คิดก่อนกด “แอปเงินกู้ปลอม” ถ้าไม่อยากตกเป็นเหยื่อ แนะวิธีป้องกัน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




แนะวิธีป้องกัน “แอปเงินกู้ปลอม” รู้ทันมิจฉาชีพ ลดเสี่ยงหลอกเอาเงิน-ข้อมูลส่วนตัว

รูปแบบที่มิจฉาชีพนำมาใช้เพื่อหลอกเอาเงิน หลอกเอาข้อมูลของเรา เปลี่ยนไปไม่ซ้ำ ส่วนใหญ่ทำเป็นขบวนการ เช่น สวมรอยเป็นธนาคาร, โครงการรับสิทธิ์ต่าง ๆ ของรัฐ, SMS ได้รับสิทธิ์กู้เงินออนไลน์, ได้ส่วนลด โดยจะส่งข้อความ อีเมลล์ หรือแนบลิงก์แท็กมาในเฟซบุ๊ก

หากเรากดเข้าไป แล้วกรอกข้อมูล เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทร เลขบัตรประจำตัวประชาชน และอื่นๆ จะทำให้ข้อมูลสำคัญตกไปอยู่ในมือมิจฉาชีพ ซึ่งอาจจะถูกนำไปแอบอ้างใช้ในทางที่ไม่ดี เช่น แฮกบัญชีออนไลน์ แล้วสวมรอยไปยืมเงิน

เตือนภัย! มิจฉาชีพส่ง “ลิงก์ช่วยกดโหวต” แฮกไลน์-เฟซบุ๊ก หลอกโอนเงินคนรู้จัก

มือมืดแฮกไอดีไลน์สวมรอยพี่สาวหลอกโอนเงิน 60,000 บาท

โดยเฉพาะช่วงนี้ มีข่าวรายวัน กับแอปกู้เงินปลอม ที่ได้เงินง่าย ตอบโจทย์คนที่ขาดสภาพคล่องทางการเงินช่วงโควิด-19 แต่เมื่อกดไปแล้ว กรอกข้อมูลไปแล้ว นอกจากเงินต้น ยังจะต้องจ่ายดอกแพงมหาโหด มิหนำซ้ำยังมีการกดดันคนรอบตัว และโพสต์ประจานทวงนี้

 

วิธีป้องกันมิจฉาชีพที่แอบแฝงมาในแอพเงินกู้

1. ไม่ควรยินยอมให้แอพพลิเคชั่นเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวในโทรศัพท์

2. หลีกเลี่ยงการกดลิงก์ที่ไม่ทราบแหล่งที่มาโดยเด็ดขาด

3. ควรอ่านรายละเอียดข้อตกลงและเงื่อนไขในการทำสัญญาให้ดีก่อนทุกครั้ง

4. หากการกู้ยืมใด ที่ต้องโอนค่ามัดจำ ให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจเป็นการหลอกลวง

แต่หากเกิดความเสียหายไปแล้ว เช่น โอนเงินให้มิจฉาชีพไปแล้ว ควรแจ้งความสถานีตำรวจในท้องที่เกิดเหตุ

หากต้องการคำแนะนำหรือแจ้งเบาะแสสามารถติดต่อศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือผ่านเว็บไซต์ www.pct.police.go.th หรือโทร.1599

ที่มา กองปราบปราม, ธนาคารแห่งประเทศไทย

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ