ไทยผุดไอเดียรับนักท่องเที่ยว กักตัวบนเรือยอชต์ 14 วัน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สื่อต่างชาติตีข่าวไทยผุดไอเดียบริการกักตัว 14 วันบนเรือยอชต์สำหรับนักท่องเที่ยว

“อนุทิน” แจง 3 กรณีลดวันกักตัว เดินทางเข้าประเทศ เริ่ม 1 เม.ย.นี้

ศบค.ชูแห่งแรก "ศรีพันวา" วิวล่าควอรันทีน รับนักท่องเที่ยวกักตัว ทัวร์หรู "โควิด" วันนี้ 175 คน

หนุ่มรีวิวการกักตัว 14วัน โรงแรมหรูสุดแย่

สื่อต่างชาติ BBC รายงานว่า ผู้มาเยือนประเทศไทยสามารถใช้เวลาในการกักตัวสังเกตโรคโควิด-19 เป็นเวลา 2 สัปดาห์บนเรือยอชต์ได้ โดยรัฐบาลไทยหวังว่าโครงการนี้จะสร้างรายได้ราว 1.8 พันล้านบาทให้กับประเทศไทย

“โครงการกักตัววิถีใหม่บนเรือยอชต์-Digital Yacht Quarantine” เป็นความร่วมมือระหว่าง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า), บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส, บริษัท พีเอ็มเอชโฮลดิ้ง จำกัด (POMO) กลุ่มผู้ประกอบการบริหารจัดการท่าเรือ และสมาคมธุรกิจเรือยอชต์ไทย

ไอเดียดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่กำลังยากลำบากของประเทศซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

เมื่อวันจันทร์ (8 มี.ค.) มีการเปิดเผยข้อมูลของโครงการเพิ่มเติม โดยโครงการกักตัวบนเรือยอชต์จะอนุญาตให้นักท่องเที่ยวที่มีผลการทดสอบโควิด-19 เป็นลบ สามารถใช้เวลาบนเรือยอชต์หรือเรือสำราญขนาดเล็กในภูเก็ตแทนการอุดอู้อยู่ในที่พัก

โครงการนี้ได้เริ่มรับเรือยอร์ชเพื่อนำมาทดลองดำเนินงานแล้ว และคาดว่าจะมีเรือยอชต์ประมาณ 100 ลำพร้อมให้บริการเมื่อโครงการเริ่มดำเนินการจริง

นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวยังต้องสวมสายรัดข้อมืออัจฉริยะเพื่อตรวจสอบสัญญาณชีพ อุณหภูมิ และความดันโลหิต รวมทั้งติดตามตำแหน่งของผู้สวมใส่ผ่านระบบ GPS รัฐบาลกล่าวว่า อุปกรณ์ดังกล่าวสามารถส่งข้อมูลได้แม้อยู่ในทะเล ครบคลุมพื้นที่รัศมี 10 กิโลเมตร

หลังจากปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติตั้งแต่เดือนมีนาคมปีที่แล้ว ประเทศไทยค่อย ๆ กลับมาเปิดพรมแดนอีกครั้งตั้งแต่เดือนตุลาคม

อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศไทยลดลงอย่างมาก สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมบางแห่งมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่อวันลดลงจากหลายหมื่นคนเหลือเพียงกี่ร้อยคน

ก่อนหน้านี้ในเดือนมกราคม 2021 ประเทศไทยได้ผุดโครงการที่จะอนุญาตให้ผู้นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศสามารถกักตัวในสนามกอล์ฟได้

 

เรียบเรียงจาก BBC

ภาพจาก Shutterstock

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ