BTSC ฟ้อง รฟม.ล้มประมูล “รถไฟฟ้าสายสีส้ม”


โดย PPTV Online

เผยแพร่




บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ BTSC ได้ยื่นฟ้องผู้บริหาร รฟม. และผู้ที่เกี่ยวข้อง หลังประกาศล้มประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วงเงิน 1.28 แสนล้านบาท ที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ หลังเอกชนยื่นซองประมูล โดยศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง นัดฟังคำสั่งชั้นตรวจฟ้อง 15 มี.ค.นี้

BTS-BEM ยื่นซองประมูลชิง รถไฟฟ้าสายสีส้ม

รฟม.แจง เปลี่ยนเกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ปัดส่อทุจริต

จากกรณีปมปัญหาการล้มประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)  วงเงิน 1.28 ล้านบาท ล่าสุด ทนายความผู้รับมอบอำนาจจาก บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ได้ทำการยื่นฟ้อง ผู้บริหาร รฟม.และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ส่วนการก่อสร้างงานโยธาส่วนตะวันตก และการเดินรถไฟฟ้าตลอดเส้นทาง ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง

 ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,165 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172 ทั้งนี้ ศาลได้รับเป็นคดีหมายเลขดำที่ อท 30/2564 และนัดฟังคำสั่งในชั้นตรวจฟ้องวันที่ 15 มีนาคม 2564

ขณะที่นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม.  บอกว่า ยังไม่ทราบเรื่องการฟ้องร้องในกรณีนี้ ส่วนในระยะต่อไป จะคืนค่าใช้จ่าย การซื้อซองประมูลที่เอกชนจ่ายมาก่อนหน้านี้ และปลายเดือนจะเริ่มทำการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนมาประกอบการยกร่าง จากนั้นจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน หรือ ภายในเดือนมีนาคม 2564 เพื่อประชุมคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เพื่อนำเสนอร่างเอกสารเชิญชวนอีกครั้งหนึ่ง

“จิรายุ” แฉ “ปฏิบัติการ16 วันทันใจนาย” ล้มประมูลรถไฟฟ้า  

สำหรับกระบวนการศาล นายภคพงษ์ ยืนยันว่าจะดำเนินการแยกกัน เพราะถือว่า การประกาศยกเลิกการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มสามารถทำได้ตามอำนาจที่ระบุไว้ตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว

ขณะที่วันนี้ (23 ก.พ.)ได้มีการลงนามสัญญาร่วมลงทุนระหว่าง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. และบริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด หรือ NBM เพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี เพิ่มเติมช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี วงเงินลงทุน 4,000 ล้านบาท โดยแนวเส้นทางจะเชื่อมจากสีชมพูสายหลักที่สถานี ศรีรัช ก่อนเลี้ยวขวาวิ่งเข้าสู่พื้นที่เมืองทองธานี ตามถนนแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 39 เข้าสู่สถานี วงเวียนเมืองทอง และไปสิ้นสุดโครงการบริเวณทะเลสาบเมืองทอง ซึ่งใช้เวลาก่อสร้าง 37 เดือน แล้วเปิดให้บริการในปี 2567

เรื่องที่คุณอาจพลาด
วิดีโอยอดนิยม

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์


TOP เศรษฐกิจ

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ