สรรพากร ไม่ขยายเวลายื่นแบบภาษีเงินได้


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กรมสรรพากร ไม่ขยายเวลายื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เปิดยื่นภาษี ภ.ง.ด. 90-91 ถึง 30 มิ.ย.นี้ คาดปีนี้ผู้เสียภาษียื่นแบบทะลุ 11 ล้านคน

หลังจากที่ ครม. ได้ขยายเวลาการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปีภาษี 2563 แบบ ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด.91 จากเดิมต้องยื่นภายในวันที่ 31 มี.ค. 2564 ได้ทำการขยายเวลาการชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตไปจนถึงวันที่ 30 มิ.ย. 2564 นี้เท่านั้น โดยทางกรมสรรพากรยังไม่ได้มีการหารือร่วมกับหน่วยงานในการพิจารณาขยายระยะเวลายื่นแบบภาษีเงินได้ออกไปอีก แม้ว่าสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 รอบใหม่จะยังไม่คลี่คลาย แต่ขณะนี้เริ่มมีวัคซีนเข้ามาแล้ว ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนทำให้สถานการณ์ดีขึ้น

กรมสรรพากรขยายเวลายื่นแบบภาษีออนไลน์ได้ถึง มิ.ย. 64

เปิดขั้นตอนการขอรับจัดสรร "วัคซีนตัวเลือก ซิโนฟาร์ม"

ด้านนายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ในปีนี้คาดว่าจะมีผู้เข้ามายื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 ตามเป้าหมาย 11 ล้านคน หลังจากปัจจุบันมียอดยื่นเข้ามาแล้วกว่า 9 ล้านคน เนื่องจากปีนี้ได้มีการอำนวยความสะดวกให้ยื่นแบบภาษีได้ทั้งผ่านอินเทอร์เน็ต และแบบกระดาษ รวมถึงยังได้ขยายเวลาการยื่นแบบภาษีจากเดือน มีนาคมไปจนถึง 30 มิถุนายนนี้ พร้อมกันนี้ กรมได้เร่งดำเนินการพิจารณาและอนุมัติคืนภาษีตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ประจำปีภาษี 2563 เป็นเม็ดเงินรวมกว่า 28,047 ล้านบาท เพื่อเป็นการเติมสภาพคล่องให้กับประชาชน และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงโควิด

จากกรณีที่ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร. เสนอให้เพิ่มมาตรการช่วยเหลือด้านกำลังซื้อภาคประชาชนในวงกว้าง โดยเฉพาะโครงการคนละครึ่ง ที่อยากให้ภาครัฐเพิ่มวงเงินจาก 3,000 บาท เป็น 6,000 บาทนั้น

ด้านนายนณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ หรือ TDRI เปิดเผยว่า เห็นด้วยกับข้อเสนอของภาคเอกชนที่ต้องการให้ภาครัฐเพิ่มวงเงินสนับสนุนโครงการคนละครึ่ง เพราะสถานการณ์ปัจจุบันถือเป็นช่องว่างทางเศรษฐกิจที่ต้องรอการฉีดวัคซีนให้ทั่วถึงเพื่อให้เศรษฐกิจกลับมาเกิดการจับจ่ายได้อีกครั้ง ระหว่างนี้รัฐควรจะเข้ามาอุดหนุนให้ประชาชนสามารถเดินต่อไปได้ ซึ่งเห็นด้วยกับข้อเสนอของภาคเอกชนที่ให้เพิ่มเงินอุดหนุนโครงการคนละครึ่งเฟส 3 เพิ่มเป็น 6,000 บาท จากปัจจุบันที่อุดหนุนเพียง 3,000 บาท

สำหรับมูลค่าการอัดฉีดที่เหมาะสม ดร.นณริฎ ย้ำอย่างชัดเจนว่า จากที่ให้ใช้เฉลี่ยเดือนละ 500 บาทนั้น ถือว่าไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพของประชาชน

ผ่านฉลุย! สภาฯเห็นชอบ พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท

ราคาทองวันนี้ – 10 มิ.ย. 64 ปรับราคา 2 ครั้ง ลดลงอีก 50 บาท

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ