รู้จักวิธี "ปรับโครงสร้างหนี้" หนทางปลดภาระหนี้สินแสนหนักอึ้ง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




รู้จักวิธี "ปรับโครงสร้างหนี้" บันไดสู่การปลดภาระหนี้ เปลี่ยนดอกเบี้ยแสนแพงเป็นดอกเบี้ยถูก ปิดวงเงินสินเชื่อได้เร็วขึ้น

ภาวะวิกฤตโควิดทำให้หลายคนเผชิญกับปัญหาการเงิน การใช้จ่ายไม่คล่องตัว เริ่มชักหน้าไม่ถึงหลัง การหาเงินทำได้ยากลำบากขึ้น แถมภาระหนี้ที่มีอยู่เริ่มผ่อนไม่ไหว วิธีที่จะปลดล็อกภาระหนี้อันหนักอึ้งให้บรรเทาลง ช่วยลดภาระการผ่อนชำระต่อเดือน รวมไปถึงการลดดอกเบี้ยแสนแพงลงบ้าง นั่นก็คือ การปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส ให้เรายังรับภาระหนี้ต่อไปได้ และ ยังคงสถานะเป็นลูกหนี้ที่ดี กระทั่งนำไปสู่การปลดล็อกสถานะลูกหนี้ในที่สุด มาดูวิธีเหล่านี้ไปพร้อมๆ กัน

ธปท.อธิบายวิธีพักชำระหนี้ 2 เดือนฉบับละเอียดย้ำหนี้ยังอยู่เท่าเดิม

“ปรับโครงสร้างหนี้” กยศ.ผ่อนสูงสุด 30 ปี หักเงินเดือนขั้นต่ำ 10 บาท

ขั้นแรกสำรวจก่อนว่า เราจะเริ่มเจรจากับเจ้าหนี้เมื่อไรดี คำตอบคือ เมื่อเริ่มผ่อนไม่ไหวให้รีบติดต่อเพื่อปรับเงื่อนไขการผ่อนให้เหมาะกับรายได้ (ปรับโครงสร้างหนี้) และถึงเป็นหนี้เสียแล้วก็ยังเจรจาได้เช่นกัน

คำถามสำคัญ คือ ทางเลือกการปรับโครงสร้างหนี้มีอะไรบ้าง?

  • ยืดระยะเวลาชำระหนี้ ทำให้ภาระการผ่อนต่อเดือนลดลง เช่น ถ้าเวลาผ่อนที่เหลือ 4 ปี ขอยืดเป็น 5 ปี
  • พักชำระเงินต้น แต่ดอกเบี้ยยังผ่อนเหมือนเดิม เช่น เคยผ่อนเงินต้น 8,000 บาท + ดอกเบี้ย 12,000 บาท รวม 20,000 บาท ถ้าเจ้าหนี้อนุมัติจะเหลือชำระแค่ 12,000 บาท ไประยะหนึ่ง แต่ช่วงท้ายสัญญาจะต้องจ่ายเงินต้นค้างจ่ายเป็นเงินก้อนใหญ่ (บอลลูน) หรือเป็นหนี้นานขึ้น
  • ลดอัตราดอกเบี้ย ทำให้ค่างวดที่จ่ายต่อเดือนไปตัดลดเงินต้นได้มากขึ้น และ ภาระดอกเบี้ยก็จะลดลงด้วย 
  • ยก/ผ่อนปรนดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนดให้สถาบันการเงิน คิดดอกเบี้ยปรับบนฐานของงวดที่ผิดนัดชำระจริง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมขึ้น จึงขอเจรจาได้
  • เพิ่มเงินทุนหมุนเวียน ธปท.สนับสนุนให้สถาบันการเงิน ให้สินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนใหม่แก่กิจการพื้นฐานดี โดยแยกการจัดชั้นสินเชื่อชนิดนี้ออกจากสินเชื่ออื่น ซึ่งอาจจะเป็นหนี้เสียหรือ NPL ไปแล้ว ช่วยให้กิจการยังมีบัญชีสินเชื่อสถานะปกติไว้ใช้งานได้ โดยผู้กู้ต้องเตรียมข้อมูล เหตุผลและประมาณการรายจ่ายที่จะเกิดขึ้นข้างหน้าให้ สง. ประกอบการพิจารณาวงเงิน
  • เปลี่ยนหนี้ดอกแพงเป็นหนี้ดอกถูก เช่น หนี้บัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนที่ดอกเบี้ยสูง ควรเปลี่ยนเป็นสินเชื่อแบบมีกำหนดระยะเวลาชำระ (term loan) ที่ดอกเบี้ยถูกกว่ามาก
  • ปิดจบด้วยเงินก้อน หากลูกหนี้สามารถหาเงินก้อนได้ แม้จะไม่มากเท่ายอดหนี้ที่มีอยู่ ก็สามารถเจรจาขอ “ส่วนลด” ให้เพียงพอต่อการปิดหนี้จบทั้งบัญชีได้ จะได้หมดภาระค่างวดรายเดือนไปอีกหนึ่งก้อน
  • รีไฟแนนซ์ (refinance) คือการปิดวงเงินสินเชื่อจากเจ้าหนี้เดิมไปใช้สินเชื่อของเจ้าหนี้ใหม่ที่ให้เงื่อนไขดีกว่า

ลูกหนี้มีสิทธิเจรจาในทางเลือกที่คิดว่าเหมาะสมกับตัวเองที่สุด โดยเจ้าหนี้จะพิจารณาอนุมัติจากอายุลูกหนี้ ประวัติการผ่อน ความสามารถในการชำระหนี้ ความจำเป็น และเกณฑ์ภายในของแต่ละสถาบันการเงิน

 

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ : แก้หนี้ครบจบในเล่มเดียว ตอน : ปรับโครงสร้างหนี้ : เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส โดย : คมน์ ไทรงาม ธปท.

ปธน.ตูนิเซียสั่งปลดนายกฯ บริหารจัดการโควิดล้มเหลว

โปรแกรมแข่งขันกีฬา โอลิมปิก 2020 ประจำวันที่ 27 กรกฎาคม 2564

 

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ