BA ลงทุน“โรงซ่อมอากาศยาน”ต่อยอดเมืองการบิน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




แม้ตอนนี้อุตสาหกรรมการบินจะยังไม่ฟื้นตัวจากพิษโควิด-19 แต่การเตรียมพร้อมถือว่าสำคัญมาก และล่าสุดมีหนึ่งข่าวดี สำหรับอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทย เพราะทางสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส เตรียมเดินหน้าลงทุนโครงการโรงซ่อมอากาศยาน หรือ MRO ในพื้นที่อีอีซี เพิ่มเติมแล้ว

เปิดศักยภาพ “เมืองการบิน” เดินหน้าลงทุนฝ่าโควิด-19

เปิดแผนเดินหน้าสร้าง “เมืองการบิน” ระยะที่ 3

ความคืบหน้าของโครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงการพัฒนาระยะที่ 1 จะใช้งบไปประมาณราว 2 หมื่นล้านบาท ในการพัฒนา อาคารผู้โดยสารหรือเทอร์มินอล ลานจอดเครื่องบิน และพื้นที่อำนวยความสะดวกต่างๆ ซึ่งจะรองรับผู้โดยสารได้ถึง 15.9 ล้านคนในปี 2568

ล่าสุด นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส และนายกสมาคมสายการบินประเทศไทย เปิดเผยว่า การพัฒนาทุกอย่างตอนนี้สามารถเดินหน้าได้ตามแผน ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาได้ทำการคัดเลือกผู้ออกแบบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ทางบางกอกแอร์เวย์ส มีความสนใจในการเข้าไปลงทุน “โครงการโรงซ่อมอากาศยานบางกอกแอร์เวย์ส ในพื้นที่ อีอีซี” ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดเตรียมแผนการพัฒนา ให้แก่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC แล้ว

สำหรับแผนการพัฒนา MRO ของบางกอกแอร์เวย์ส จะกำหนดว่าต้องใช้โรงซ่อมต้องขนาดเท่าใด ใช้กี่โรงจอด เบื้องต้นอาจกำหนดให้ใช้กับเครื่องบินขนาดลำตัวแคบ จำนวน 4 ช่องจอด คาดว่าใช้เงินลงทุนราว 500-700 ล้านบาท เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานมีอยู่แล้ว หากรวมเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ดังนั้นมูลค่าการลงทุนจะอยู่ประมาณ 1,000 ล้านบาท และใช้เวลาราว 2-3 ปีจะดำเนินการเสร็จสิ้น 2567

ทั้งนี้ นายพุฒิพงศ์ บอกว่า การลงทุนในโครงการดังกล่าว มีความพร้อมที่จะเดินหน้าลงทุนในนามของบางกอกแอร์เวย์สเอง หรืออาจพิจาณาอีกทางเลือก คือ การเชิญชวนพันธมิตรจากยุโรป เช่น เยอรมัน ฝรั่งเศส ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการซ่อมบำรุงเครื่องบินมาร่วมด้วย เพราะโอกาสการลงทุนเปิดกว้าง หากทำสำเร็จก็มีช่องทางการต่อยอดกับเมืองการบินภาคตะวันออกได้อีกมาก

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ