รู้ไว้! ทำงานอย่างไร ไม่ให้ถูกนายจ้างเอาเปรียบ "แรงงาน" เปิดวิธีคำนวณเงินโอที แลกค่าล่วงเวลาเป็นวันหยุดไม่ได้


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ย้ำชัดค่าล่วงเวลาต้องจ่ายเป็นเงินเท่านั้น ไม่สามารถ แลกเปลี่ยนเป็นวันหยุดได้ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เปิดวิธีคำนวณค่าล่วงเวลาที่ถูกต้องตามกฎหมาย

จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ลุกลามทั่วโลกต่อเนื่องกว่า 1 ปี ส่งผลต่อสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก ประเทศไทยได้รับผลกระทบไม่น้อย รัฐบาลออกมาตรการชดเชย เยียวยาประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ แต่กลุ่มลูกจ้างเอกชน ผู้ใช้แรงงาน ที่เป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบในหลายมิติ ลดค่าจ้าง ลดค่าล่วงเวลา แต่กลับเป็นกลุ่มที่ถูกเพิกเฉยในการเยียวยา มีเพียงลดการจ่ายเงินสมทบประกันสังคมในช่วงเวลาสั้นๆเท่านั้น 

ทำงานไม่มีวันหยุด “ลูกจ้าง” ฟ้องศาลแรงงานได้

เครือข่ายแรงงานฯ เรียกร้อง เยียวยาประกันสังคมม.33  

นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวถึงกรณี ข่าวที่ปรากฏตามสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็น ค่าล่วงเวลาต้องจ่ายเป็นเงิน ไม่สามารถชดเชยเป็นวันหยุดได้ ซึ่งเป็นกรณีการตั้งประเด็นจากกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ลูกจ้าง ผู้ประกันตนม.33  ยืนยันว่า ข้อมูลที่ว่าไม่สามารถจ่ายค่าล่วงเวลาเป็นวันหยุดได้ดังกล่าวเป็นเรื่องจริง

ตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้กำหนดกรณีที่นายจ้างให้  ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา หรือ OT ในวันทำงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้าง เป็นเงินในอัตราไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้าง ต่อหน่วยในวันทำงาน ตามจำนวนผลงานที่ทำได้

สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดย คำนวณเป็นหน่วย และในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันหยุดให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดแก่ลูกจ้าง ในอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน ตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่า 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยใน  วันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้

ทั้งนี้ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน อยืนยันว่า การทำงานล่วงเวลาต้องจ่ายเป็นเงินเท่านั้น จะแลกเปลี่ยนเป็นวันหยุดเพิ่มเติม หรือวันหยุดสะสมไม่ได้

อธิบดี กสร. กล่าวเพิ่มเติมว่า หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับปัญหาด้านแรงงานสามารถสอบถามข้อมูลที่ถูกต้องได้ที่ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด หรือสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือโทร. สายด่วน 1506 กด 3 นอกจากนี้ ยังสามารถติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของกรม ได้ที่ www.labour.go.th 

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ