บี จิสติิกส์ คว้าโอกาสแตกไลน์ ลุย โซลาร์ฟาร์ม เมื่อโควิด-19 ทำพิษกระทบยอดธุรกิจขนส่ง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างในหลายธุรกิจ หนึ่งในนั้น คือ บี จิสติกส์ จํากัด (มหาชน) ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ ที่ต้องปรับกลยุทธ์ธุรกิจกันยกใหญ่ แต่ขณะเดียวกัน ก่อนหน้านี้ก็ได้แตกไลน์ไปสู่ธุรกิจด้านพลังงานทางเลือกอีกขาหนึ่งเช่นกัน โดยปักธงที่เวียดนาม กับการลงทุนผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์เพื่อขายให้กับรัฐบาลเวียดนาม

ดร.ปัญญา บุญญาภิวัฒน์ บี จิสติกส์ จํากัด (มหาชน) เปิดเผยถึง โอกาสใน "เวียดนาม" กับธุรกิจโซลาร์เซลล์ ว่า

กฟน.เปิดตัวโซลาร์เซลล์ขนาดใหญ่ประหยัดไฟปีละ 4 ล้านหน่วย

11 ธุรกิจ ฟื้นตัวเร็วที่สุด หลังโควิด-19

หากพูดถึงเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของ "เวียดนาม" นับว่ามาแรงมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นประเทศที่เนื้อหอมมากสำหรับนักลงทุน ทั้งองค์ประกอบด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจ การเมือง ล้วนเป็นผลคีต่อการลงทุนให้มีประสิทธิภาพทั้งสิ้น 

และ  บี จิสติกส์ ก็คือหนึ่งในนักลงทุนต่างชาติที่มองเห็นโอกาสนั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ การลงทุนโซลาร์ฟาร์ม เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้โซลาร์เซลล์ ซึ่งไม่เพียงองค์ประกอบทางเศรษฐกิจและการเมือง แต่ตามหลักภูมิศาสตร์และพื้นที่เวียดนามก็นับว่า "้เหมาะสมมาก" 

" โซลาร์ฟาร์มจำเป็นต้องใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ทำให้มีการศึกษาเรื่องของระยะเวลาการขึ้นและตกของแสงอาทิตย์ โดยในตอนกลางวันที่เป็นเวลาการผลิตกระแสไฟฟ้า ดวงอาทิตย์ควรต้องตั้งฉากหรือเกือบตั้งฉากกับพื้นที่ เพื่อใช้ความเข้มของแสงอาทิตย์ในการผลิตไฟฟ้าได้ดีกว่าที่อื่นๆ หรือในโซนประเทศอื่นๆ ที่มักโดนเมฆหมอกบังทิศทางของดวงอาทิตย์ ส่งผลให้ความเข้มของแสงในการผลิตไฟฟ้าไม่ดีเท่าที่ควรจุดได้เปรียบนี้จึงเลือกที่เวียดนาม "

โดยรูปแบบการลงทุน เป็นแบบร่วมทุนกับบริษัทของสิงคโปร์ รูปแบบบริษัทกิจการร่วมค้า (จอยเวนเจอร์) โดย บี จิสติกส์ มีสัดส่วนการถือหุ้นอยู่ที่ 40% บนพื้นที่ ในเมืองฮาติ๋น (Htainh) ทางใต้ของเวียดนาม มีสัญญาการผลิตไฟฟ้าอยู่ที่  29 เมกกะวัตตต์ต่อวัน ระยะเวลา 20 ปี ขายไฟให้กับรัฐบาลเวียดนามเพื่อจ่ายกระแสไฟภายในประเทศเวียดนาม โดยส่วนใหญ่เป็นไฟฟ้าที่ใช้ในครัวเรือน มีบางส่วนจ่ายให้กับโรงงานอุตสาหกรรม และสามารถรับรู้รายได้ตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม 2563  สร้างรายได้ให้บีจิสติกส์ ปีละ 20-30 ล้านต่อปี คิดเป็น สัดส่วน 40% ของ  บี จิสติกส์

ขณะเดียวกันยังได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเวียดนาม เนื่องจากความต้องการใช้ไฟฟ้าในเวียดนามที่สูงขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อเทียบกับการสร้างเขื่อน ตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน พลังงานก๊าซ ซึ่งต้องใช้เวลาก่อสร้าง การสร้างโซลาฟาร์มจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า รัฐบาลจึงสนับสนุนให้เอกชน หรือ นักลงทุนต่างชาติ สามารถไปลงทุนในโซลาฟาร์มเพื่อผลิตไฟฟ้าได้ตามความต้องการของประเทศ 

นอกจากนั้นแล้ว ดร.ปัญญา ยังมองถึงโอกาสต่อยอดและขยาย ธุรกิจสร้างแบตเตอรี่เพื่อกักเก็บพลังงาน ที่เหลือจากการผลิตในแต่ละวัน โดยเขาอธิบายว่า ราคาพลังงานตอนนี้มีแนวโน้มแพงขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นผลิตจากโรงไฟฟ้าประเภทใดก็ตาม ขณะเดียวกัน เมื่อผลิตแล้วอาจมีส่วนที่เหลือ และส่วนใหญ่ก็จะหายไป หากไม่ได้นำไปใช้ เช่น การผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนเมื่อน้ำที่ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้ามากเกินความต้องการ เขื่อนก็จะเอามวลน้ำกลับขึ้นไปหลังเขื่อนเพื่อนำมวลน้ำไปผลิตไฟฟ่ในวันต่อไป เรียกว่า การกักเก็บพลังงาน

ในต่างประเทศหลายๆ ประเทศจะกักเก็บพลังงานในช่วงที่ใช้ไฟน้อยๆ เช่น ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูใบไม้ร่วง แล้วนำไฟฟ้าไปแยกเป็นน้ำ ไฮโดรเจน ออกซิเจน จากนั้นนำออกซิเจนไปใช้อุตสาหกรรม ไฮโดรเจนกักเก็บไว้ผลิตไฟฟ้าในฤดูที่ใช้ไฟมากๆ เช่น ฤดูหนาว หรือ ฤดูร้อนก็ตาม

" โซลาร์เซลล์ในฤดูร้อนเราผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เยอะ แต่เรามีสิทธิ์ขายได้แค่ 29 เมกกะวัตต์ ส่วนที่เหลือมันก็ควรต้องกักเก็บ เผื่อบางวันผลิตได้น้อย หรือแสงแดดน้อยจะทำอย่างไร เพราะฉะนั้นพลังงานที่กักเก็บไว้ก็สามารถนำมาทดแทนได้ เพื่อให้ได้ไฟฟ้าในปริมาณที่สม่ำเสมอกับกำลังความต้องการในพื้นที่นั้นๆ "  โดยแผนดังกล่าววางแผนว่าหากสถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้นอาจมีการพูดคุยในอนาคต

สำหรับในเมืองไทย ดร.ปัญญา มองว่า ก็มีโอกาสไปได้ในธุรกิจกักเก็บพลังงาน เนื่องจากมองว่า ธุรกิจโซลาร์เซลล์ในไทยเริ่มอิ่มตัวสังเกตจากโครงการจากกระทรวงพลังงานเริ่มน้อยลง ราคาก็ถูกลง ตลาดต้องการมากขึ้น ส่วนหนึ่งต้องย้ายไปประเทศอื่นๆ เช่น เวียดนาม เพราะฉะนั้นการทำโซลาร์จะมองเฉพาะเรื่องของกำลังการผลิต กำลังการใช้งานแต่ละเดือนไม่ได้

ขณะที่ ความต้องการการใช้ไฟฟ้าของไทยจะเพิ่มมากขึ้นตามเทรนด์และแม้ว่าต้นทุนที่ถูกที่สุดคือพลังงานน้ำ แต่คงไม่สามารถสร้างเขื่อนได้เรื่อยๆ  ก็พยายามบาลานซ์ควบคู่กันไป บางพื้นที่อย่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เหมาะกับโซลาเซลล์ แต่ภาคใต้ไม่เหมาะสม ท้องฟ้าไม่โปร่ง   

ขณะที่ในอนาคต หวังว่ารัฐบาลอาจต้องเปิดโอกาสให้เอกชนโซลาร์ รูฟท็อป เช่น ติดตั้งบนอาคารต่างๆ ได้ พราะมีงานศึกษาจากมหาวิทยาลัยหลายแห่ง วิจัยแล้วว่า บ้านที่ก่อสร้างภายหลังปี 2535-2536 โครงสร้างของหลังคาบ้านต้องรองรับได้ระดับหนึ่ง และต้องหันหน้าไปทางทิศตะวันออกและทิศใต้ เหมาะสมกับการรับแสงแดดและการผลิตไฟฟ้าเพื่อให้เกิดการคุ้มค่าต่อการลงทุน ซึ่งอนาคตบ้านทุกหลังสามารถติดโซลาร์เซลล์ได้อีกก็ผลิตไฟฟ้าได้มหาศาล ถ้าทั้งประเทศ 40 ล้านครัวเรือนที่มีเลขที่บ้านก็จะลดการใช้ไฟฟ้าลงได้

 

PR-โปรแกรมผลบอล-2_B PR-โปรแกรมผลบอล-2_B
TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ