กทม. ยอมรับ ไม่มีเงินจ่าย 8,000 ล้าน ค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กทม. ยอมรับ ไม่มีเงินจ่ายค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย 8 พันล้านบาท เตรียมขอสนับสนุนจากรัฐบาล เหตุสั่งให้ดำเนินการแบบไม่เก็บค่าโดยสาร

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง เริ่มเปิดปีหน้า “สำโรง-พัฒนาการ”

กทม. ยอมรับ ไม่มีเงินจ่ายค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย 8 พันล้านบาท เตรียมขอสนับสนุนจากรัฐบาล เหตุสั่งให้ดำเนินการแบบไม่เก็บค่าโดยสาร ขณะที่ BTSC ขู่หยุดวิ่งให้บริการ ส่อกระทบการเปิดส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต 16 ธันวาคมนี้

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร เปิดเผย ถึงความคืบหน้าการเตรียมความพร้อมเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต เต็มระบบ ว่า จากผลทดสอบการ เดินรถไฟฟ้าบีทีเอส ส่วนต่อขยาย ส่วนที่เหลือ จากสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ ถึง สถานีคูคต ไม่พบปัญหาแต่อย่างใด ซึ่งตามกำหนดเดิมจะเปิดให้บริการ วันที่ 16 ธันวาคมนี้ โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน

แต่อย่างไรก็ตาม อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด หรือ บีทีเอสซี ผู้รับจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงแบริ่งสมุทรปราการ และช่วงหมอชิต -สะพานใหม่-คูคต ได้ทำหนังสือทวงถามค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าซึ่งเริ่มทยอยเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันเป็นเงินกว่า 8,000 ล้านบาท หาก กทม.ไม่จ่ายบริษัท ขู่ว่าอาจจำเป็นต้องหยุดวิ่งให้บริการ ซึ่งยอมรับว่าขณะนี้ กทม.ไม่มีเงินจ่าย ต้องขอเงินสนับสนุนจากรัฐบาล เนื่องจากรัฐบาลมอบให้ กทม.รับผิดชอบเดินรถ และส่วนที่เปิดให้บริการไม่ได้เก็บค่าโดยสารแต่อย่างใด

ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า สำหรับความ คืบหน้าการทดสอบเดินรถไฟฟ้า สายสีทอง ระยะที่ 1 ช่วงสถานีกรุงธนบุรี-สถานีสำนักงานเขตคลองสาน เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สามารถเปิดให้บริการได้ตามกำหนดวันที่ 16 ธันวาคมนี้ แน่นอน โดยนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิด ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว กทม.ได้มอบให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ เคที ดำเนินการซึ่งไม่ได้ใช้งบประมาณของภาครัฐ แต่ใช้รายได้ล่วงหน้าจากการให้สิทธิพื้นที่โฆษณาบนรถไฟฟ้ามาลงทุนก่อสร้าง ซึ่งเป็นรูปแบบการแสวงหาความร่วมมือกับภาคเอกชน จึงทำให้โครงการแล้วเสร็จโดยเร็วและไม่ต้องรอกระบวนการวิธีงบประมาณ จากภาครัฐและทรัพย์สินในโครงการยังเป็นกรรมสิทธิ์ของ กทม. อีกด้วย

“รถไฟฟ้า” ปีนี้ที่รอคอย

 

 

 

 

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ