หุ้นไทย (21 มิ.ย.64) ปิดการซื้อขาย 1,601.13 จุด ลดลง -11.85 จุด


โดย PPTV Online

เผยแพร่




หุ้นไทย (21 มิ.ย.64) ปิดการซื้อขาย 1,601.13 จุด ลดลง -11.85 จุด (-0.73%) มูลค่าการซื้อขาย 83,153.17 ล้านบาท

นายกรภัทร วรเชษฐ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและบริการการลงทุน บล.โนมูระ พัฒนสิน กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวันนี้แกว่ง Sideway ถึง Sideway Down โดยในช่วงบ่ายนี้ตลาดฯสามารถลดช่วงลบไปได้จนดัชนีฯสามารถขึ้นมาแถว 1,600 จุดได้ หลังจากที่ดาวโจนส์ฟิวเจอร์สได้ดีดตัวขึ้นมาเป็นบวก ท่ามกลางแรงกดดันจากความกังวลธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

กทม.ผุดคลัสเตอร์โรงงานลูกชิ้น - รร.นายสิบติดเชืื้อแล้ว 16 คน คลัสเตอร์ยะลาลาม 402 กระจาย 12 จังหวัด...

นักวิจัยไม่กังวลโควิดสายพันธุ์เบตาระบาด

ส่งผลให้ตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียวันนี้ต่างติดลบกันทั่วหน้าราว -0.7% ถึง -1.2%

 

 

เช่นเดียวกับตลาดในยุโรปที่เทรดบ่ายนี้ก็ติดลบราว 0.2% โดยยังต้องจับตาประธานเฟดสาขาต่าง ๆ จะมีความคิดเห็นอะไรออกมาเกี่ยวกับทิศทางนโยบายการเงิน

ส่วนบ้านเราให้รอการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)ที่จะมีขึ้นในวันที่ 23 มิ.ย.นี้ รอติดตามว่าจะมีการปรับลดคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจไทยอย่างไร ซึ่งตลาดมองกรอบการเติบโตเศรษฐกิจไทยไว้ที่ 1.5-2.5% นอกจากนี้ติดตามภาครัฐฯจะมีนโยบายการช่วยเหลือรายย่อยหรือไม่

แนวโน้มการลงทุนในวันพรุ่งนี้ (22 มิ.ย.) นายกรภัทร กล่าวว่า ตลาดฯคงจะยังแกว่ง Sideway ถึง Sideway Down โดยมีแนวรับ 1,580-1,570 จุด ส่วนแนวต้าน 1,620 จุด

ส่วนหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 5 หลักทรัพย์ ได้แก่

GUNKUL มูลค่าการซื้อขาย 9,082.31 ล้านบาท ปิดที่ 4.80 บาท ลดลง 0.08 บาท

PTT มูลค่าการซื้อขาย 2,853.79 ล้านบาท ปิดที่ 39.75 บาท ลดลง 0.25 บาท

KBANK มูลค่าการซื้อขาย 2,385.07 ล้านบาท ปิดที่ 121.00 บาท ลดลง 2.50 บาท

AOT มูลค่าการซื้อขาย 2,226.26 ล้านบาท ปิดที่ 65.75 บาท ลดลง 0.25 บาท

PTTGC มูลค่าการซื้อขาย 1,471.20 ล้านบาท ปิดที่ 57.75 บาท ลดลง 1.00 บาท

หุ้นไทย (21 มิ.ย.64) ปิดการซื้อขายเช้า  -16.34 ที่ระดับ 1,596.64 จุด (-1.01%) มูลค่าการซื้อขาย 48,833.87 ล้านบาท

น.ส.ธีรดา ชาญยิ่งยงค์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้ปรับตัวลงตามตลาดหุ้นทั่วโลก โดยตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียปรับลงถ้วนหน้า หลังจากดัชนีหุ้นดาวโจนส์ร่วงไปกว่า 500 จุด จากความกังวลธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด

โควิดยังระบาดหนัก ติดเชื้อ +3,175 ราย คร่าอีก 29 ชีวิต เริ่มผ่อนคลายมาตรการทั่วประเทศวันแรก

ราคาทองวันนี้ – 21 มิ.ย. 64 ปรับราคา 7 ครั้ง รวมบวกจากเมื่อวาน 300 บาท

และสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ก็ยังกดดันจากการพบผู้ติดเชื้อโควิดมีสายพันธุ์เบต้าในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องเริ่มจับตามากขึ้นอีกครั้ง

ทั้งนี้ ตลาดบ้านเราจะต้องติดตามการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 23 มิ.ย.นี้ ตลาดฯคาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่ให้จับตาการประเมินภาพเศรษฐกิจไทยและการปรับประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจ

แนวโน้มการลงทุนในช่วงบ่ายนี้ น.ส.ธีรดา กล่าวว่า ตลาดฯคงยังติดลบอยู่ แต่ต้องจับตาว่าดัชนี SET จะสามารถยืนเหนือระดับ 1,600 จุด ได้หรือไม่ เพราะหากไม่ได้มีโอกาสปรับตัวลงมาทดสอบ 1,580-1,550 จุด แต่ถ้ายืนเหนือระดับ 1,600 จุดได้ก็ถือว่าทิศทางยังไม่แย่มาก เพราะการที่ดัชนีฯหลุดแนว 1,600 จุดถือเป็นภาพที่ไม่ดีในทางเทคนิค

พร้อมให้แนวรับ 1,590 จุด ส่วนแนวต้าน 1,605-1,610 จุด

ส่วนหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 5 หลักทรัพย์ ได้แก่

GUNKUL มูลค่าการซื้อขาย 6,063.44 ล้านบาท ปิดที่ 5.00 บาท เพิ่มขึ้น 0.12 บาท

PTT มูลค่าการซื้อขาย 1,690.04 ล้านบาท ปิดที่ 39.75 บาท ลดลง 0.25 บาท

AOT มูลค่าการซื้อขาย 1,654.79 ล้านบาท ปิดที่ 65.25 บาท ลดลง 0.75 บาท

KBANK มูลค่าการซื้อขาย 1,399.83 ล้านบาท ปิดที่ 121.00 บาท ลดลง 2.50 บาท

CPF     มูลค่าการซื้อขาย    913.93  ล้านบาท  ปิดที่  27.00 บาท ราคาไม่เปลี่ยนแปลง

หุ้นไทย (21 มิ.ย.64)  เปิดตลาดร่วง -16.16 จุด ที่ระดับ 1,596.82 จุด (-1.00%) มูลค่าการซื้อขาย 9,286.61 ล้านบาท  คาดลงตามดาวโจนส์ ร่วงแรงกว่า 500 จุด หลังเฟดส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด ฉุดหุ้นภูมิภาคลงตาม

นายกิติชาญ ศิริสุขอาชา ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์รายย่อย บล.ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะปรับตัวลงตามตลาดต่างประเทศ โดยตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ต่างติดลบกันทั่วหน้า เช่นเดียวกับดาวโจนส์ที่ร่วงแรงกว่า 500 จุด จากความกังวลธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้ หลังจากที่นายเจมส์ บูลลาร์ด ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ กล่าวว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเร็วที่สุดในปีหน้า เพื่อมาควบคุมเงินเฟ้อสหรัฐฯ

 

นอกจากนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond yield) ได้ปรับตัวลงมาเหลือ 1.4% ในช่วงสั้นจากความกังวลสภาพคล่องในตลาด ที่มีการขายหุ้นแล้วไปซื้อพันธบัตร ส่งผลให้ Bond yield ปรับตัวลง เพราะการซื้อพันธบัตรจัดเป็นการลงทุนสินทรัพย์ปลอดภัย อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันยังปรับตัวขึ้นต่อได้ ซึ่งน่าจะช่วยหนุนให้หุ้นในกลุ่มพลังงานสามารถประคองตลาดฯได้บ้าง

สัปดาห์นี้ให้ติดตามการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 23 มิ.ย.นี้ ซึ่งคาดว่าตลาดจะคงอัตราดอกเบี้ย แต่รอบนี้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) อาจจะปรับคาดการณ์เศรษฐกิจ ซึ่งก็คาดว่าจะปรับลงเนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายวันยังสูง และให้จับตาจะมีการทำ Window Dressing ก่อนปิดงบฯไตรมาส 2/64 หรือไม่

พร้อมให้แนวรับ 1,600-1,605 จุด ส่วนแนวต้าน 1,620-1,625 จุด

เงินบาทเปิด 31.50/53 แนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่องจากทิศทางดอลลาร์แข็งค่า

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

ขณะนี้ มีรายการกำลังถ่ายทอดสด คุณสนใจหรือไม่?

POP NEWS

POP NEWS

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ