หุ้นไทย (18 พ.ย.63) ปิดการซื้อขาย 1,364.59 จุด เพิ่มขึ้น+14.78 จุด


โดย PPTV Online

เผยแพร่




หุ้นไทย (18 พ.ย.63) ปิดการซื้อขาย 1,364.59 จุด เพิ่มขึ้น+14.78 จุด (+1.09%) มูลค่าการซื้อขาย 66,934.72 ล้านบาท ( 16.49 น.)

ราคาทองวันนี้ – 18 พ.ย. 63 ปรับราคา 3 ครั้ง

ครม.เห็นชอบ สั่งจองซื้อวัคซีนโควิด 26 ล้านโดส เพื่อคนไทย 13 ล้านคน

หุ้นไทย (18 พ.ย.63) ปิดการซื้อขายเช้า 1,349.25 จุด ลดลง 0.56 จุด (-0.04%) มูลค่าการซื้อขาย 34,643.58 ล้านบาท (12.48 น.) นักลงทุนส่วนใหญ่ยัง Wait & See รอติดตามเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองที่แยกราชประสงค์ในช่วงบ่ายนี้ว่าจะบานปลายหรือไม่ หากบานปลายก็จะกดดันตลาดในช่วงที่เหลือของสัปดาห์นี้

นายพิชัย เลิศสุพงศ์กิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายการตลาด บล.ธนชาต กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้ชะลอตัวหลังจากขึ้นมาตอบรับความคืบหน้าวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ไปแล้ว โดยดัชนีฯขึ้นไปกว่า 12% นำโดยหุ้นที่ได้ประโยชน์จากความคืบหน้าวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ไม่ว่าจะกลุ่มท่องเที่ยว, โรงพยาบาล และสายการบิน เป็นต้น ซึ่งปรับตัวขึ้นเร็วไป

ดังนั้น เมื่อมีเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองในประเทศเกิดขึ้นจึงเกิดแรงขายทำกำไรออกมา และนักลงทุนส่วนใหญ่ยัง Wait & See รอติดตามเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองที่แยกราชประสงค์ในช่วงบ่ายนี้ว่าจะบานปลายหรือไม่ หากบานปลายก็จะกดดันตลาดในช่วงที่เหลือของสัปดาห์นี้

อย่างไรก็ดี ภาพระยะกลาง-ยาวจากความคืบหน้าวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 จะทำให้มุมมองทางเศรษฐกิจเปลี่ยนไป เพราะก่อนหน้านี้ทุกฝ่ายต่างวิตกสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ระลอก 2 ว่าอาจะทำให้การฟื้นตัวเศรษฐกิจล่าช้า เนื่องจากจะกระทบการส่งออกและการท่องเที่ยวมากด้วย แต่เมื่อวัคซีนคืบหน้า ภาพก็จะเปลี่ยนไป ขณะนี้คงต้องรอดูว่าวัคซีนนี้จะสามารถกระจายไปสู่คนในวงกว้างได้เร็วแค่ไหน

ด้านตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช่านี้ส่วนใหญ่เคลื่อนไหวในแดนบวกเล็กน้อย คล้ายกับตลาดหุ้นไทย เป็นลักษณะพักตัวบ้างหลังจากที่ขึ้นไปมากแล้ว ส่วนผลประกอบการงวดไตรมาส 3/63 ของบริษัทจดทะเบียนออกมาครบหดตัว 29.6% แต่ตลาดรับรู้ไปมากแล้ว ขณะนี้มองข้ามไปถึงปีหน้า และการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันนี้คาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และไม่น่าจะมี Surprise
แนวโน้มการลงทุนในช่วงบ่ายนี้ นายพิชัย กล่าวว่า ตลาดฯคงจะยัง Wait & See รอติดตามการชุมนุมทางการเมือง พร้อมให้แนวรับ 1,340-1,330 จุด ส่วนแนวต้าน 1,366 จุด

หุ้นไทย (18 พ.ย.63) แรงกดดันจากปัจจัยการเมืองเป็นหลัก พร้อมให้ติดตามการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันนี้ ขณะที่ดาวโจนส์โควิด-19 กลับมากดดันตลาดอีกรอบ

หุ้นไทย (18 พ.ย.63) แรงกดดันจากปัจจัยการเมืองเป็นหลัก พร้อมให้ติดตามการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันนี้ ขณะที่ดาวโจนส์โควิด-19 กลับมากดดันตลาดอีกรอบ

นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม รองกรรมการผู้อำนวยการสายงานวิจัย บล.เอเซีย พลัส กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้มีโอกาสปรับฐาน เล็งรับแรงกดดันจากปัจจัยการเมืองในประเทศเป็นหลัก หลังจากที่การชุมนุมทางการเมืองเมื่อวานนี้มีการปะทะกันเกิดขึ้น ทำให้เป็นปัจจัยที่ยังต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป และผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนงวดไตรมาส 3/63 ออกมาก็ต่ำกว่าคาดด้วย รวมถึงดัชนีฯได้ปรับตัวขึ้นไปมากแล้วในช่วงก่อนหน้านี้จาก Fund Flow ที่ไหลเข้ามา และเชื่อว่า Fund Flow คงจะชะลอหลังจากที่มีการเมืองในประเทศกดดัน

ด้านตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้เคลื่อนไหวทั้งในแดนบวก-ลบเล็กน้อยราว 0.3-0.5% พร้อมให้ติดตามการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันนี้ โดยคาดว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

พร้อมให้แนวนรับ 1,330 จุด ส่วนแนวต้าน 1,360 จุด

ขณะที่ ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (17 พ.ย.) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 29,783.35 จุด ลดลง 167.09 จุด (-0.56%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,609.53 จุด ลดลง 17.38 จุด (-0.48%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 11,899.34 จุด ลดลง 24.79 จุด (-0.21%) โดยปรับตัวลงหลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเดือนต.ค.ขยับขึ้นเพียง 0.3% ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.5% หลังจากพุ่งขึ้น 1.6% ในเดือนก.ย. โดยยอดค้าปลีกเดือนต.ค.ขยายตัวน้อยที่สุดในรอบ 6 เดือน เนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และจากการที่ภาคครัวเรือนมีรายได้ลดลง เนื่องจากชาวอเมริกันจำนวนมากประสบภาวะตกงาน

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเล็กน้อยเมื่อคืนนี้ (17 พ.ย.) ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวน เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากมาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 ขณะที่นักลงทุนจับตารายงานสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐในวันนี้

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 9 เซนต์ หรือ 0.2% ปิดที่ 41.43 ดอลลาร์/บาร์เรล

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนม.ค. ลดลง 7 เซนต์ หรือ 0.2% ปิดที่ 43.75 ดอลลาร์/บาร์เรล

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (17 พ.ย.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยรายงานยอดค้าปลีกที่ซบเซา อันเนื่องมาจากผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

นายกฯชิ่งสื่อ โยนโฆษกตอบคำถามแก้ รธน.-ต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

PR-โปรแกรมผลบอล-2_B PR-โปรแกรมผลบอล-2_B
TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ