“รถไฟฟ้าสายสีส้ม” การประมูลที่ถูกตั้งคำถาม


โดย PPTV Online

เผยแพร่




อีกหนึ่งโครงการประมูลขนาดใหญ่ระดับแสนล้านที่หลายหน่วยงานต่างเกาะติด คือ การประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่ได้ล้มประมูลไปหลังมีปัญหาการเปลี่ยนเกณฑ์การประมูลกลางครันทั้งที่ขายซองประมูลไปแล้ว และเตรียมเปิดประมูลใหม่ ท่ามกลางการฟ้องร้องของภาคเอกชน และล่าสุดยังมีการส่งหนังสือร้องเรียนถึงนายกรัฐมนตรี อาจจะเป็นมหากาพย์การประมูลโครงการรัฐอีกหนึ่งงาน

“สามารถ” หนุน BTSC ฟ้องล้มประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม

BTS-BEM ยื่นซองประมูลชิง รถไฟฟ้าสายสีส้ม

การประมูลงานเมกะโปรเจกต์ขนาดใหญ่มูลค่ากว่า 1.28 แสนล้านบาท ที่ควรจะเป็นผลงานเชิดหน้าชูตาให้แก่ภาครัฐ อย่างการเปิดประมูลประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี  (สุวินทวงศ์) กลับกลายเป็นมีดเล่มใหญ่มาทิ่มแทงรัฐบาล เพราะเกิดคำถามในสังคมเป็นอย่างมาก หลัง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. สั่งล้มประมูล ท่ามกลางข้อสงสัยเหตุเปลี่ยนเกณฑ์ตัดสินกลางครันทั้งที่ขายซองประมูลไปแล้ว

แม้ว่าทาง รฟม.จะอ้างว่าทุกอย่างทำตามอำนาจที่ตนเองได้กำหนดไว้ในการขายซองตั้งแต่ต้นแล้ว เรื่องนี้ทาง องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ก็ได้ตั้งคำถามกับเรื่องนี้ว่า ธรรมเนียมการจัดซื้อจัดจ้างที่ทำกันมาทุกโครงการต้องศึกษาล่วงหน้า โดยเฉพาะโครงการระดับแสนล้านที่ศึกษามานับสิบปี การมาเปลี่ยนเงื่อนไขหลังการขายซองประมูลแล้ว โดยอ้างเหตุผลต่างๆ จึงไม่สมเหตุสมผล

ซ้ำร้ายเมื่อปัญหาเกิดขึ้นแล้วอยู่ในกระบวนการศาลแล้ว ก็ควรรอให้ศาลตัดสินตามกระบวนการ เหตุใด รฟม.ต้องเร่งล้มประมูล เพื่อให้มูลเหตุแห่งคดีหมดไป สิ่งเหล่านี้ก็ยิ่งสร้างความคุมเคลือแก่สังคม จนเป็นคำถามสำคัญว่าที่ทำเช่นนี้เพราะต้องการรักษาผลประโยชน์ของประเทศจริงหรือไม่

BTSC ฟ้อง รฟม.ล้มประมูล “รถไฟฟ้าสายสีส้ม”

บีทีเอส แฉพิรุธ รฟม. ส่อมิชอบด้วยกฎหมาย

เมื่อเอกชนที่ต้องการประมูลด้วยความโปร่งอย่าง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC กลับไม่ได้รับความเป็นธรรมในการประมูล จึงได้ทำการยื่นฟ้อง ผู้บริหาร รฟม.และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ซึ่งทางองค์กรต่อต้านคอรัปชัน ได้ชื่นชมการกระทำในครั้งนี้ เพราะที่ผ่านมาผู้ประกอบการมักต้องยอมรับในความไม่เป็นธรรมเหล่านี้ บางรายอาจจบด้วยการต่อรองผลประโยชน์ แต่นี่คือการยืนหยัดต่อสู้เพื่อความโปร่งใสด้วยกระบวนการศาล จึงเป็นเรื่องสง่างามมาก

สอดคล้องกับ ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ออกมาสนับสนุนให้การฟ้องร้องครั้งนี้ ดำเนินการถึงที่สุด เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่บริษัท รวมถึงหากศาลตัดสินว่าถูกต้องจะกลายเป็นบรรทัดฐานการประมูลงานภาครัฐให้ไม่ทำแบบนี้อีก เมื่อสาวไปถึงเหตุผลที่ รฟม.กล่าวอ้าง ดร.สามารถ ก็ได้ชี้แจงออกมาทีละข้อพบว่า เหตุผลที่กล่าวอ้างไม่สามารถใช้ได้

“จิรายุ” แฉ “ปฏิบัติการ16 วันทันใจนาย” ล้มประมูลรถไฟฟ้า  

หลังจากนี้เราคงจับตาดูกันต่อไปว่า การที่ รฟม.เปิดรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนมาประกอบการยกร่างแล้ว ท่าทีของคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) จะเสนอร่างเอกสารเชิญชวนออกมาเป็นอย่างไร  และล่าสุดยังได้มีการส่งหนังสือร้องเรียน ถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้มีการตรวจสอบการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มในครั้งนี้  ที่สำคัญต้องติดตามกระบวนศาลที่ดำเนินการควบคู่กันไป ซึ่งวันพรุ่งนี้ (15 มีนาคม 2564 ) ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ได้นัดฟังคำสั่งในชั้นตรวจฟ้องด้วย

 

ทีมข่าวเศรษฐกิจ พีพีทีวี รายงาน

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ