า 1%) และปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากคุณภาพสินทรัพย์แบบปัญหาธนาคารอื่นๆ

แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นเกิด จากการที่เงินฝากเริ่มลดลงหรือโตช้า เพราะ venture capital ทั้งหลายเริ่ม raise เงินยากขึ้น และกระแสเงินสดของ VC และบริษัท startup ซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคารเริ่มมีน้อยลงเพราะ cashburn

จนเริ่มมีปัญหาสภาพคล่อง จนต้องเริ่มขายสินทรัพย์สภาพคล่อง เช่น ตราสารหนี้ออกมา
และ ปัญหาใหญ่ อยู่ที่เจ้าตราสารหนี้พวกนี้ที่ได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา เพราะมูลค่าหรือราคาของตราสารหนี้แปรผกผันกับอัตราผลตอบแทน (yield) 

ลองนึกภาพ ถ้าพันธบัตรที่ออกมาเมื่อสองปีก่อน ให้ดอกเบี้ยแค่ 1% ที่ราคาหน้าตั๋ว 100 บาท เมื่อระดับอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นไปที่ 5% พันธบัตรที่ออกมาเมื่อสองปีก่อนย่อมไม่น่าสนใจ เมื่อเทียบกับพันธบัตรที่เพิ่งออกมา ราคาตลาดก็ต้องปรับลดลงต่ำกว่า 100 บาทแน่ๆ

โดยหลักการทางบัญชีแล้ว ธนาคารที่ถือตราสารหนี้เพื่อการลงทุนระยะยาว จะไม่บันทึกการปรับลดลงของมูลค่าตราสารหนี้จากการปรับผลตอบแทน เป็นการขาดทุนผ่าน income statement แต่จะเก็บไว้เป็น unrealized loss แทนเพราะถ้าเราถือพันธบัตรพวกนี้ไปจนครบกำหนดอายุของตราสาร มูลค่าก็จะกลับไปที่ราคา par เอง การขาดทุนนี้ก็จะค่อยๆหายไปเอง

แต่ปัญหาจะบังเกิด เมื่อธนาคารต้องขายตราสารหนี้พวกนี้ออกมาในเวลาที่ยังขาดทุนอยู่ เพราะจะต้องบันทึกการขาดทุนผ่าน income statement และอัตราส่วนทุนของธนาคาร ก็จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย จนทำให้ธนาคารต้องเร่งเพิ่มทุนอย่างที่เห็น

ปัญหาแบบนี้จะเกิดขึ้นกับธนาคารอื่นๆอีกหรือไม่ ⁉

ดร.พิพัฒน์ อธิบายว่า ข้อมูลที่เห็นคือธนาคารในสหรัฐทั้งกลุ่มมี unrealized loss สูงมากถึง 6 แสนล้านเหรียญ (ในขณะที่ทุนรวมของธนาคารมีมากกว่าสองล้านล้านเหรียญสหรัฐ) จนหุ้นในกลุ่มธนาคารร่วงกันระนาว

ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจจะเรียกได้ว่าเป็นปัญหาสภาพคล่องล้วนๆ (จากภาวะตลาดที่บริษัท startups ไม่สามารถหาเงินได้คล่องอย่างเดิม) จนเริ่มกระทบต่อสภาพคล่องของธนาคาร และถูกขยายผลจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้น ในขณะที่ต้นทุนทางการเงิน และสภาพคล่องเริ่มโดนถอนออกไป

ผมไม่คิดว่าประเด็นนี้จะกลายเป็นปัญหาเชิงระบบ  และธนาคารใหญ่ๆ คงไม่ได้มีปัญหาอะไรขนาดนี้ แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับธนาคารอื่นๆที่มีวิกฤตศรัทธา แต่ก็คงต้องจับตากันดีๆครับ เพราะภาวะแบบนี้อะไรก็เกิดขึ้นได้ครับ หวังว่าจะไม่ลามไปหาคนอื่นอีกนะครับ ที่แน่ๆทำเอาวงการ tech ที่โดนกระหน่ำอยู่แล้ว หวั่นไหวเลย
แต่อันนี้น่าจะเป็นคำตอบของคำถามว่า will the Fed break something?

คอนเทนต์แนะนำ
กรมอุตุฯ เตือน ฉ.8 “พายุฤดูร้อน” เช็กจังหวัดเสี่ยงฝนถล่ม 13-14 มี.ค.
แนะ "ยื่นอุทธรณ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565" ภายใน 1 พ.ค. 66
อาหารแก้เหน็บชา จากการขาดวิตามิน บำรุงเส้นประสาท อุดมสารอาหาร

PR-โปรแกรมผลบอล-2_B PR-โปรแกรมผลบอล-2_B
TOP หุ้น การลงทุน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ