เจาะสาเหตุปี 63 "คนไทยจนน้อยลง" เพราะมาตรการความช่วยเหลือของรัฐ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สศช. เปิดบทความ “COVID-19 ภัยต่อสุขภาพ กับความยากจนและความเหลื่อมล้ำ” เผยตัวเลขความยากจนไม่ได้เพิ่มขึ้นมากดังที่มีการคาดการณ์ไว้

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยหดตัวอย่างรุนแรง เนื่องจากมาตรการควบคุมการระบาดของโรคที่มีความเข้มงวด จึงมีข้อกังวลว่าจะส่งผลให้สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำมีความรุนแรงมากขึ้น

เปิดลงทะเบียน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ บัตรคนจน รอบใหม่ต้นปี65

เล็ง! เยียวยานักร้อง นักดนตรี นักแสดง หลังถูกยืดปิดโชว์

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในปี 2563 พบว่า ความยากจนไม่ได้เพิ่มขึ้นมากดังที่มีการคาดการณ์ไว้โดยจำนวนคนยากจน ในปี 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 4.8 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนคนจนที่ร้อยละ 6.84

เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.24 ในปี 2562 หรือมีจำนวนคนจนเพิ่มขึ้น 0.5 ล้านคนจากปีก่อนเท่านั้น ขณะที่ ความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเช่นเดียวกับความยากจน

ซึ่งสถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำที่ไม่เพิ่มสูงขึ้นมากนัก เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือเยียวยาของรัฐบาล ทำให้ประชาชนได้รับความช่วยเหลือเฉลี่ย 13,473 บาทต่อคนต่อปี หรือเฉลี่ยประมาณ 1,123 บาทต่อคนต่อเดือน ทำให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถรักษาระดับค่าครองชีพไว้ได้ชั่วคราว

นายดนุชา พิชยนันท์ กล่าวเสริมว่า มีประเด็นที่ต้องตระหนักและให้ความสำคัญซึ่งหากความช่วยเหลือของรัฐบาลหมดลงในช่วงที่เศรษฐกิจและการจ้างงานยังไม่ฟื้นตัว สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำจะรุนแรงกว่าเดิม

โดยกรณีของความยากจนคาดว่าหากไม่มีการช่วยเหลือเยียวยาจำนวนคนยากจนในปี 2563 จะมีจำนวนทั้งสิ้น 11.02 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนคนจนร้อยละ 15.9 ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีคนยากจนเพิ่มขึ้นกว่า 6 ล้านคน

นายกฯ ขออย่ารีรอวัคซีนทางเลือก ให้มาฉีดฟรี มีเพียงพอ

ขณะที่ความเหลื่อมล้ำ หากไม่รวมการช่วยเหลือคาดว่าค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคจีนีคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 0.350 เป็น 0.383 หรือกล่าวได้ว่า สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำจะเทียบเท่ากับปี 2557

นอกจากนี้การช่วยเหลือดังกล่าวยังมีข้อสังเกตที่น่าสนใจ คือ

1) สมาร์ทโฟน อินเทอร์เน็ต และทักษะดิจิทัล เป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อการเข้าถึงความช่วยเหลือเยียวยา และเป็นภาระที่ครัวเรือนยากจนต้องรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือเยียวยาต่าง ๆ ต้องดำเนินการผ่านสมาร์ทโฟนและอินเทอร์เน็ต ทำให้มีประชาชนจำนวนหนึ่งเข้าไม่ถึงความช่วยเหลือ เนื่องจากไม่มีสมาร์ทโฟนและเข้าไม่ถึงอินเทอร์เน็ต รวมถึงข้อจำกัดด้านทักษะทางดิจิทัล

2) โควิด-19 ส่งผลกระทบที่แตกต่างกันในแต่ละสาขาเศรษฐกิจ และอาจนำไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้นในภายหลัง โดยพบว่า ภาคเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง คือ ภาคการท่องเที่ยว ภาคอุตสาหกรรมภาพรวมการจ้างงานลดลง แต่มีความแตกต่างกันไปในแต่ละสาขา โดยสาขาเคมีภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ยังสามารถขยายตัวได้ สวนทางกับสาขาสิ่งทอและเครื่องจักรที่มีการจ้างงานลดลง

แม้ว่าสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลง แต่จะยังมีผลกระทบต่อเนื่อง เช่น 

โควิด-19 สายพันธุ์ "โอไมครอน" (Omicron) ลามประเทศไหนแล้วบ้าง

1) คนว่างงานเพิ่ม และว่างงานยาวนานขึ้น ส่งผลกระทบต่อรายได้ การพัฒนาทักษะ และความสามารถในการหางานในอนาคต

2) การเข้าถึงการศึกษาไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนักแต่การที่นักเรียนนักศึกษาไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่จะส่งผลให้ความรู้ขาดหายไป

3) วิกฤตโควิด-19 ทำให้ครัวเรือนต้องนำเงินออมมาใช้จ่ายเพื่อรักษาระดับการบริโภค และมีการก่อหนี้เพิ่มขึ้น

และ 4) สถานการณ์โควิด-19 กระทบต่อประชาชนในวงกว้าง ทำให้ต้องใช้งบประมาณมากในการช่วยเหลือเยียวยา

จากประเด็นดังกล่าวมีแนวทางดำเนินการในระยะต่อไป ดังนี้

(1) การช่วยเหลือเยียวยายังคงเป็นสิ่งจำเป็น โดยเน้นในเรื่องการจ้างงาน และการช่วยเหลือในลักษณะเฉพาะกลุ่มเพื่อลดงบประมาณที่ต้องใช้ และให้สามารถช่วยเหลือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบรุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ยังคงต้องให้ความสำคัญกับมาตรการทางด้านสาธารณสุขอยู่อย่างต่อเนื่อง

(2) การพัฒนาทักษะและการฝึกอบรมเป็นสิ่งสำคัญ โดยพิจารณาให้มีความเชื่อมโยงกับความต้องการของตลาดและตำแหน่งงาน เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกกับแรงงานให้สามารถพัฒนาทักษะได้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานและหางานได้ง่ายขึ้น

(3) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโครงข่ายอินเทอร์เน็ตให้มีความพร้อมและสามารถเข้าถึงได้ จะช่วยให้ผู้ได้รับผลกระทบเข้าถึงการช่วยเหลือเยียวยาได้มากขึ้น รวมทั้งยังเป็นการสนับสนุนการเรียนการสอน การพัฒนาทักษะ และการหารายได้

แพทย์ผู้พบโควิด “โอไมครอน” (Omicron) เผย อย่าตระหนก ป่วยไม่หนัก รักษาที่บ้านได้

และ (4) การปรับโครงสร้างหนี้และส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งทุนที่มีดอกเบี้ยต่ำ เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับครัวเรือนและสร้างโอกาสในการหารายได้ให้กับแรงงานมากขึ้น  

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ