สัมภาษณ์พิเศษ : ก้าวต่อไปของ สตาร์ทอัพสายเทคโนโลยี ดีพเทค (Deep Tech) ในเมืองไทย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เปิดมุมมองสตาร์ทอัพสายเทคโนโลยี ดีพเทค (Deep Tech) ทีม AltoTech เตรียมต่อยอดธุรกิจด้วยกันจับคู่ Co-creation กับบริษัทยักษ์อย่างบีกริม เพื่อเดินตามเป้าหมายที่ “การจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ” เพื่อรองรับนโยบาย Net Zero Energy ในอนาคต

พีพีทีวี นิวมีเดีย มีโอกาสพูดคุยกับ สตาร์ทอัพสายเทคโนโลยี ดีพเทค (Deep Tech) ทีม AltoTech ที่ได้รับคัดเลือกจาก กิจกรรม DEMO DAY เพื่อเป็นเวทีการนำเสนอผลงานและแผนธุรกิจของสตาร์ทอัพกับนักลงทุนขนาดใหญ่ ซึ่งจัดขึ้นโดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ล่าสุด ซึ่ง ทีม AltoTechได้รับรางวัล The Best Performance ARI Tech Startup Award (ตัดสินจากคณะกรรมการ)

คุยกับ ผู้นำ NIA ดร.พันธุ์อาจ กับแนวคิดติดปีกสตาร์ทอัพให้โตไวในสนามพื้นที่เศรษฐกิจ อีอีซี

NIA สนามโอกาสต่อยอดนวัตกรรมสตาร์ทอัพ สู่ พันธมิตรรายใหญ่

ครม.ทุ่มงบ 27,566 ล้าน ช่วยคนถือบัตรคนจน ขยายเวลาลดค่าน้ำ ค่าไฟ-เปิดลงทะเบียนกลุ่มตกหล่น

วโรดม คำแผ่นชัย ซีอีโอ เล่าให้ฟังถึงการเข้าไปเป็น Co-creation กับบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ยักษ์ใหญ่ของการผลิตพลังงานไฟฟ้าระดับประเทศ  ผ่านโครงการดังกล่าว ซึ่งเริ่มตั้งแต่ช่วงเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา ด้วยการนำระบบซอฟท์แวร์การจัดการพลังงานภายในอาคาร เข้าไปจัดระบบสำนักงานของ บีกริม ซึ่งเป็นอาคาร 2 ชั้น พื้นที่  1,200 ตารางเมตร ให้สามารถควบคุมการทำงานของระบบการใช้ไฟฟ้าให้สมดุลและเหมาะสมกับจำนวนความต้องการในแต่ละช่วงเวลา โดยมีเป้าหมายหลักคือ “การลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคารจนนำไปสู่การประหยัดค่าไฟให้ได้มากที่สุด” โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศซึ่งเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟประมาณ 60-70% ของอาคาร

ด้วยสภาพของอาคารบีกริม ประกอบด้วยโซลาร์รูฟท็อป ระบบเครื่องปรับอากาศ ซึ่งที่ผ่านมาถูกควบคุมโดยคน ดังนั้น AltoTech จะเข้าไปจัดระบบการจ่ายไฟฟ้าให้เหมาะสม เช่น ณ ช่วงเวลานี้ ปริมาณคนในอาคารเท่านี้ จำเป็นต้องเติมอากาศผ่านเครื่องปรับอากาศในปริมาณเท่าไหร่ วันนี้อากาศร้อนจำเป็นต้องปรับระดับม่าน และใช้การปรับอากาศในอุณหภูมิประมาณไหน ในลักษณะของ Self-Driving Building โดยมี ระบบ AI เป็นตัวควบคุมทั้งหมด เพื่อลดการสูญเสียพลังงานโดยไม่จำเป็น นอกจากนั้นจะควบคุมเรื่องของม่านที่สามารถใช้ระบบควบคุม เข้ามาแบบออร์โต้

จากเดิมเราใช้คนเดินเปิดแอร์ตอนเช้า ปิดแอร์ตอนเย็น ไม่มีใครมาคอยดูอุณหภูมิ คอยดูสภาพอากาศภายในอาคาร และปรับให้เหมาะสมกับช่วงเวลาไปจนถึงปริมาณคน มี เพราะทุกอย่างเป็น manual แต่สิ่งที่ AltoTech นำเข้าไปคือ เอาตัว Self-Driving Building แล้วใช้ AI  ประเมินว่าวันนี้จะมีโซลาร์รูฟท็อปผลิตเท่าไหร่ คนเข้าไปในอาคารกี่คน แล้วทำการคำนวณตลอดเวลา เพื่อสามารถเลือกในการปรับการเติมอากาศจากเครื่องปรับอากาศ ที่เหมาะสม มีเซนเซอร์เข้าไปติดตั้งเพื่อดูระดับอุณหภูมิ ความชื้นต่างๆ เพื่อเราจะได้ประเมินอุณหภูมิให้เหมาะสมนำไปสู่การควบคุมปริมาณการจ่ายไฟของอาคารด้วย

นอกจากนั้นแล้วในอนาคต อาจจะสามารถไปเสริมเป้าหมายขั้นต่อไปของ บีกริม ในการเป็น National Energy Trading Platform ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตแห่งพลังงานไทย การซื้อขายพลังงานระหว่างอาคารได้ผ่านระบบ Blockchain ล้วนมีจุดเริ่มต้นมาจากการจัดการพลังงานภายในนอาคารที่ประสิทธิภาพ มีระบบการเก็บพลังงาน (Energy storage)

จนสามารถนำไปสู่การเคาะหรือกำหนดราคาค่าไฟได้  ซึ่งระบบของ AltoTech สามารถเป็นจุดเริ่มต้นให้ไปสู่ตรงนั้นได้ในอนาคต

ซึ่งการเข้าร่วม Co-creation ให้กับบีกริม AltoTech ตั้งเป้าไว้ว่าจะลดขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อนลงและประหยัดค่าไฟฟ้าไว้ที่ 20% แต่ก็จะพยายามไปให้ถึง 25 หรือ 30 % ให้ได้ จนสุดท้ายเป้าหมายคือไม่ต้องใช้คนควบคุม เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกอย่าง ทุกยี่ห้อภายในอาคารสามารถคุยกันได้ผ่านระบบซอฟท์แวร์ที่ AltoTech พัฒนาไว้ และถ้าสามารถทำได้ 1 อาคาร การเชื่อมต่อไปอาคารอื่นๆ ก็ตามมา

จุดเด่นที่ทำให้ บีกริม เลือก Co-creation กับ AltoTech

มองว่า เพราะบีกริมเองป็นบริษัทผลิตไฟฟ้า แต่การทำโรงไฟฟ้าไม่ได้หมายความว่าจะผลิตไฟเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังหมายถึง การลดการใช้ไฟด้วย และเทคโลยี Digital Energy ที่ AltoTech เป็นสิ่งที่บีกริมสนใจ AltoTech จะเป็นเหมือนตัวซอฟท์แวร์ที่เข้าไปจัดการตัวฮาร์ดแวร์ของบีกริมได้   

เพราะบีกริมเป็นบริษัทผลิตไฟฟ้า แต่เขารู้ว่าโรงไฟฟ้าไม่ได้หมายความว่าเพื่อการผลิตเท่านั้น แต่หมายถึงการลดการใช้ไฟด้วย เรียกว่า Virtual Power Plant โรงไฟฟ้าที่ลดการใช้ไฟตัวเองลง ให้เห็นภาพคือ บีกริมผลิตไฟฟ้าเพิ่ม คือปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์แต่อีกด้านคือลดการใช้ไฟลงผ่านอาคารต่างๆ คือลดคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นโชคสองต่อ 

เตรียมลุยจัดการพลังงานในกลุ่มโรงแรมนอกเหนือจากการเป็น Co-creation หลังโควิด-19

วโรดม เล่าแผนธุรกิจในอนาคตหลังโควิด-19 ให้ฟังด้วยว่า AltoTech มุ่งเป้าหมายไปที่กลุ่มโรงแรมซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้ามาทำธุรกิจตั้งแต่ปี 2019 โดยการเข้าไปจัดการพลังงานในตัวอาคารเพราะเห็นชัดว่าหลายแห่งเตรียมรีโนเวท และเริ่มมองหาการเอาเทคโนโลยีมาช่วยในการลดต้นทุนคน เข้ามาควบคุมระบบการจัดการพลังงาน ซึ่งต้นทุนของการเข้าไปวางระบบ ถ้าเป็นโรงแรมต้นทุน IoT จะอยู่ที่ประมาณ 3-5% ของต้นทุนการก่อสร้างทั้งหมด

สุดท้าย AltoTech  ยังฝากแนวคิดการสร้างและผลักดันให้กับสตาร์ทอัพสายดีฟเทค ด้วยว่า

ดีฟเทค สตาร์ทอัพ ไม่ได้หมายความว่าพัฒนาภายในหนึ่งเดือนแล้วมันจะขายได้มันต้องใช้งานวิจัย ใช้หลายๆ อย่างสิ่งที่ช่วยได้คือ อย่างโครงการที่เปิดพื้นที่ เปิดโอกาสต่างๆ เช่น ที่ NIA เราจะได้เจอพาทเนอร์หลากหลาย ซึ่งสำคัญมากในการทำดีฟเทค สตาร์ทอัพ เพราะเขาไม่มาสนใจเราหรอก แต่เขาจะสนใจเราต่อจากพาทเนอร์เจ้าใหญ่ของเราที่เราได้ไป Co-creation และก็จะช่วยให้เราไปต่อได้

“ เขาจะช่วยไม่ให้เราได้ตายก่อน เพราะดีฟเทค สตาร์ทอัพ จะตายก่อน เนื่องจากเงินหมดตอนทำวิจัย ยิ่งปัจจุบันสตาร์ทอัพถูกคัดเลือกค่อนข้างมาก ยิ่งสถานการณ์แบบนี้ มันยากมากที่จะมาลงทุนกับบริษัทสตาร์ทอัพ การเข้าไปในพื้นที่ที่เปิดโอกาสจึงเป็นช่องทางที่ดีให้การพัฒนาตัวเองและต่อยอดธุรกิจ”

สำหรับ AltoTech เป็นบริษัทสตาร์ทอัพ พัฒนาแพลตฟอร์ม Alto Energy Edge : AIoT energy management platform เพื่อช่วยเจ้าของโรงแรมและอาคาร วิเคราะห์ ตรวจสอบ และจัดการการใช้พลังงานภายในโรงแรมและอาคารได้อย่างอัตโนมัติ และ มีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยี AI และ IoT

โดยบริษัทได้พัฒนาระบบซึ่งใช้งานได้กับ โรงแรมและอาคาร ขนาดเล็ก (ระบบปรับอากาศ Split-type) ขนาดกลาง (ระบบปรับอากาศ VRV/VRF) และขนาดใหญ่ (ระบบปรับอากาศ Chiller) โดยใช้ข้อมูลต่าง ๆ มาวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อการจัดการ การใช้พลังงานอย่างอัตโนมัติหรือที่เราเรียกว่า Self Driving Air ซึ่งคิดค้นและทดลองระบบที่สามารถนำมาช่วยเหลือผู้ประกอบการให้ทำงานได้ง่ายขึ้น ลดขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อนลงและประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากสุดถึง 30%

ขอบคุณภาพและจากข้อมูลจาก altotechAI

 

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ