อีกด้านหนึ่งของ "อาร์เซ็ป" สินค้าไร้คุณภาพอาจทะลักเข้าไทยมากขึ้น


โดย PPTV Online

เผยแพร่




นักวิชาการห่วง สินค้าไร้คุณภาพ ไม่ตรงปก ทะลักเข้าไทยมากขึ้น หลังลงนาม อาร์เซ็ป แนะรัฐตั้งสถาบันทดสอบสินค้าจากต่างประเทศ ขณะที่ข้อดีหนุนส่งออกสินค้าเกษตรไทยให้โตมากขึ้นได้

เมื่อวันที่ 15 พ.ย.2563 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ลงนาม ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) เรียกสั้นๆ ว่า RCEP (อาร์เซ็ป) พร้อมกับสมาชิก 15 ประเทศ หลังจากมีการเจรจาหารือกันมายาวนาน ถึง 8 ปี ตั้งแต่เริ่มเจรจาเมื่อ พ.ค. 2556 นับเป็นการลงนามในข้อตกลงการค้าเสรี ( FTA) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งแน่นอนว่าในด้านการค้า การส่งออก การลงทุน ย่อมมีผลดีกับไทย แต่อีกด้านหนึ่ง รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ ม.หอการค้าไทย บอกกับ พีพีทีวี นิวมีเดีย บอกว่า

3 ผลพวงไทยร่วมลงนามอาร์เซ็ป

ไทยร่วมลงนามอาร์เซ็ป ปิดฉากเจรจายาวนาน 8 ปี ชี้ เป็นFTA ขนาดใหญ่

ประชาชนจะได้ซื้อสินค้าที่ถูกลง แต่สินค้าที่ถูก ก็พ่วงด้วยคุณภาพที่บางสินค้าอาจไม่มีคุณภาพ ซึ่งปัจจุบันก็เห็นอยู่แล้วสินค้าที่ถูกมาแต่ไม่มีคุณภาพ ดังนั้น ประเทศไทยจะต้องมีศูนย์ทดสอบ สถาบันทดสอบสินค้าที่จะเข้ามาในประเทศไทย เช่น เครื่องฟอกอากาศ มีการอ้างว่า สามารถฟอกอากาศได้ 99.99% แต่จริง ๆ เราไม่มีศูนย์ทดสอบ ว่า 99.99 % นี้มันเป็นจริงอย่างคำโฆษณาหรือเปล่า

“สินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เราเคยเห็นหม้อทอดไร้น้ำมัน ราคาไม่ถึงพัน เราไม่มีศูนย์ทดสอบ ซึ่งก็จะเป็นสินค้าราคาถูก แต่คุณภาพอาจจะต่ำลงไปด้วย”

ซึ่งการเข้าถึงสินค้าเหล่านี้มากขึ้นเพราะ การซื้อขายในรูปแบบ อีคอมเมิร์ซ จะกว้างมาก ขณะที่ไทยยังไม่ได้เป็นประเทศที่เก่งด้านอีคอมเมิร์ซ ดังนั้น รัฐบาลควรมีนโยบาย มาตรการกฎระเบียบดูแลสินค้าที่เข้ามาในประเทศไทยให้เข้มงวดขึ้น พร้อมกำหนดกฎระเบียบ กติกา ที่ดูแลสินค้าจากต่างประเทศให้เข้มงวดขึ้น 

โดยเฉพาะการตรวจสอบสินค้าที่นำเข้ามาภายใต้อาร์เซ็ป มีศูนย์ทดสอบ มีสถาบัน มีนักวิชาการที่เชี่ยวชาญ เข้ามาช่วยดูแล อาจจะตั้งเป็นคณะกรรมการดูแลสินค้า ดูแลว่าสินค้ามีคุณภาพหรือไม่มีคุณภาพ ตลอดจนการตั้งระเบียบกติกา ตั้งแต่การโพสต์สินค้าบนออนไลน์ที่ต้องเข้มงวดมากขึ้น

"ถามว่ากระทบผู้บริโภคยังไง หนึ่ง ราคาถูกลง แต่ผู้บริโภคอาจจต้องยอมรับคุณภาพสินค้าที่เข้ามาจากบางประเทศ"

ส่วนข้อดีจากการลงนาม อาร์เซ็ป แน่นอนในเรื่องการค้าคือจะส่งเสริมภาคการส่งออกสินค้าของไทย โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าสำคัญ เช่น  ยาง ผลิตภัณฑ์ยาง ผลไม้ เกษตรแปรรูป เนื้อหมู เนื้อไก่ มันสำปะหลัง จะเป็นโอกาสของประเทศไทยมากขึ้น ผลักดันตัวเลขส่งออกโดยรวมให้มีโอกาสขยายตัวได้มากขึ้น

แต่ขณะเดียวกัน สินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าจากต่างประเทศจะทะลักเข้ามามากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการทำธุรกิจไปถึงผู้ประกอบการรายย่อยขนาดกลาง ขนาดเล็ก เช่น SMEs

SMEs  ไทยในบางธุรกิจที่ไม่สามารถปรับตัวได้ เพราะสินค้าจาก 14 ประเทศจะเข้ามาในตลาดบ้านเรามากขึ้น แต่ถ้าผู้ประกอบการหรืออุตสาหกรรม SMEs ที่ปรับตัวได้ สร้างสินค้าที่มีมาตรฐาน ก็จะเป็นโอกาสที่ดีในการส่งออกได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน

ขณะที่ในส่วนของการลงทุน มองว่าจะเป็นการดึงดูดนักลงทุน 14 ประเทศ ให้เข้ามาในประเทศไทยมากกว่าที่ ไทยจะไปลงทุนในประเทศเหล่านั้น ซึ่งหากไทยไปลงทุนจริงอาจจะได้ผลน้อยกว่า

สำหรับการลงนาม RCEP (อาร์เซ็ป) ครั้งนี้ หลังจากมีการเจรจาหารือกันมายาวนาน ถึง 8 ปี ตั้งแต่เริ่มเจรจาเมื่อ พ.ค. 2556 นับเป็นการลงนามในข้อตกลงการค้าเสรี ( FTA) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

เนื่องจากมีประชากรชาติสมาชิกรวมกัน กว่า 2,200 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 30 ของประชากรโลก มีมูลค่า GDP กว่า 26.2  ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 817.7 ล้านล้านบาท) หรือประมาณร้อยละ 28.96 ของ GDP โลก และมีมูลค่าการค้ารวมกว่า 10.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ  (ประมาณ 326 ล้านล้านบาท) หรือคิดเป็นเกือบ 28% ของมูลค่าการค้าโลกในความตกลง RCEP (อาร์เซ็ป) นั้นคลอบคลุมทั้งหมด 20 บท

ห่วงเทคโนโลยีดิจิทัลกระทบภาคเกษตรไทย

 

 

 

 

 

PR-โปรแกรมผลบอล-2_B PR-โปรแกรมผลบอล-2_B
TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ