“ออสท์แลนด์ แคปปิตอล - ณุศาศิริ” แจงปมชุดตรวจโควิด-19 ATK “ยี่ห้อ Lepu”


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ออสท์แลนด์ แคปปิตอล แจงปมชุดตรวจโควิด-19 ATK ยี่ห้อ “Lepu” กางหลักฐานผ่านมาตรการยุโรป ย้ำกรณี FDA สหรัฐ เรียกคืนสินค้า ด้าน ณุศาศิริ ตัวแทนจำหน่าย ระบุ เดิมนำเข้ามาเพื่อใช้ในธุรกิจท่องเที่ยว แต่เห็นว่าสถานการณ์โควิด-19 ไทย ไม่ดีขึ้น จึงตัดสินใจเข้าประมูลงานภาครัฐเพื่อให้ได้ราคาที่ถูกลง เข้าถึง ปชช.ตรวจเชิงรุกมากขึ้น

นางสาวรังสินี หวังมั่น product specialist บริษัท ออสท์แลนด์ แคปปิตอล จำกัด เปิดเผย ประเด็นการเสนอข่าวเรื่องการประกาศจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ให้ระงับใช้และเรียกคืนชุดผลิตภัณฑ์ทดสอบโควิด-19 “SARS-CoV-2 Antigen Rapid Test” ซึ่งผลิตโดย Beijing Lepu Medical Technology Co., Ltd ภายใต้การควบคุมการผลิตของ Lepu Medical (Europe) Cooperatief U.A. ณ ประเทศจีน นั้น   

สรุปประเด็น ชี้แจง การจัดซื้อชุดตรวจ ATK 8.5 ล้านชุด

สปสช.-สธ. ดีเดย์ศุกร์ 13 ส.ค.กางแผนแจกชุดตรวจโควิด ATK ฟรี 8.5 ล้านชุด

 

 

กรณีดังกล่าว ทางบริษัทฯ ตรวจสอบพบว่า Beijing Lepu Medical Technology Co., Ltd บริษัท ฯ ผู้ผลิตไม่เคยมีการจำหน่าย SARS-CoV-2 Antigen Rapid Test ในประเทศสหรัฐฯ และไม่เคยยื่นขอ FDA จากสหรัฐฯ แต่อย่างใด

ดังนั้น  สินค้าที่ปรากฏในท้องตลาดจำนวน 200,000 ชิ้น ถูกนำเข้าจากประเทศอื่นซึ่งไม่ใช่ประเทศของบริษัทฯ ผู้ผลิต และไม่ได้ส่งจาก บริษัทฯ ผู้ผลิตโดยตรง จึงส่งผลต่อคุณภาพของสินค้า และเพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพสินค้า บริษัทฯ ผู้ผลิตได้ช่วยทาง FDA ดำเนินการตรวจสอบในส่วนต่าง ๆ รวมถึงการตรวจสอบการขนส่งของผลิตภัณฑ์ที่ส่งไปยังผู้จำหน่ายต่าง ๆ รวมไปถึงการดำเนินการเรียกคืนสินค้าตามระเบียบของ FDA 

ขณะเดียวกัน ทาง FDA ได้ส่งหนังสือให้บริษัท ฯ ผู้ผลิต เข้ารับการพิจารณากับทางสหรัฐโดยตรงอีกครั้งเพื่อรับรองมาตรฐานต่อไป

แห่ให้กำลังใจ! เด็กชาย 9 ขวบอยู่บ้านลำพัง พ่อแม่ติดโควิด

อีกด้านหนึ่ง คุณภาพของชุดทดสอบ ATK ยี่ห้อ Lepu ที่ทางออสท์แลนด์ฯ นำเข้า ได้รับการประกาศจาก สหพันธ์ยุโรป โดยคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) และ The Health Security Committee และ Federal Institude for Drugs and Medical Devices ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลกลางเยอรมัน หน่วยงาน Bundesinstitut für Arzneimittel und Medizinprodukte (BfArM)  ได้ประกาศว่าชุดผลิตภัณฑ์ทดสอบ โควิด-19 ภายใต้ชื่อ “SARS-CoV-2 Antigen Rapid Test” เป็นหนึ่งในรายชื่อชุดตรวจแบบตรวจหาแอนติเจน

รวมถึงผ่านการตรวจสอบผลิตภัณฑ์หลังจากออกวางจำหน่ายโดย สถาบัน BIOMEX GmbH Heidelberg ณ ประเทศเยอรมัน โดยการใช้งานของบุคคลทั่วไปและบุคลากรทางการแพทย์ในเดือนเมษายน 2564 ซึ่งมีผลการศึกษาและทดสอบตามลำดับ  ดังนี้

ในเดือนเมษายน 2564 The diagnostic sensitivity was 91.30%, and the specificity was 100% (ความไวในการวินิจฉัยคือ 91.30% และความจําเพาะ 100%)

เดือนมิถุนายน 2564 The diagnostic sensitivity was 95.90%, and the specificity was 100% (ความไวในการวินิจฉัยคือ 95.90% และความจําเพาะ 100%)

ต่อมา ได้รับการรับรองจาก Conformite European (CE) ซึ่งเป็นกฎระเบียบว่าด้วยความปลอดภัยในสหภาพยุโรปที่กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ต้องผ่านการทดสอบที่ระบุไว้ จึงจะสามารถจำหน่ายได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายในสหภาพยุโรปและเขตเศรษฐกิจยุโรป 

สำหรับชุดผลิตภัณฑ์ทดสอบ ชุดตรวจโควิด-19 ATK ยี่ห้อ Lepu ปัจจุบัน มีใช้ใน เยอรมนี ออสเตรีย สวีเดน ญี่ปุ่น อิตาลี ฮ่องกง เป็นต้น

 

ส่วนกรณี การชนะประมูลการจัดซื้อชุดตรวจให้กับ สปสช. 8.5 ล้านชุด โดยผ่านองค์การเภสัชกรรม นั้น  นางศิริญา เทพเจริญ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการตลาด บริษัท ณุศาศิริ (มหาชน) ตัวแทนจำหน่าย ชุดตรวจโควิด-19 ATK ของ "ออสท์แลนด์ แคปปิตอล" และเป็นผู้นำ ชุดตรวจโควิด-19 ATK เข้าประมูลในโครงการพิเศษของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า

กรณีชนะประมูลโครงการ ซึ่งบริษัท ออสท์แลนด์ แคปปิตอล จำกัด เป็นผู้แต่งตั้งให้ณุศาศิริ เข้าประมูลโครงการของ สปสช. โดยณุศาศิริ มีทุนจดทะเบียนกว่า 7,641 ล้านบาท และมีศักยภาพเพียงพอที่จะนำเข้าชุดตรวจโควิด-19 ATK มาให้รัฐบาลได้ทันตามกำหนด

โดยที่ราคาประมูลที่แต่ละบริษัทได้ยื่นซองเข้าประมูลงานนั้น "ไม่แตกต่างกันมาก" โดยณุศาศิริ ชนะการประมูลคู่แข่งในราคาที่ต่ำกว่ากันเพียง 2 บาท ซึ่งราคาที่ณุศาศิริ  เสนอคือ 70 บาทรวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว และ  ชุดตรวจโควิด-19 ATK ที่เข้าประมูล ราคาต่อชิ้นไม่ถูก แต่ทางบริษัทฯ จัดซื้อในปริมาณมากถึง 8.5 ล้านชิ้น จากที่เคยนำเข้าจำนวนหลักแสนชิ้นจึงได้ราคาต่อชิ้นที่ต่ำลง เพราะยิ่งสั่งซื้อในปริมาณที่สูงมาก ยิ่งสามารถต่อรองราคากับโรงงานได้ 

ขณะเดียวกัน ณุศาศิริ มีแผนธุรกิจด้านการแพทย์-สุขภาพ และเทคโนโลยี ภายใต้การดำเนินงานของบริษัทในเครือคือ บริษัท เวิลด์ เมดิคอล อัลไลแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด พบว่า ชุดตรวจโควิด-19 ATK ซึ่งผลิตโดย Lepu Medical Technology Co., Ltd. สาธารณรัฐประชาชนจีน  ได้รับใบรับรองจากสมาคมวัคซีนของเยอรมันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว รวมทั้งได้รับรองมาตรฐานจาก EU ในขณะที่ประเทศไทย บริษัท ออสท์แลนด์ แคปปิตอล จำกัด เป็นผู้นำเข้ามาทำตลาด ณุศาศิริ จึงได้ติดต่อขอเป็นตัวแทนจำหน่าย เพื่อเสนอขายกับหน่วยงานต่างๆ และผ่านแพลตฟอร์มของบริษัทฯ

ขณะเดียวกัน ณุศาศิริ ยังทำธุรกิจในส่วนของการท่องเที่ยวและมีความต้องการนำเข้า ชุดตรวจโควิด-19 ATK  นี้อยู่แล้วในราคา 100-200 บาทต่อชุด ต่อมาเมื่อทราบว่าภาครัฐมีการเปิดประมูลจึงเข้าร่วมประมูลด้วย ซึ่งเป็นครั้งแรกของ ณุศาศิริ ที่เข้าร่วมการประมูลภาครัฐ ส่วนหนึ่งเพื่อต้องการให้คนไทยได้ใช้ชุดตรวจในราคาที่เข้าถึงได้  

ต่อมาเมื่อ องค์การเภสัชกรรม สั่งชะลอคำสั่งซื้อจึงต้องแจ้งไปยังบริษัทฯ ผู้ผลิตให้ชะลอไว้ก่อน  แต่หากการประมูลนี้ดำเนินต่อไป ก็จะสามารถจัดซื้อชุดตรวจในล็อตเดียวกับ 8.5 ล้านชุดนี้ได้ ในราคาถูกกว่าเนื่องจากเป็นสินค้าล็อตใหญ่  เพื่อใช้ตรวจเชิงรุกให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวต่อไป

ส่วนประเด็นของ เงินทุนที่ใช้ในการสั่งซื้อมาจากบริษัท เวิลด์ เมดิคอล อัลไลแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด จำกัด 100% แต่ยื่นประมูลด้วยชื่อบริษัท ออสท์แลนด์ แคปปิตอล จำกัด เนื่องจากเป็นผู้ยื่นขอนำเข้าจาก อย.ของไทย

ข้อตกลงแบ่งผลประโยชน์จากการประมูล บริษัท ออสท์แลนด์ แคปปิตอล จำกัด จะได้ส่วนแบ่งกำไร 20% ที่เหลือจะเป็นของบริษัท เวิลด์ เมดิคอล อัลไลแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด

อย.ยัน ATKจากLepuได้มาตรฐานผ่านการใช้จริง

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ