อาการโคม่า "ภาคอุตสาหกรรม" จากพิษโควิด


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สถานการณ์ตอนนี้ธุรกิจย่ำแย่ บางส่วนอยู่ไอซียู บางส่วนเสียชีวิตไปแล้ว อุตสาหกรรมในประเทศอยู่ไอซียู และถ้าเป็นภาคบริการด้วย บางอันต้องปิด ลมหายตายจากไป เราไม่เคยเจอแบบนี้มาก่อน เป็นเหตุการณ์ที่ไม่ปกติ ถ้าไม่รีบแก้ ยังขยายวงระบาดไปเรื่อยๆ ก็อาจทำให้เสียหายทั้งระบบเศรษฐกิจและสาธารณสุข

เสียงสะท้อนดังๆ จากภาคอุตสาหกรรมที่กำลังเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ลามเข้าสู่ภาคแรงงาน คลัสเตอร์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโรงงานอุตสาหกรรมมีผลโดยตรงต่อจำนวนแรงงาน และกระทบไปถึงภาคการผลิตให้ชะงักลง 

กกร.หั่นจีดีพีเหลือ 0 ถึง -1.5 % หลังประเมินเศรษฐกิจไทยถดถอยยาว

EXIM Bank ปล่อยกู้ 4 สายการบิน

ผู้ว่า ธปท. ยอมรับ งานยาก งานยาว ความหวังเดียว "วัคซีนโควิด” คือพระเอก

ขณะที่อีกด้านหนึ่งผู้ประกอบการภาคบริการ ที่ยังไม่ฟื้นตัวจากการระบาดระลอกปี 2563  กลับมาเผชิญกับการแพร่ระบาดในปีนี้ซึ่งหนักหนาสาหัสกว่ามาก และ คุณสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ก็ได้สะท้อนภาพออกมาให้เห็นชัดๆ ดังที่กล่าวในข้างต้น ผ่านรายการกาแฟดำ โดยสุทธิชัย หยุ่น

 

จัดหาวัคซีนทางเลือก ปูพรมตรวจโควิด คัดกรองแรงงานระดับสีเขียวกักตัวรักษา

ในตอนหนึ่ง ประธาน สอท. ยอมรับว่า เป็นสถานการณ์ที่ไม่ปกติและไม่เคยเจอมาก่อน และหากปล่อยให้ขยายวงกว้างไปแบบนี้เรื่อยๆ มันจะส่งผลเสียหายทั้งระบบเศรษฐกิจ และ สาธารณสุข ซึ่งทางออกเดียวคือการ “จัดหาวัคซีนให้ได้เร็วที่สุด” ซึ่งนอกจากวัคซีนจากภาครัฐแล้ว ภาคอุตสาหกรรมยังจัดหาวัคซีนทางเลือกอื่นๆ อีก เช่น วัคซีนซิโนฟาร์ม จากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

ตลอดจนความพยายามควบคุมการแพร่ระบาดในภาคอุตสาหกรรมให้ได้มากที่สุด เช่น การปูพรมเร่งตรวจแรงงานด้วยชุดตรวจโควิด (ATK) แยกกักตัวแรงงาน ส่งตรวจ RT-PCR แต่ข้อดีส่วนใหญ่ แรงงานในภาคอุตสาหกรรม มีร่างกายแข็งแรง อาการอยู่ในระดับ สีเขียว  ยังมีโอกาสที่จะกลับมาทำงานเหมือนเดิม เพียงแต่แยกรักษาตัวเพื่อไม่กระจายไปครอบครัว คนใกล้ชิด คนในโรงงานมากขึ้น ก็ถือว่าอยู่ในการควบคุมได้ ซึ่งมาตรการนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงงานว่าจะมีความเข้มงวดมากแค่ไหน

ขณะเดียวกัน เตรียมอบรมคนเกี่ยวกับการใช้ชุดตรวจโควิด-19 (ATK) กับเทคนิคการแพทย์ แพทย์สภา ให้กับทุกบริษัท จากนั้นออกใบรับรองการอบรม เพื่อนำชุดตรวจโควิดไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เบื้องต้นสั่งเข้ามา 30,000 – 50,000 ชุด หากโรงงานใดมีความต้องการก็สามารถส่งไปได้ทันที รวมถึงการสนับสนุนให้ปลูกฟ้าทะลายโจรในทุกโรงงานเพื่อรักษาอาการแรงงานที่ติดเชื้อกลุ่มสีเขียวให้เร็วที่สุด พร้อมจัดตั้งกองทุนช่วยผู้ประสบภัยโควิด โครงการ Big Brother ธุรกิจขนาดใหญ่ ช่วยผู้ประกอบการขนาดเล็ก ทั้งหมดคือความพยายามของภาคอุตสาหกรรมในการต่อสู้กับสถานการณ์โควิด-19 เพื่อให้เศรฐกิจกลับมาฟื้นโดยเร็วที่สุด

 

ส่งออกฟื้นดี แต่กำลังการผลิตไม่ตามเป้า

สรท.มั่นใจส่งออกโต 10% ขอรัฐเร่งคุมโควิด-19

คุณสุพันธุ์ ยอมรับว่า การส่งออกของไทยยังคงมีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า เช่น จีน สหรัฐ ยุโรป เริ่มฟื้นตัว แต่ “การผลิต” กลับไม่สามารถทำได้ตามเป้าหมายมากนัก เนื่องจาก หลายโรงงานเผชิญกับการแพร่ระบาด บางโรงงานเกิดเป็นคลัสเตอร์ใหญ่  เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ยอดการผลิตลดลงไป 10-15 % จากกำลังการผลิตเดิม

จึงมีการจัดตั้งกองทุนช่วยผู้ประสบภัยโควิด โครงการ Big Brothers ธุรกิจขนาดใหญ่ ช่วยผู้ประกอบการขนาดเล็ก โดยมีศูนย์กลาง 1453 เพื่อรวบรวมความช่วยเหลือต่างๆ ผ่านการบริจาค จาก ผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อมาช่วยรายย่อย ทั้งหมดคือความพยายามของภาคอุตสาหกรรมในการต่อสู้กับสถานการณ์โควิด-19 เพื่อให้เศรฐกิจกลับมาฟื้นโดยเร็วที่สุด

มาตรการการช่วยเหลืออาจยังไม่ตรงจุด

เป็นที่ทราบดีว่า หนึ่งในมาตรการทางการเงินที่เข้ามาช่วยผู้ประกอบการโดยเฉพาะรายย่อย คือ มาตรการสินเชื่อ ซอฟท์โลน โดยเฉพาะมาตรการจาก บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) “โครงการค้ำประกันสินเชื่อตามพระราชกำหนดให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2564  โดยการค้ำประกัน 40%

แต่คุณสุพันธุ์มองว่า ถ้าต้องการให้ธุรกิจเดินได้ ควรเพิ่มเป็น 60% เพื่อให้สามารถประคับประคองธุรกิจให้ผ่านวิกฤตนนี้ไปให้ได้ และเมื่อทุกอย่างกลับมาเป็นเหมือนเดิม คนกลุ่มนี้ก็จะมาจ่ายคืน

“ อย่างวันนี้ร้านผมปิด ถ้าผมกู้มาจ่ายเงินค่าเช่าบางส่วนได้  ก็สามารถรอว่าเมื่อไหร่เศรษฐกิจมาเขาก็เปิดได้ เขาก็มาจ่ายคืนได้ แต่ถ้าไม่มีก็ต้องปิดร้าน โดนยึด ไป คนงานก็ต้องออก เขาก็เจ๊งทันทีทั้งๆ ที่เขาขายดีมากในช่วงก่อนโควิด-19 กลุ่มนี้ต้องช่วยเขาเพราะยังไงถ้าโควิด-19 หมดเขากลับมาได้ เพราะเขามีลูกค้าประจำอยู่แล้ว วันนี้แบงก์จะมองว่าคนนี้ไปต่อไม่ได้เพราะรัฐมันปิด มันต้องปิดอีกหลายเดือน เขาก็ไม่กล้าปล่อยซอฟท์โลนเข้าไปเพราะรู้ว่าปล่อยไปก็ไม่มีปัญหาจ่าย”

ส่วนอัตราดอกเบี้ย ก็ย้ำว่า “หยุดอัตราดอกเบี้ย” คือสิ่งที่ควรเกิดขึ้น  แล้วรัฐก็ต้องเอาเงินชดเชยดอกเบี้ยให้ธนาคาร เงินตรงนี้รัฐต้องเข้ามาช่วยเหลือ  

ส่วนมาตรการ "พักทรัพย์ พักหนี้" 

เจาะมาตรการ "พักทรัพย์ พักหนี้" ช่วยผู้ประกอบการรายย่อยฝ่าโควิด-19

คุณสุพันธุ์ บอกว่า  ยังมีปัญหา เพราะมีรายละเอียดเยอะ แต่เป็นโครงการที่ดีมากถ้าตั้งใจทำ แต่จำนวนรายที่ขอเข้าโครงการยังมีจำนวนน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่มีปัญหา เพราะยังห่วงว่าถ้าพักแล้วจะได้คืนหรือไม่

ในตอนท้าย คุณสุพันธุ์ ตอบคำถามทิ้งท้าย "ถ้ามีโอกาสเจอกับนายกรัฐมนตรี" จะบอกว่าอย่างไร ถึงสถานการณ์ตอนนี้ที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย ผู้ประกอบการการไทย อุตสาหกรรมของไทย 

" วัคซีน ครับ" ท่านต้องสนับสนุนให้คนเอาวัคซีนเข้ามาให้เยอะที่สุดเพราะไม่เช่นนั้นถ้าล็อกดาวน์แล้วเดี๋ยวเปิด ก็กลับมาล็อกดาวน์อีก เพราะถ้าวัคซีนมาในปริมาณแบบนี้  ล็อกดาวน์แต่คนยังติดอยู่ ดังนั้น "วัคซีน" จะตอบโจทย์ทุกเรื่องของเศรษฐกิจวันนี้ 

ท่านน่าจะให้คนช่วยๆ กันทำมากกว่านี้  รัฐบาลทำอย่างเดียวไม่ได้ เปิดกว้างที่จะทำอย่างไรให้ต่างประเทศได้มาช่วยเรา เปิดเจรจาขอโดยตรง เพราะท่านมีศักยภาพอยู่แล้ว  โครงการโคแวกซ์ถ้ากลับได้ กลับเข้าไป  ไม่ต้องอาย  ต้องกล้าที่จะขอความร่วมมือ ท่านก็จะได้เป็นวีรบุรุษ

 

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ