ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ เนื่องจากนักลงทุนเทขายดอลลาร์ออกมาอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยุติวงจรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังจากที่ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 11 ครั้งนับตั้งแต่ที่เริ่มวัฎจักรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. 2565 ส่งผลให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรวม 5.25%
นายกฯ นัดแถลงแก้ปัญหา “หนี้นอกระบบ” 28 พ.ย. นี้
รู้วันโอนเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท พร้อมวิธีเช็กเข้าบัญชี
“เศรษฐา” ห่วงจีดีพีไทยไตรมาส 3 โตต่ำกว่าคาด ยันจะพยายามทำให้ดีขึ้น
ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนคาดว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมเดือนธ.ค. 2566, ม.ค. 2567 และมี.ค. 2567 ก่อนที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.00-5.25% ในการประชุมเดือน พ.ค. 2567
ตลาดจับตาการเปิดเผยรายงานการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ประจำวันที่ 31 ต.ค.-1 พ.ย. ในวันนี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด
เมื่อวานนี้ (20 พ.ย.66) นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตร 1,382 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1,405 ล้านบาท
โดยมองกรอบค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในช่วง 34.95 - 35.25 บาท/ดอลลาร์ แนะนำผู้นำเข้า แนะนำควรซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อปิดความเสี่ยง และผู้ส่งออก แนะนำขายเงินตราต่างประเทศที่เหนือระดับ 35.50 บาท/ดอลลาร์
กรอบค่าเงินวันนี้
- USD/THB 34.95 - 35.25
- EUR/THB 38.20 - 38.70
- JPY/THB 0.2350 - 0.2390
- GBP/THB 43.70 - 44.20
- AUD/THB 22.90 - 23.20
กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 34.85-35.50 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับในสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทปิดแข็งค่าที่ 35.12 บาท/ดอลลาร์ หลังซื้อขายในช่วง 35.10-36.15 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทพลิกกลับมาแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 2 เดือนครึ่ง เงินดอลลาร์อ่อนค่าเทียบกับทุกสกุลเงินสำคัญในสัปดาห์ที่ผ่านมา
ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ(บอนด์ยิลด์)เคลื่อนไหวผันผวนสูงตามข้อมูลเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภค(CPI)เดือนตุลาคมของสหรัฐฯชะลอตัวลงมากกว่าที่นักลงทุนคาดไว้ โดย CPI เพิ่มขึ้น 3.2% ขณะที่ราคาน้ำมันลดลง ส่วน CPI พื้นฐานเมื่อเทียบรายปีเพิ่มขึ้น 4.0% ซึ่งเป็นอัตราต่ำสุดในรอบ 2 ปี และองค์ประกอบต่างๆของตัวเลขเงินเฟ้อสนับสนุนมุมมองที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)จบรอบการขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้ว ทำให้ดัชนีดอลลาร์หลุดระดับ 104 ในวันที่ประกาศตัวเลข CPI และดิ่งลงมากที่สุดในวันเดียวเมื่อคิดเป็นเปอร์เซนต์นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2565 นอกจากนี้ ยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์บ่งชี้ว่าตลาดแรงงานลดความร้อนแรงลง อย่างไรก็ดี ยอดค้าปลีกเดือนตุลาคมแข็งแกร่งเกินคาด
สำหรับปัจจัยในประเทศ จีดีพีไตรมาส 3/66 เติบโตเพียง 1.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งย่ำแย่กว่าที่ตลาดคาดไว้ โดยสภาพัฒน์ประเมินว่าในปี 2566 นี้ เศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 2.5% ทางด้านกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายเราตั้งข้อสังเกตว่ายังไร้ทิศทางชัดเจนในระยะนี้แม้ตลาดคาดการณ์มากขึ้นเกี่ยวกับการลดดอกเบี้ยของเฟดในช่วงครึ่งแรกของปี 2567
รู้วันโอนเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท พร้อมวิธีเช็กเข้าบัญชี
อัปเดต! ปฏิทินวันหยุด 2567 เช็กวันหยุดราชการ-วันหยุดธนาคาร
เช็กสถิติบอลไทย พบ สิงคโปร์ ก่อนดวลฟุตบอลโลก 2026 โซนเอเชีย