โชว์ดอกเบี้ยเงินฝากใบบัญชี ได้เท่านี้… มีเงินต้นเท่าไหร่ ?


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ช่วงนี้เชื่อว่าเพื่อนๆ หลายคนที่ไถหน้าฟีดเฟซบุ๊ก หรือโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มต่างๆ อยู่จะต้องเจอกับโพสต์ที่แคปหน้าจอ “ดอกเบี้ยรับ” ที่ได้จากเงินฝากในบัญชีมาอวดกันแน่นอน แม้ว่าการอวดจะไม่ใช่ใครได้มากกว่ากัน แถมเป็นไปในทางหยิกแกมหยอกว่า... ดอกเบี้ยนี้ช่างต่ำเตี้ยเรี่ยดินเสียยิ่งนัก

วันนี้ PPTV จะพาไปหาคำตอบ และต่อไปเพื่อนคนในโซเชียลโพสต์ดอกเบี้ย เราจะรู้ได้เลยว่า เขามีเงินต้นในบัญชีประมาณเท่าไหร่กัน

คอนเทนต์แนะนำ
เปิดประวัติ "ปดิพัทธ์ - หมออ๋อง" รองประธานสภา คนที่ 1
เลื่อนไปไม่มีกำหนด! ประชุมร่วม "ก้าวไกล-เพื่อไทย"
6 สัญญาณ “มะเร็งลำไส้” พบอัตราสูง10:1แสนคน คาดเชื่อมโยงพฤติกรรมการกิน

สิ่งแรกที่ต้องเข้าใจก่อน คือ ดอกเบี้ยเงินฝาก ที่โพสต์โชว์กันในช่วงนี้ เป็นดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ ที่เราสามารถเบิกถอน สแกนใช้จ่ายได้ตลอด ไม่มีข้อบังคับผูกมัดว่าต้องฝากกี่เดือนกี่ปีถึงจะได้ดอกเบี้ย หรือเป็นบัญชีสามัญที่เราใช้กัน

ดังนั้น เงินฝากประเภทนี้ดอกเบี้ยจึงค่อนข้างต่ำเตี้ยเรี่ยดินเป็นปกติ เพราะในหลักการแบงก์ก็ไม่สามารถนำเงินที่ไม่รู้ระยะเวลาว่าจะฝาก-ถอนในระยะเวลาแค่ไหนไปต่อยอดได้อย่างเต็มที่

อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยเงินฝากประเภทนี้จึงอยู่ที่ราว 0.125% ไล่เรียงไปถึง 2% แต่เป็น 2% แบบมีเงื่อนไข เช่น วงเงินฝากส่วนที่เกิน 70,000 – 100,000 บาท ถึงจะได้อัตราดอกเบี้ย 2% จากนั้นส่วนที่เกินจะคิดดอกเบี้ยแค่ 0.8% ดังนั้นการดูดอกเบี้ยธนาคารจึงต้องดูเครื่องหมาย * เสมอว่าเงื่อนไขยิบย่อยเป็นอย่างไร

วันนี้เพื่อให้เข้าใจง่ายที่สุด ขอยกตัวอย่างที่ ค่าเฉลี่ยดอกเบี้ยเงินฝากที่ 0.5% ต่อปี

ถัดมาที่ต้องเข้าใจ คือ แม้ธนาคารจะบอกเราว่าดอกเบี้ยต่อปี แต่จริงๆ แล้วเขาคิดให้เราเป็นรายวัน ตามจำนวนวันที่ฝากไว้นั่นเอง จากนั้นจึงแบ่งจ่ายให้เราแบบครึ่งปี เราจึงมักเห็นการโพสต์ดอกเบี้ยกันในช่วงเดือนมิถุนายน หรือบางแห่งก็จ่ายทีเดียวช่วงธันวาคมของทุกปี

ตัวอย่างแรก หากเพื่อนๆ ฝากแบบเต็มปี นับ 1 มกราคม ช่วงปีใหม่ฝากเงินเข้าไป 10,000 บาททันที ไว้ในบัญชีออมทรัพย์ที่ได้ดอกเบี้ย 0.5% ต่อปี กรณีนี้ไม่ถอน ไม่ฝากเพิ่ม ทำให้ในเดือน มิ.ย. จะได้ดอกเบี้ยออกมาที่ = 24.79 บาท หรือถ้าจ่ายทีเดียวทั้งปีช่วงก็ได้อยู่ที่ราว = 50 บาท

สูตรการคิด : ดอกเบี้ยที่ได้รับ = [(เงินต้น x อัตราดอกเบี้ย (%) x จำนวนวันที่ฝากในงวดนั้น) / จำนวนวันทั้งปี]

รู้จัก “กองทุนรวม” ทางเลือกสร้างความมั่งคั่งทางการเงิน

เริ่มต้น ชีวิตมนุษย์เงินเดือน 5 เรื่องต้องรู้เพื่อบริหารการเงิน

อีกเรื่องที่ต้องเข้าใจ ชีวิตประจำวันของเราๆ บัญชีออมทรัพย์หลายคนเอาไว้ใช้จ่าย มีการเงินเข้าออกตลอดเวลา วิธีการคำนวนจึงคล้ายกัน เพียงแค่คำนวณจากจำนวนวันที่ฝากไว้ เราก็นำจำนวนวันที่ฝากไปใส่ในสูตรคำนวณเดียวกันกับด้านบนนั่นเอง

ทำให้ยอดเงินที่เราเห็นอาจจะหลอกเราก็ได้ เช่น ดอกเบี้ย 0.95 บาท ไม่ถึงบาทนึงเลย ไม่ใช่ว่ามีเงินในบัญชีไม่ถึงหมื่น เพียงแต่เขาอาจจะพึ่งนำเข้ามาฝากในบัญชีนี้เพียง 7 วัน ก่อนรอบการจ่ายดอกเบี้ยก็ได้เช่นกัน ฝาก 1-2 วัน แบงก์ก็คิดดอกเบี้ยให้เรา

หลายคนก็ตัดพ้อว่า... เอาจริงๆ ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์คนส่วนใหญ่ ได้รับดอกเบี้ยมายังไม่พอค่าชานมไข่มุก หรือหมูกระทะสักหนึ่งมื้อเลย

เรื่องนี้ให้ย้อนกลับไปดูว่าประเภทของเงินฝากที่เราเปิดไว้กับธนาคาร สถาบันการเงิน คือ "เงินฝากออมทรัพย์ทั่วไป" ตัวดอกเบี้ยย่อมไม่สูงมากนักเป็นเรื่องปกติ หากขยับไปที่การฝากประจำก็จะได้ผลตอบแทนที่มากขึ้น ด้วยวินัย กับ ระยะเวลาการฝากที่เป็นภาระผูกพัน ทำให้ผลตอบแทนก็ต้องมากขึ้นตามกันไปนั่นเอง

หากเพื่อนคนไหนหวังสร้างความมั่งคั่งในยุคเงินเฟ้อข้าวของแบบนี้ จะพึ่งเงินฝากอย่างเดียวคงเป็นไปไม่ได้ ควรหาสินทรัพย์การลงทุนอื่นที่ให้ผลตอบแทนมากขึ้น เช่น กองทุนรวม หุ้นกู้ หุ้น ประกัน หรือการออมทอง มาแบ่งสรรปันส่วนไว้ในพอร์ตการลงทุนของเพื่อนๆ ควบคู่กับการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้ผลตอบได้มากขึ้น

ส่วนเทคนิคจัดพอร์ตลงทุนดีๆ ทำอย่างไรไว้ตอนหน้า ทีมงาน PPTV จะมาเล่าให้ฟัง

คอนเทนต์แนะนำ
เปิดสถิติวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย หลังพ่าย เนเธอร์แลนด์ ศึกเนชั่นส์ ลีก
ปฏิทินวันหยุดเดือนกรกฎาคม 2566 เช็กเลยวันที่ 31 ก.ค. หยุดไหม
เปิดสถิติหวยออกประจำปี 2566

TOP หุ้น การลงทุน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ