ผู้เสียหายสงสัย ข้อมูลหลุดจากธนาคาร ต้นเหตุถูกแฮ็กเงินในบัญชี


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กรณีผู้เสียหายกว่า 19 คน ถูกหลอกให้กรอกข้อมูลจนถูกแฮ็กบัญชี สูญเงินกว่า 1.9 ล้านบาท รวมตัวเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รับเป็นคดีพิเศษ เพราะแม้แจ้งธนาคารให้ทราบ และแจ้งความตำรวจไว้ แต่เงินที่ถูกแฮ็กยังไม่ได้รับกลับคืน ผู้เสียหายตั้งข้อสังเกตข้อมูลหลุดจากธนาคารหรือไม่ เพราะช่วงเวลาข้อความจากมิจฉาชีพมาใกล้เคียงกับช่วงทำธุรกรรมกับธนาคารเสมอ

“หนังสือ” บทสะท้อนเยาวชน ตื่นตัวการเมือง

"เวอร์จิน กาแลกติก" ทดสอบเครื่องบินอวกาศ เตรียมรับผู้โดยสารจริงปี 2021

เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลักฐานเอกสารเงินที่ถูกถอนออกจากบัญชีไป จากกลุ่มผู้เสียหายกว่า 19  คน ถูกกลุ่มมิจฉาชีพหลอกให้กรอกข้อมูลธุรกรรม และถูกแฮ็กเงินไปจากบัญชี รวมเป็นกว่า 1.9 ล้านบาท และมีการแจ้งความตำรวจไว้ทั้งหมดแล้ว

โดยหนึ่งในตัวแทนผู้เสียหาย  คือ นายธนวัฒน์ แสงเพ็ชร ชายวัย 23 ปี เล่าให้ทีมข่าวฟังว่า ตนโทรไปหาคอลเซ็นเตอร์ของธนาคารไทยพาณิชย์ ในวันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม เวลา 16.26 น. เพื่อเปลี่ยนข้อมูลบัตรเครดิตเท่านั้น แต่ในเวลา 17.04 น. มีข้อความส่งจากชื่อ อินโฟ “Info” เข้ามาในโทรศัพท์เพื่อให้กดอัปเกรด โปรดอัปเกรดทันที จึงกดเข้าไปตามลิงก์ที่แนบมา คือ sc-bkk.com เนื่องจากเข้าใจว่าเป็นการให้กรอกข้อมูลยืนยันเพื่อเปลี่ยนที่อยู่ ถัดมาไม่ถึง 10 นาที ก็มีข้อความเข้ามาจากคอลเซ็นเตอร์ทางการขอธนาคาร ให้กรอกรหัส OTP ทั้งยังมีข้อความยืนยันการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ได้คุยกับคอลเซ็นเตอร์ข้างต้นจึงไม่ได้สงสัย แต่พอวันต่อมาในเวลา 12.35 น. เงินกลับถูกถอนออกไปกว่า 20,000 บาท เมื่อรู้ตัวก็ได้โทรไปหาธนาคาร แต่ก็ได้รับคำตอบเพียงให้ไปแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ จึงได้ไปแจ้งความที่ สน.เพชรเกษม

หนึ่งในข้อสังเกตของผู้เสียหายหลายคนที่ตรงกัน คือ ทำไมหลายคนมีข้อความเข้ามาหลังจากการทำธุรกรรมการเงินจากธนาคารก่อน แล้วในเวลาใกล้เคียงกันก็มีข้อความจากมิจฉาชีพเหล่านี้เข้ามาทันที ข้อมูลบัญชี  หลุดจากธนาคารหรือไม่  SMS ข้อความ หรือลิงค์ ของมิจฉาชีพ ที่ส่งมาให้กรอกข้อมูลจะมาหลังทำธุรกรรมจากธนาคาร และเงินจะถูกถอนผ่านตู้ ATM หรือ แอปพลิเคชัน

ทั้งนี้ไม่เพียงธนวัฒน์ ยังมีผู้เสียหายวัย 21 ปี ถูกแฮกถอนเงินจากระบบในรูปแบบใกล้เคียงกัน สูญเงิน 120,000 บาทที่ตนเก็บไว้เป็นค่าเทอมทางกลุ่มผู้เสียหายได้รวมตัวรวบรวมหลักฐานกันเอง พบว่า เงินถูกโอนไปยังบัญชีชื่อ “หานี่ฝ๊ะ” ชาวจังหวัดสงขลา และบัญชีชื่อ “จักรพงษ์” ชาวจังหวัดเพชรบุรี แต่เมื่อได้พูดคุยก็พบว่า นางสาวหานี่ฝ๊ะ และนายจักรพงษ์ เป็นผู้เสียหายเช่นเดียวกัน โดยมีเงินโอนเข้ามาหลายสิบครั้ง เพื่ออำพรางเส้นทางการเงิน และทันใดก็ถูกโอนต่อออกไปจนหมดบัญชี  กลุ่มผู้เสียหายจึงอยากให้ธนาคารออกมาดูแลลูกค้าบ้าง เพราะไม่เคยได้รับการตอบรับ หรือการช่วยเหลือใดๆ เลย รวมถึงขอให้เจ้าหน้าที่รับทำเป็นคดีพิเศษ

ขณะที่ ธนาคาร ได้ออกมาแจ้งเตือนว่า อย่าหลงเชื่อหรือให้ข้อมูลส่วนตัวใด ๆ เช่น เลขบัตรเครดิต, รหัส ATM หรือ รหัส PIN password ในการทำธุรกรรม เนื่องจากธนาคารไม่มีนโยบายส่ง SMS เพื่อให้ลูกค้ากรอกข้อมูลส่วนตัวแต่อย่างใด

โดยวิธีการสังเกตเบื้องต้นว่าอาจตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ดังนี้ ข้อความที่ส่งมามักไม่ระบุชื่อผู้รับว่าส่งถึงใคร จะใช้คำกลางๆ เช่น เรียนคุณลูกค้าที่เคารพ เรียนลูกค้าบัตรเครดิต ข้อความที่ส่งมาเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ซึ่งหากเป็นบริษัทของไทย แต่ทำไมถึงติดต่อกับลูกค้าคนไทยเป็นภาษาอังกฤษ ใช้ข้อความภาษาแปลก ๆ  ต้องให้ส่งอีเมลยืนยันตัวตน อ้างว่าติดต่อทางโทรศัพท์ไม่ได้ เนื้อหาข้อความที่ส่งมาจะเป็นข้อความดึงดูด เช่น ได้รับรางวัล ,จะไม่สามารถใช้งานระบบได้ ,ถูกฟ้องร้องโดนคดีความ

TOP อาชญากรรม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ