ไทย ติดอันดับที่ 11 จาก 58 ประเทศ ผู้หญิงมีบทบาทในฐานะผู้นำทางธุรกิจ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ไทย ติดอันดับที่ 11 จาก 58 ประเทศ ผู้หญิงมีบทบาทในฐานะผู้นำทางธุรกิจ และอยู่ในลำดับที่ 6 ของอันดับด้านผลความก้าวหน้าของสตรี ซึ่งวัดความก้าวหน้าและระดับการยอมรับทางทัศนคติที่มีต่อสตรีในฐานะผู้นำทางธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบการ และแรงงานที่มีประสิทธิภาพและความสามารถในหน้าที่การงานและในระบบเศรษฐกิจ แต่อีกด้านหนึ่งกลับพบว่า ความก้าวหน้าของสตรีกำลังถดถอยลง

สตรีไทยจะต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายหลากหลายรูปแบบตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา แต่ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า สตรีเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับประเทศ และสตรีไทยเป็นเจ้าของธุรกิจในประเทศรวม 23.7 เปอร์เซ็นต์ 

“ยิ่งลักษณ์” ชู แนวคิดสตรีสากล ความเท่าเทียมเริ่มต้นจากรธน.ที่ยึดโยงกับปชช.

8 มีนาคม “วันสตรีสากล” รำลึกการเรียกร้องสิทธิ ความเท่าเทียมของผู้หญิง

ผลสำรวจจากดัชนีผู้ประกอบการสตรีของมาสเตอร์การ์ด (Mastercard Index of Women Entrepreneurs หรือ MIWE) ประจำปี 2563 เผยว่า ประเทศไทยติดอันดับที่ 11 จาก 58 ประเทศ ที่ได้รับการจัดอันดับ โดยมาจากการให้คะแนนตัวชี้วัดความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและโอกาสสำหรับสตรีในประเทศนั้นๆ เช่น ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 6 ของอันดับด้านผลความก้าวหน้าของสตรี (Women’s Advancement Outcome) ซึ่งวัดความก้าวหน้าและระดับการยอมรับทางทัศนคติที่มีต่อสตรีในฐานะผู้นำทางธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบการ และแรงงานที่มีประสิทธิภาพและความสามารถในหน้าที่การงานและในระบบเศรษฐกิจ

ขณะเดียวกัน สตรีในประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 11 ของการจัดลำดับด้านความรู้ (Knowledge Assets) และความสามารถในการเข้าถึงบริการทางการเงิน (Financial. Access) ซึ่งพิจารณาโอกาสของสตรีในการกู้ยืม และสะสมเงินเพื่อทำธุรกิจ ตลอดจนการสนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอี อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะอยู่ในอันดับต้นๆ ของผลสำรวจ ยังมีตัวชี้วัดบางตัวชี้ให้ว่า ยังมีศักยภาพที่ไม่ได้รับการพัฒนาหลงเหลืออยู่ในประเทศ

แต่ความก้าวหน้าของสตรีกำลังถดถอยลง

ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 35 ของการจัดอันดับด้วยตัวชี้วัดด้านการสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจ  (Entrepreneurial Supporting Conditions) สะท้อนให้เห็นว่า โครงสร้างเพื่อการสนับสนุนธุรกิจของสตรีในประเทศไทย ยังมีช่องว่างสำหรับการพัฒนา เพื่อก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้เกิดการมีส่วนรวมทางการเงิน

ผลสำรวจจากดัชนีผู้ประกอบการสตรีของมาสเตอร์การ์ด (Mastercard Index of Women Entrepreneurs หรือ MIWE) ล่าสุด ชี้ให้เห็นว่า ธุรกิจบางประเภทได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดและมีแนวโน้มจะเกิดการผันแปรมากกว่าธุรกิจอื่นๆ เช่น ธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก ที่พักอาศัย ร้านอาหาร อุตสาหกรรมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ธุรกิจด้านข้อมูลและการสื่อสาร

และ สามในสี่ของธุรกิจซึ่งมีผู้ประกอบการเป็นสตรี อยู่ในกลุ่มธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาด ในขณะที่ธุรกิจซึ่งมีผู้ประกอบการเป็นบุรุษ ได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่มธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์  ในเวลาเดียวกัน

ผลสำรวจจากองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) เผยว่า ธุรกิจเอสเอ็มอีทั่วโลกมากกว่าครึ่งจะไม่สามารถรอดพ้นจากสถานการณ์โรคระบาดในครั้งนี้ ในประเทศไทย เกือบ 40 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจเอสเอ็มอีเป็นธุรกิจที่มีการดำเนินการโดยผู้ประกอบการสตรี 

ดังนั้น การวางแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจที่มีแนวทางครอบคลุมการสนับสนุนธุรกิจและผู้ประกอบการสตรีนับเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการรักษาพนักงานและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ในระหว่างที่เรากำลังฟื้นตัวจากสถานการณ์โรคระบาด

เราทุกคนมีส่วนร่วมในการผลักดันความก้าวหน้าของสตรี

ความก้าวหน้าด้านเศรษฐกิจของสตรี ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สตรีเพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมอีกด้วย ธนาคารโลกเผยว่า ระบบเศรษฐกิจทั่วโลกสูญเสียเงินถึง 172 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ อันเนื่องมาจากความแตกต่างด้านรายได้ตลอดชีพระหว่างบุรุษและสตรี

ดังนั้น การพัฒนาโซลูชั่น การปรับใช้เทคโนโลยี และการนำความรู้ความเชี่ยวชาญมาประยุกต์ใช้เพื่อผลักดันให้สตรีและธุรกิจของผู้ประกอบการสตรีเข้ามามีบทบาทในระบบเศรษฐกิจมากขึ้นถือเป็นเรื่องสำคัญ สตรีอยู่ในกลุ่มเสี่ยงของผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากสถานการณ์โรคระบาด เวลานี้นับเป็นเวลาที่เราทุกคนควรจะรวมพลังเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเปลี่ยนความเสี่ยงให้กลายเป็นความยืดหยุ่น นับเป็นก้าวแรกของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้มีความมั่นคงและเอื้ออำนวยให้เกิดการมีส่วนร่วมมากขึ้นในอนาคต

‘โรคซึมเศร้า’ สาเหตุอันดับ 1 ความเจ็บป่วยและพิการของหญิงไทย

ขอบคุณภาพจาก  internationalwomensday

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ