นักวิชาการชี้กสทช.ต้องรับผิดชอบทีวีดิจิทัล


โดย PPTV Online

เผยแพร่




นักวิชาการ ซัดการกำกับดูแลของ กสทช.ทำอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัล ประสบปัญหาอย่างหนัก ซึ่งช่วงต่อจากนี้อาจเป็นจุดเปลี่ยนของทีวีดิจิทัล อาจเห็นการคืนช่องและฟ้องร้องแบบ เจ๊ติ๋มโมเดล ย้ำ กสทช.ควรออกมารับผิดชอบผู้ประกอบการบ้าง

นักวิชาการ ชี้ กสทช. ต้นเหตุวุ่นวายเรียงช่องทีวีดิจิทัลใหม่

จับตา “ปัญหาการเรียงช่อง” สะเทือนอนาคตทีวีดิจิทัล

วันนี้ถือเป็นครึ่งทางของอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัลแล้วหลังเข้าสู่ปีที่ 8 ของโทรทัศน์ระบบดิจิทัล จากอายุสัมปทานทั้งหมด 15 ปี  โดย ดร.สิขเรศ ศิรากานต์ นักวิชาการอิสระด้านสื่อดิจิทัลและสื่อใหม่ เปิดเผยว่า ช่วง 7 ปีที่ผ่านมา ถือว่าประสบปัญหาเป็นอย่างมากจากการกำกับดูแลของ ของ กสทช. ไม่ว่าจะเป็นการฟ้องร้อง ปัญหาเทคนิค รวมถึงในปัจจุบันที่ยังต้องเผชิญกับการดิสรัปชัน ปัญหาโควิด-19 ที่มากระทบเศรษฐกิจ ส่งผลให้ผู้ประกอบการประสบปัญหาอย่างหนัก

ช่วงเวลาต่อจากนี้จึงเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของทีวีดิจิทัล ทั้งการสรรหาผู้บริหาร กสทช.ชุดใหม่ ที่ต้องมีความรู้ความสามรถ รวมถึงท่าทีต่อไปของผู้ประกอบการจะนำองค์กรไปในทิศทางใดในทางกลับกันกรณีการต่อสู้ของ บริษัท ไทยทีวี จำกัด ของ นางพันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย หรือ เจ๊ติ๋ม ทีวีพูล ประธานกรรมการบริหารบริษัท กับ กสทช. จึงเป็นประเด็นสำคัญที่จะเป็นฐานการฟ้องร้องให้กับผู้ประกอบการ เนื่องจาก กสทช.กำกับดูแลผิดพลาดเป็นอย่างมาก ทั้งกรณีของ คูปองกล่องดิจิทัล ค่าโครงข่ายสัญญาณ การประชาสัมพันธ์ หลังจากนี้เราก็อาจเห็นผู้ประกอบการรายอื่นออกจากอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัล ผ่านการฟ้องร้องเรียกค่าชดเชย เหมือนกับ “เจ๊ติ๋มโมเดล” ได้อีกเช่นกัน

อีกสิ่งหนึ่งปัญหาสำคัญของอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัล คือ การโดนลักลอบดูดสัญญาณ เช่น คอนเทนต์ภาพยนตร์ คอนเทนต์กีฬาระดับโลก ซึ่งถูกละเมิดลิขสิทธิ์ไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน แต่ไม่ได้รับการเหลียวแลจากหน่วยงานกำกับดูแลอย่าง กสทช.

ดร.สิขเรศ บอกว่า ปัญหาอยู่ที่แนวคิดของภาคกำกับดูแล ผู้กำกับดูแลต้องเข้าใจสิทธิ์อันชอบธรรมของผู้ซื้อลิขสิทธิ์ รวมถึงกฎกติกาที่ไม่เอื้อต่อการคุ้มครองสิทธิ์เหล่านั้น ต้องถูกแก้ไข อีกส่วนหนึ่งประชาชนก็ต้องสนับสนุนคอนเทนต์ที่ถูกลิขสิทธิ์ด้วย

นอกจากนี้ ดร.สิขเรศ ได้ยกตัวอย่างว่า ในการเผยแพร่เนื้อหารายการใดก็ตาม จะต้องมีต้นทางและปลายทาง ฉะนั้น หน้าที่ของ กสทช. ต้องดูแลการเผยแพร่เนื้อหาจากต้นทางให้ถูกต้อง ในทุกแพลตฟอร์ม มักซ์ โครงข่ายซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของ กสทช. หากพบว่ามีโครงข่ายใดดึงสัญญาณไป ต้องมีคำสั่งระงับความสูญเสียเหล่านั้น มีบทลงโทษ ทั้งอัตราลงโทษทางปกครองและทางแพ่ง ในกรณีของหลุดไปทางใต้ดินที่หนีกฎมาย ประเทศไทยมี กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ทั้งยังมี กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิด เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ซึ่ง กสทช.สามารถประสานในการกำกับดูแลได้ทั้งหมด

 

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ