“พาณิชย์” เร่งแก้ปัญหา ขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์-ค่าระวางเรือ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




จากกรณีที่ สภาผู้ส่งออกสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย หรือ สรท. มีข้อเสนอไปยังรัฐบาลให้เร่งแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และการปรับขึ้นค่าระวางเรือ จากสถานการณ์โควิด-19

บริษัทเจ้าของตู้คอนเทนเนอร์แจง กรณีถูกนำมาใช้สกัดผู้ชุมนุม

ตร.ทยอยเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์ เปิดทางจราจร

จากกรณีที่ สภาผู้ส่งออกสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย หรือ สรท. มีข้อเสนอไปยังรัฐบาลให้เร่งแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และการปรับขึ้นค่าระวางเรือ จากสถานการณ์โควิด-19 วันนี้นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ลงพื้นที่เพื่อเร่งแก้ไขปัญหานี้ ที่การท่าเรือแห่งประเทศไทย

ค่าระวางตู้คอนเทนเนอร์ ก็คือ ค่าใช้จ่ายในการบรรทุกสินค้าบนเรือ ซึ่ง ตอนนี้ ผู้ส่งออกของไทย กำลังต้องแบกรับ ราคาที่สูงกว่าปกติ เนื่องจาก สถานการณ์โควิดทำให้ตู้คอนเทนเนอร์ไปติดค้างตามโรงงาน หรือบริษัทที่ปิดกิจการ เพราะพิษโควิดทั่วโลก ซึ่งขณะนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ก็กำลังลงพื้นที่รับฟังปัญหาจากภาคเอกชน เพื่อจะดูว่ามีประเด็นใด ที่จะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายเอกชนได้บ้าง

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมท่าเรือคลองเตย กรุงเทพมหานคร พร้อมมอบแนวทางแก้ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และ ค่าระวาง หรือ ค่าใช้จ่ายในการบรรทุกสินค้าบนเรือ ที่สูงขึ้น เนื่องจาก ก่อนหน้านี้ ภาคเอกชน โดยเฉพาะสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย หรือ สรท. ออกมาระบุว่า จากสถานการณ์โควิด ทำให้ขั้นตอนในการส่งออก-นำเข้า สินค้าที่ใช้ตู้คอนเทนเนอร์ขนส่ง ต้องใช้ระยะเวลานานและจนเกิดปัญหาค่าระวางเรือที่แพงขึ้น

โดยสมาชิก ผู้ส่งออกหลายรายร้องเรียนมายัง สรท.ถึงปัญหาค่าระวางเรือที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งสายเดินเรือที่ไปสหรัฐ โดยปรับขึ้นมากกว่า 3 เท่า และยังพบว่าค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บบริเวณท่าเรือ ทั้งค่าบริการ ค่ายกตู้ ค่าเอกสาร ปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 10% เป็นภาระค่าใช้จ่ายของผู้ส่งออกที่เพิ่มขึ้น

ข้อมูลบางส่วน ยังระบุว่า ค่าระวางที่แพงขึ้นผิดปกติช่วงนี้ เกิดจากช่วงโควิดทำให้โรงงานสินค้าในหลายประเทศปิดโรงงาน ทำให้มีตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้ในการขนส่งสินค้าติดค้างในโกดังประเทศต่างๆทั่วโลก จึงเกิดการแย่งตู้คอนเทนเนอร์ในบริษัทขนส่งสินค้าเพื่อนำมาบริการสินค้าที่ใช้ในการส่งออก โดยสันนิษฐานว่า ราคาที่เพิ่มขึ้นน่าจะมาจาก ค่า Local change ที่ให้บริการโดย บริษัทนายหน้าโลจิสติกส์ ซึ่งทำหน้าที่ นำผู้ส่งออกและเจ้าของตู้คอนเทนเนอร์ มาเจอกัน

จึงเป็นที่มาในข้อเรียกร้องของภาคเอกชน ที่เสนอรัฐบาล เพื่อเร่งแก้ปัญหานี้ เบื้องต้น กระทรวงพาณิชย์จะเข้าไปช่วยเหลือผู้ส่งออก โดยในส่วนของค่าบริการภายในประเทศ (Local Charges) จะใช้พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 เข้าไปกำกับดูแล และขอให้คงอัตราค่าบริการภายในประเทศตามอัตราปี 2561 อัตราค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่ม (Surcharge) ขอให้เป็นไปตามค่าธรรมเนียมตลาดโลก แต่ต้องเป็นธรรม และห้ามมีการยกเลิกการจองตู้สินค้า ส่วนเรื่องการผูกขาดการค้าที่ไม่เป็นธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการจำกัดปริมาณตู้สินค้าที่มาจากสายการเดินเรือ ได้มอบให้ สขค. เข้าไปดูแล

เริ่มที่ อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหานี้ อาจจะเป็นเรื่องเร่งด่วน เพราะหากสามารถแก้ปัญหาได้เร็ว ก็จะเป็นผลดีต่อการส่งออกในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้

#รถติด ขึ้นเทรนมาแรงทวิตอันดับ 2

 

 

 

 

 

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ