ตรวจสอบสิทธิเยียวยาล็อกดาวน์ ม.33 ม.39 - 40 รายละเอียด 9 กลุ่มกิจการ อาชีพได้สิทธิรับเงิน 8 มาตรการ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ก่อนที่จะยกระดับมาตรการล็อกดาวน์ เช็กสิทธิประกันสังคมเยียวยา 9 กลุ่มกิจการอาชีพอะไรบ้าง ผ่าน https://www.sso.go.th ลงทะเบียนรับสิทธิทั้งลูกจ้าง นายจ้าง ฟรีแลนซ์ ย้ำรับสิทธิิผ่านพร้อมเพย์เท่านั้น

ที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน หารือหลายแนวทางยกระดับมาตรการคุมโควิด -19 ที่ยังแพร่ระบาดรุนแรง โดยมีรายงานว่ามีแนวคิดขยายพื้นที่ล็อกดาวน์ หรืออาจล็อกดาวน์ทั่วประเทศ รวมถึงกำหนดช่วงเวลาเคอร์ฟิวใหม่ เพื่อคุมการแพร่ระบาด เนื่องจากพบว่าตั้งแต่ประกาศล็อดาวน์ตั้งแต่วันที่ 12 ก.ค.เป็นต้นมายังพบการเดินทางข้าพื้นที่ของผู้คนจำนวนมาก อย่างไรก็ตามเมื่อมีมาตรการล็อกดาวน์ก็ต้องมีมาตรการเยียวยาด้วย

ประกันสังคมเปิดไทม์ไลน์โอนเงินเยียวยา 2,500 - 5,000 ผู้ประกันตนมาตรา 33 ม.39 - 40 เริ่ม 6 ส.ค. - 15...

ผู้ประกันตนมาตรา 39-40 เตรียมรับเงินเยียวยา 23-25 ก.ค.นี้

ตรวจสอบมาตรการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งล็อกดาวน์ในปัจจุบันพบว่า มีขอบเขตเงื่อนไขดังนี้

1. มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ สำหรับลูกจ้างและกิจการใน 10 จังหวัดสีแดงเข้ม ที่ประกาศเคอร์ฟิวเท่านั้น ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ นครปฐม สมุทรสาคร สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส

2.มีมาตรการเยียวยาผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม ทั้งผู้ประกันตนมาตรา 33 ผู้ประกันตนมาตรา 39 และผู้ประกันตนมาตรา 40 และผู้ที่นอกระบบประกันสังคม

เปิดคุณสมบัติอาชีพอิสระ ลงทะเบียนสมัครประกันสังคมมาตรา 40 รับสิทธิ 5,000 เยียวยาล็อกดาวน์

วิธีสมัคร “พร้อมเพย์” กับธนาคาร รับเงินเยียวยาล็อกดาวน์ มาตรา 33 มาตรา 39 - 40 ใน 9 กลุ่มกิจการ

ขอบเขตการเยียวยาต้องเป็นผู้ที่อยู่ในกิจการที่ถูกสั่งปิด หรือได้รับผลกระทบ 9 หมวดกิจการ  ประกอบด้วย

1) ก่อสร้าง

2) ที่พักแรม และบริการด้านอาหาร

3) ศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ

4) กิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ

5) ขายส่งขายปลีกและซ่อมยานยนต์

6) ขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า

7) กิจกรรมการบริหาร และบริการสนับสนุนกิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ และกิจกรรมทางวิชาการ

9) ข้อมูลข่าวสารและสื่อสาร

ดังรายละเอียดต่อไปนี้

เช็กมาตรการเยียวยา ผู้ประกันตนมาตรา 33 ชดเชยรายได้ เงินเพิ่มพิเศษ ปิดกิจการจากโควิด

ขอบเขตการเยียวยา กิจการของถุงเงิน ในโครงการคนละครึ่ง ประกอบด้วย 1) ร้านอาหารและเครื่องดื่ม 2) ร้าน OTOP 3) ร้านค้าทั่วไป 4) ร้านค้าบริการ 5) กิจการขนส่งสาธารณะ (ไม่รวมกิจการขนาดใหญ่)

เงื่อนไขสำคัญ ระยะเวลาในการให้ความช่วยเหลือ  1 เดือน แต่อาจมีการขยายต่อตามสถานการณ์ 

  • 8 รูปแบบมาตรการเยียวยาล็อกดาวน์แบ่งตามกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ

1. ลูกจ้าง ที่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการ 9 หมวด รัฐจะจ่ายเงินเยียวยาให้ 50% ของรายได้ แต่สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท ยกตัวอย่างหากรายได้ 12,000 บาท ได้เพียง 6,000 บาท แต่หากรายได้ 20,000 บาท แม้ 50%คือ 10,000 บาท แต่ประกันสังคมจ่ายชดเชยว่างงานกรณีถูกเลิกจ้างจาก 9 กิจการเพียง 7,500 บาท เท่านั้น

เข้าลงทะเบียนที่ https://empui.doe.go.th/auth/index

และจ่ายสมทบให้ลูกจ้างสัญชาติไทยอีก 2,500 บาทต่อคน รวมแล้วได้สูงสุด 10,000 บาท

ทั้งนี้ผู้ประกันตนมาตรา 33 ในระบบประกันสังคมเข้าตรวจสอบสิทธิเยียวยาได้ทีี่ 

คลิก ตรวจสอบสิทธิโครงการเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 33 

2. นายจ้าง ในระบบประกันสังคมมาตรา 33 ในกิจการ 9 หมวด รัฐจะจ่ายให้ตามจำนวนลูกจ้าง 3,000 บาทต่อราย สูงสุดไม่เกิน 200 คน 

ตรวจสอบสิทธิิเยียวยานายจ้าง

3. สำหรับผู้ประกันตนตาม มาตรา 39 และ มาตรา 40 รัฐบาลจะช่วยเหลือค่าใช้จ่ายให้ 5,000 บาทต่อคน เตรียมรับเงินภาย น 23-25 ก.ค.นี้ 

4. ผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรือฟรีแลนซ์ ให้ขึ้นทะเบียน ผู้ประกันตนมาตรา 40 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับค่าช่วยเหลือ 5,000 บาท  คลิกลงทะเบียนผู้ประกันตนมาตรา 40

5. ผู้ประกอบการที่มีลูกจ้างแต่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม ให้ขึ้นทะเบียนตามเข้าระบบประกันสังคม ม.33 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับเงินช่วยเหลือ 

6. ผู้ประกอบการที่ไม่มีลูกจ้าง และไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม ให้ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 40 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับค่าช่วยเหลือ 5,000 บาท  

7. ผู้ประกอบการในระบบ “ถุงเงิน” 5 หมวด ภายใต้โครงการ “คนละครึ่ง” และโครงการ “เราชนะ” ที่ “มีลูกจ้าง” ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม.33 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับเงินช่วยเหลือตามข้อ 1 และ 2 โดยได้ 3,000 บาทต่อลูกจ้าง 1 ราย แต่ไม่เกิน 200 ราย 

8. ผู้ประกอบการในระบบ “ถุงเงิน” 5 หมวด ภายใต้โครงการ “คนละครึ่ง” และโครงการ “เราชนะ” ที่ “ไม่มีลูกจ้าง” ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม. 40 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับค่าช่วยเหลือ 5,000 บาท 

ขณะที่สำนักงานประกันสังคม ย่้ำว่า นายจ้างบุคคลธรรมดา และผู้ประกันตนที่ได้รับการเยียวยา จะได้รับเงินผ่านการโอนเข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการโอนเงินเข้าบัญชี

เช็กมาตรการเยียวยา ผู้ประกันตนมาตรา 33 ชดเชยรายได้ เงินเพิ่มพิเศษ ปิดกิจการจากโควิด

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ