มาตรการเยียวยาโควิด-19 ดูดี แต่ไม่เพียงพอ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เสียงสะท้อนของพี่น้องประชาชนกันบ้าง สำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการระบาดระลอก 3 แล้วการเยียวยาที่ออกมาจากรัฐบาลครอบคลุม เพียงพอต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจแล้วหรือไม่

เสียงสะท้อนจากประชาชนถึงพิษโควิด-19 ระลอก 3 หลายคนยอมรับอย่างหนักใจว่า ปัญหาเศรษฐกิจครานี้ หนักหนากว่าทุกครั้งที่ผ่านมา เพราะโรคระบาดก็ต้องกลัว แต่ปากท้องก็ต้องหาเลี้ยงเช่นกัน  แม้ขายแล้วไม่มีกำไร บางแห่งไร้คนจับจ่ายใช้สอย พ่อค้า-แม่ค้า ก็จำทนต้องขายต่อไป เพราะค่าเช่าและรายจ่ายยังตามติดมาทุกขณะ

วันนี้เสียงเรียกร้องเหล่านี้ ได้ส่งไปถึงรัฐบาลแล้ว เพราะมีการประกาศได้ออกแพ็กมาตรการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาจำนวนมาก

ด่วน!! ครม.เคาะ มาตรการเยียวยาโควิด แจก "คนละครึ่งเฟส 3" ให้ 3,000 ให้เพิ่ม "เราชนะ - ม33เรารักกัน"

“สุพัฒนพงษ์” วอนปชช. นำเงินฝากออกมาใช้จ่าย ช่วยดันจีดีพีโตขึ้น 4%

โดยเฉพาะมาตรการเร่งด่วนระยะที่ 1 มาตรการด้านการเงิน สินเชื่อสู้ภัยโควิด, พักชำระลูกหนี้, ลดค่าน้ำ-ค่าไฟ รวมถึงการเพิ่มวงเงินโครงการ “เราชนะ” และ “ม.33 เรารักกัน” สัปดาห์ละ 1,000 บาท เป็นเวลาสองสัปดาห์

โดยนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ ได้สะท้อนว่า เป็นมาตรการที่ “ดูดี แต่ไม่เพียงพอ” สิ่งที่ดีคือการช่วยเหลือที่ทั่วถึง ทั้งแรงงานในระบบผ่านโครงการเราชนะ และ ม.33 เรารักกัน รวมถึงการช่วยเหลือค่าน้ำ-ค่าไฟ เพราะรัฐบาลต้องการให้ประชาชนหยุดเชื้อเพื่อชาติลดความเสี่ยง แต่กลับกันการเยียวยานี้ก็ยังไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่าย เมื่อประชาชนเดือดร้อนผู้คนก็ยังต้องออกไปดิ้นรนกันต่อ และระยะเวลาช่วยเหลือเดือนเดียวก็อาจไม่เพียงพอ เพราะการแพร่ระบาดไม่รู้จะจบลงเมื่อใด

“คนละครึ่ง” เฟส 3 กระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ พ.ค.นี้  

สำหรับมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจที่กำลังประสบภาวะเดือดร้อนอยู่ ทั้งจากผลกระทบรอบก่อนจนมาถึงมาตรการในรอบนี้ สิ่งที่ภาครัฐทำทั้งการพักหนี้ การให้สินเชื่อ ดร.นณริฎ บอกว่า เป็นเรื่องที่ถูกต้องตามหลักเศรษฐศาสตร์ แต่ต้องดูความเป็นจริงด้วยว่า ซอฟต์โลน หรือ สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเหล่านี้ล้วนมีเงื่อนไขที่เข้าถึงยาก หลักการคือภาครัฐจึงควรกันงบประมาณส่วนหนึ่งมาดูแลธุรกิจเหล่านี้โดยตรงด้วย ตอนนี้จึงยังไม่เห็นช่องทางที่ธุรกิจขนาดเล็กจะอยู่รอด

ด้านศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย อยากให้รัฐบาลเร่งพิจารณาอัดฉีดเม็ดเงินในช่วงไตรมาส 2 เพิ่มเติมอีก 2-3 แสนล้านบาท เพื่อเป็นการประคองเศรษฐกิจให้เดินหน้าต่อได้ ในภาวะที่เศรษฐกิจและการบริโภคของประชาชนลดถอยลง ขณะที่ โครงการคนละครึ่ง เฟส 3 ที่จะเริ่มใช้ในเดือนกรกฎาคมนี้ อาจจะล่าช้าเกินไป รัฐบาลควรจะโยกโครงการมาใช้ปลายพฤษภาคม ถึงมิถุนายนนี้ แทน เพื่อเป็นการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจด้านการบริโภคของประชาชน

แบงก์ชาติ ประเมินแรงงานพื้นที่สีแดงกระทบโควิด-19 รอบใหม่ 4.7 ล้านคน

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ